รีเซต

“บอลลูนสอดแนม” สำคัญอย่างไรในการศึกยุคใหม่

“บอลลูนสอดแนม” สำคัญอย่างไรในการศึกยุคใหม่
TNN ช่อง16
6 กุมภาพันธ์ 2566 ( 19:17 )
210
“บอลลูนสอดแนม” สำคัญอย่างไรในการศึกยุคใหม่

แม้จีนยืนยันว่า บอลลูนสอดแนมลอยอยู่เหนือน่านฟ้าของสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ บอลลูนตรวจสภาพอากาศ ที่พลัดหลงลอยเข้าไปในสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯ ก็ยังคงเชื่อว่า บอลลูนที่พบเป็นบอลลูนสอดแนมของจีน เพื่อเอาไว้จับตาพื้นที่อ่อนไหว


หลังจากที่มีข่าวนี้เกิดขึ้น หลายคนก็ถูกดึงดูดกับสิ่งที่เรียกว่า “บอลลูนสอดแนม” เพราะมันที่ดูเหมือนจะเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างล้าสมัยในยุคสมัยใหม่ที่มีการใช้ดาวเทียมในการสอดแนมแล้ว แต่หากเป็นเรื่องจริง ทำไมจึงยังมีการเลือกใช้บอลลูนสอดแนมอยู่อีก


ศาสตราจารย์เอียน บอยด์ ผู้เชี่ยวชาญประจำคณะวิศวกรรมการบินประจำมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ ให้ข้อมูลกับสำนักข่าวอัลจาซีราว่าในยุคที่เราใช้ดาวเทียมในการสอดแนม ไม่แปลกที่จะมีการนำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้สร้างบอลลูนสอดแนมขึ้นด้วย ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถจับตาได้ในพิสัยที่ใกล้ขึ้น แม้บอลลูนยังเคลื่อนที่ไปตามสภาพอากาศ แต่ก็สามารถติดตั้งอุปกรณ์นำทาง ที่สามารถควบคุมทิศทางได้


บอยด์อธิบายเพิ่มเติมว่า บอลลูนที่บินต่ำในระระดับเดียวกับเครื่องบินพาณิชย์ สามารถถ่ายภาพได้ชัดกว่าดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรที่ต่ำสุด ในขณะที่ดาวเทียมเองต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เพราะต้องโคจรรอบโลกถ่ายใน 90 นาที


ขณะที่เดวิด เดอรอช ผู้เชี่ยวชาญประจำมหาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ชี้ให้เห็นถึงจุดได้เปรียบในการใช้บอลลูนสอดแนมแทนดาวเทียมสอดแนมอื่นๆ อีก ได้แก่ มันสามารถดักจับสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสกัดกั้นสัญญาณสื่อสารในบริเวณนั้นๆ ได้อีกด้วย


สหรัฐฯ ระบุว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีบอลลูนสอดแนมลอยเข้ามาในน่านฟ้าของสหรัฐฯ โดยระหว่างปี 2017-2021 สมัยที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีบอลลูนสอดแนมของจีนอย่างน้อย 3 ลูก ที่ลอยเข้ามาในน่านฟ้าสหรัฐฯ ในช่วงเวลาสั้นๆ


ทั้งนี้ ในอดีตบอลลูนสอดแนมถูกนำมาใช้งานตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 1800 โดยฝรั่งเศสถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวิธีการนี้ ด้วยการนำบอลลูนมาใช้ในสงครามฝรั่งเศส-ออสเตรียในปี 1859 และมีการนำมาใช้อีกครั้งหลังสงครามกลางเมืองสหรัฐฯ ที่สิ้นสุดในปี 1865 


จากนั้นพอถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ไปจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้นำบอลลูนมาใช้สำหรับการทิ้งระเบิดเพลิงในแผ่นดินสหรัฐฯ 


หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐฯ ได้เริ่มศึกษาการใช้บอลลูนสอดแนมในระดับความสูงที่สูงมากเช่นกัน โดยมีภารกิจขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Project Genetrix ซึ่งโครงการดังกล่าว ได้มีการนำบอลลูนบินไปถ่ายภาพดินแดนของสหภาพโซเวียตด้วย



แปล-เรียบเรียง: ธันย์ชนก จงยศยิ่ง


ภาพ: Reuters




ข้อมูลอ้างอิง: 


Al Jazeera


AFP - US looks for Chinese balloon debris

ข่าวที่เกี่ยวข้อง