รีเซต

สำนักงบฯ ตรวจติดตาม ชื่นชมต่อยอดโครงการ 'โคก หนอง นา โมเดล' จ.หนองบัวลำภู

สำนักงบฯ ตรวจติดตาม ชื่นชมต่อยอดโครงการ 'โคก หนอง นา โมเดล' จ.หนองบัวลำภู
มติชน
26 ตุลาคม 2565 ( 21:48 )
45

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม นายเสฏฐชัย ยุทธเศรษฐสิริ พัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมนางสุมิตรา บุญโสดากร ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ นางรัตตินันท์ พัชรเรืองวงศ์ พัฒนาการอำเภอเมืองหนองบัวลำภู เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า อดีตนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ร่วมนำเสนอข้อมูลโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ประกอบการตรวจติดตามผลการดำเนินโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานติดตามจากสำนักงบประมาณ ซึ่งนำโดยนางสาวอรรจนา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกองจัดทำงบประมาณเพื่อการบูรณาการงบประมาณและยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ บริเวณพื้นที่แปลงนางหนูเปลี่ยน เจิมทอง หมู่ที่ 7 ตำบลหนองหว้า อำเภอเมืองหนองบัวลำภู เป็นพื้นที่ขนาด 3 ไร่ ใช้งบประมาณในการขุดปรับพื้นที่ 91,000 บาท ทั้งนี้ พื้นที่เป้าหมายดังกล่าวได้ขับเคลื่อนงานตามกระบวนการของโครงการเสร็จสิ้นแล้ว ครัวเรือนมีการต่อยอดกิจกรรมจากทุนของตนเองอีกหลายกิจกรรม เช่น การเลี้ยงปลา การปลูกพืชผัก เป็นต้น ปัจจุบัน ผลิตผลจาก โคก หนอง นา ทำให้ครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายได้กว่า 3,120 บาทต่อเดือน สร้างรายได้ให้ครัวเรือนเฉลี่ยกว่า 3,170 บาทต่อเดือน และมีผู้ที่สนใจเข้าศึกษาเรียนรู้ในแปลงแล้วกว่า 235 คน และจากการประเมินและจัดระดับถือเป็นศูนย์เรียนรู้ระดับ A (ต้นแบบศูนย์เรียนรู้)

 

 

นายเสฏฐชัย ยุทธเศรษฐสิริ พัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวเพิ่มเติมว่าในภาพรวมของจังหวัดหนองบัวลำภู ได้รับงบประมาณในการขับเคลื่อนโครงการฯ “โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 89 แปลง ซึ่งทุกแปลงมีการขับเคลื่อนและเกิดผลเป็นรูปธรรม สามารถลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการทุกแห่ง ผลการจัดระดับศูนย์เรียนรู้ อยู่ในระดับ A จำนวน 62 แปลง ระดับ B จำนวน 27 แปลง การบริหารงบประมาณเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ และขับเคลื่อนโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

 

คณะทำงานติดตามจากสำนักงบประมาณได้ชื่นชมการต่อยอดการดำเนินการจากโครงการฯ ที่นอกจากการต่อยอดโดยครัวเรือนเองโดยการแสวงหาองค์ความรู้เกี่ยวข้องมาพัฒนากิจกรรมในพื้นที่เป้าหมายเองแล้ว ในภาพรวมของจังหวัดหนองบัวลำภู ยังมีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายตามโครงการฯ “โคก หนอง นา โมเดล” ให้เป็นพื้นที่เป้าหมายของการขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัด เพื่อพัฒนาพื้นที่เป้าหมาายสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model ดังจะเห็นได้จากการเข้าร่วมบูรณาการพัฒนาพื้นที่จากสำนักงานพลังงานจังหวัด ในการสนับสนุนพลังงานสะอาด (Solar Cell) เป็นต้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง