รีเซต

ซีเซียม-137 อันตรายแค่ไหน-มีประโยชน์อย่างไร? เกิดอะไรขึ้นเมื่อเข้าสู่ร่างกาย?

ซีเซียม-137 อันตรายแค่ไหน-มีประโยชน์อย่างไร? เกิดอะไรขึ้นเมื่อเข้าสู่ร่างกาย?
TNN ช่อง16
21 มีนาคม 2566 ( 10:12 )
112
ซีเซียม-137 อันตรายแค่ไหน-มีประโยชน์อย่างไร? เกิดอะไรขึ้นเมื่อเข้าสู่ร่างกาย?

จากกรณีสาร ซีเซียม-137 หายไปจากโรงไฟฟ้า ที่บริเวณร้านรับซื้อของเก่าแห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมกับมีข้อมูลยืนยันว่า ซีเซียมดังกล่าวถูกหลอมไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามพบว่ายังไม่พบการฟุ้งกระจายไปในอากาศ


ซีเซียม-137 คืออะไร


ซีเซียม เป็นธาตุหมายเลขที่ 55 มีสัญลักษณ์ทางเคมี Cs พบในธรรมชาติ ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2403 โดย กุสตาฟ เคอร์ชอฟฟ์ และ โรเบิร์ต บุนเชน โดยค้นพบจากธรรมชาติในตัวอย่างน้ำแร่ที่ได้จากเดอร์คไฮม์ในประเทศเยอรมนี ส่วนซีเซียม-137 เป็นสารกัมมันตรังสี และ สารกัมมตรังสีตัวอื่นๆที่ใช้ในงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้มีการค้นพบในปี พ.ศ. 2470 โดนเกลนน์ ที ที ซีบอร์ก และ ผู้ร่วมงานของเขา คือ มาร์กาเร็ต เมลเฮส 




ซีเซียม-137 มาจากไหน? 


ซีเซียม ที่ไม่เป็นสารกัมมตรังสีมีปรากฏอยู่เพียงไอโซโทปเดียว คือ ซีเซียม-133  ตามธรรมชาติ พบรวมอยู่เพียงปริมาณน้อยในแร่ชนิดต่างๆ น้ำทะเล ห้วย ลำธาร และ ในร่างกายมนุษย์ 

ส่วนซีเซียม-137 นั้น เป็นสารกัมมตรังสีเกิดได้เมื่อยูเรเนียมและ พลูโทเนียมกลืนอนุภาคนิวตรอนแล้วเกิดปฏิกิริยาฟิชชัน ซึ่งพบได้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และ อาวุธนิวเคลียร์  การแบ่งแยกนิวเคลียร์ของยูเรเนียมและพลูโตเนียม ในปฏิกิริยาฟิชชันก่อให้เกิดผลผลิตจากฟิชชันมากมาย ซีเซียม-137 เป็นหนึ่งในผลผลิตจากฟิชชันเหล่านั้น 


ประโยชน์ของซีเซียม-137


ซีเซียม-137 นับเป็นไอโซโทปรังสี ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในทางด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดตัวหนึ่ง มีเครื่องมือนับพับชนิดที่ใช้ซีเซียมเช่น 

- เครื่องความชื้นและความหนาแน่น ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง 

- เครื่องวัดระดับ ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวัดการไหลของของเหลวในท่อและแท็งก์

- เครื่องความหนา ของแผ่นโลหะ กระดาษ ฟิล์ม 

- เครื่องหยั่งธรณี การขุดเจาะชั้นดิน และ หินต่างๆ

- ทางการแพทย์ใช้บำบัดมะเร็ง 

- ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกรมมา ใน ห้องปฏิบัติการวิจัยทางรังสี 



อันตรายของ ซีเซียม-137


ซีเซียม-137 เหมือนกับสารกัมมตรังสีตัวอื่นๆ การได้รับรังสีที่แผ่มาจาก ซีเซียม-137 มีผลทำให้ อัตราการเสี่ยงเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น บุคคลใดถ้าได้รับปริมาณรังสีสูงมากๆ จะทำให้เกิดการไหม้ของผิวหนังอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ 


ขนาดความรุนแรงและอันตรายที่จะเกิดต่อสุขภาพขึ้นอยู่กับสภาวะของการได้รับรังสีตามปัจจุยต่างๆดังนี้

- ความแรงของต้นกำเนิด

- เวลาการได้รับรังสี

- ระยะทางต้นกำเนิดรัวสี

- เครื่องกำบังรังสีระหว่างตัวบุคคลกับต้นกำเนิดรังสี 


อาการที่พบเมื่อสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137


เมื่อสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 อาการที่พบคือ 

  • - ไข้
  • - คลื่นไส้
  • - อาเจียน
  • - เบื่ออาหาร
  • - ถ่ายเหลว
  • - ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสีจะเกิดแผลไหม้พุพอง

ในกรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้


ซีเซียม-137 เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร


คนเราอาจได้รับซีเซียม-137 จากอาหารและ น้ำ สูดดมฝุ่น ถ้าซีเซียมเข้าไปในร่างกายมันจะกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอตลอดเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย เป็นผลให้เนื้อเยื่อเหล่านั้นได้รับรังสี จากการวิจัยพบว่าจะมีปริมาณของโลหะสะสมที่กล้ามเนื้อมากกว่าบริเวณอื่นเล็กน้อย ปละ พบการสะสมน้อยกว่ากระดูกและ ไขมัน เมื่อเปรียบเทียบเวลาการตกค้างกับสารกัมมันตรังสีตัวอื่นพบว่าซีเซียม-137 มีเวลาสั้นมากโดยจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ นอกจากนี้คนเรายังรับรังสีจากซีเซียม-137 จากภายนอกร่างกายได้ โดยรับจากรังสีแกมมาที่ได้จากการสลายตัวของซีเซียม-137 จากภายนอกร่างกาย 



เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเราอยู่ใกล้ซีเซียม-137


เราต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น เครื่องสำรวจรังสี (Survey Meter) ในการตรวจวัดสารกัมมันตรังสี ว่ามีอยู่หรือไม่ เนื่องจากเราไม่สามารถรู้สึกว่าได้รับรังสี หรือได้รับรสหรือกลิ่นจากซีเซียม 


การป้องกันและการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจาก ซีเซียม-137


  1. 1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสีหรือกล่องเหล็กต้องสงสัย
  2. 2.ถ้าอยู่ในที่เกิดเหตุให้ไปลงทะเบียนผู้สัมผัสสารกัมมันตรังสียังหน่วยงานที่กำหนด
  3. 3.รวบรวมสิ่งของหรือเสื้อผ้าที่คาดว่าอาจมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบก่อนนำไปใช้
  4. 4.ควรล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม



ข้อมูลจาก :  สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 

ภาพจาก :   ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดระยอง / ปราจีนบุรี 


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง