รีเซต

‘กรมชล’เผยปริมาณน้ำต้นทุนทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์น้อย วอนทุกฝ่ายประหยัดน้ำต่อเนื่อง

‘กรมชล’เผยปริมาณน้ำต้นทุนทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์น้อย วอนทุกฝ่ายประหยัดน้ำต่อเนื่อง
มติชน
30 มิถุนายน 2563 ( 05:04 )
83
‘กรมชล’เผยปริมาณน้ำต้นทุนทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์น้อย วอนทุกฝ่ายประหยัดน้ำต่อเนื่อง

‘กรมชล’เผยปริมาณน้ำต้นทุนทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์น้อย วอนทุกฝ่ายประหยัดน้ำต่อเนื่อง

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำใน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ปัจจุบัน มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันประมาณ 30,583 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 43% ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 7,305 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 40,000 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำรวมกัน 7,644 ล้าน ลบ.ม. หรือ 31% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 948 ล้าน ลบ.ม.

 

ขณะที่ ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนทั้งประเทศ ปัจจุบัน มีการใช้น้ำไปแล้ว 4,485 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 37% ของแผนจัดสรรน้ำฯ เฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 1,559 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 47% ของแผนจัดสรรน้ำฯที่วางไว้ คงเหลือน้ำที่จะต้องจัดสรรอีกเพียง 1,714 ล้าน ลบ.ม.

 

ทั้งนี้ จากการติดตามปริมาณน้ำไหลงลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีน้ำไหลลงอ่างฯรวมกันประมาณ 44 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็นรายภาค โดยภาคเหนือ จำนวน 8 แห่ง น้ำไหลลงอ่างฯรวมกัน 21 ล้าน ลบ.ม., ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 12 แห่ง น้ำไหลลงอ่างฯรวมกัน 5.02 ล้าน ลบ.ม., ภาคกลาง จำนวน 3 แห่ง น้ำไหลลงอ่างฯรวมกันประมาณ 0.22 ล้าน ลบ.ม.

นายทวีศักดิ์ กล่าวต่อว่า ภาคตะวันตก จำนวน 2 แห่ง น้ำไหลลงอ่างฯรวมกันประมาณ 5.01 ล้าน ลบ.ม., ภาคตะวันออก จำนวน 6 แห่ง น้ำไหลลงอ่างฯรวมกันประมาณ 6.23 ล้าน ลบ.ม. และภาคใต้ จำนวน 4 แห่ง น้ำไหลลงอ่างฯรวมกันประมาณ 6.56 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำรวมกันประมาณ 18 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ยังคงต้องระบายน้ำวันละ 18-20 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

 

“กรมฯได้เน้นย้ำให้โครงการชลประทานทุกแห่ง ปฏิบัติตามแนวทางการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำหลากในช่วงฤดูฝนปี 2663 ทั้งการกำหนดบุคคลากร กำหนดพื้นที่เสี่ยง กำหนดเครื่องจักร เครื่องมือ การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบ ตามแนวทางเข้าถึง เข้าพบ และเข้าแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน อีกทั้งยังได้เน้นย้ำการสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้น้ำ และอาสาสมัครชลประทาน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะทำให้การช่วยเหลือในทุกพื้นที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด” นายทวีศักดิ์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังได้กำชับให้ทุกพื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศจาก กรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ การกำจัดวัชพืชในลำน้ำและแหล่งน้ำต่างๆให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้

บทความน่าสนใจอื่นๆ

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง