รีเซต

นักร้อง ขย่ม ศบค. ชี้ชัด "เอกสิทธิ์ทูต" ใช้ไม่ได้กับ "โควิด-19"

นักร้อง ขย่ม ศบค. ชี้ชัด "เอกสิทธิ์ทูต" ใช้ไม่ได้กับ "โควิด-19"
ข่าวสด
17 กรกฎาคม 2563 ( 11:07 )
56
นักร้อง ขย่ม ศบค. ชี้ชัด "เอกสิทธิ์ทูต" ใช้ไม่ได้กับ "โควิด-19"

 

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่เกิดกรณี เจ้าหน้าที่ของสถานทูตเอสโตเนีย 1 คน ที่เพิ่งเดินทางเข้ามาภายในไทย พยายามขอเข้าพักคอนโดหรู มิลเลนเนี่ยม เรสซิเดนซ์ ย่านสุขุมวิท โดนอ้างสิทธิ์ทางการทูต แต่เจ้าหน้าที่ของคอนโดปฏิเสธการให้เข้าพัก

เพราะห่วงเรื่องความปลอดภัยของลูกบ้านจากเชื้อโควิด-19 หลังเกิดกรณีทหารอียิปต์ และลูกอุปทูตซูดาน ประกอบกับจากกรณีดังกล่าว ศบค. แถลงชัดว่า จะไม่อนุญาตสิทธิพิเศษ ให้บุคคลใดเข้ามาโดยไม่ต้องกักตัวอีก แต่ตัวแทนของสถานทูตไม่ยินยอม และมีการอ้างเอกสิทธิ์ทางการทูตด้วยนั้น

กรณีดังกล่าวมีข้อสงสัยถึงการบริหารจัดการของกระทรวงการต่างประเทศ และ ศบค.อีกครั้ง ทั้งที่ประกาศชัดเจนว่าได้ยกเลิกสิทธิการยกเว้นบุคคลพิเศษเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัวแล้ว และกระทรวงการต่างประเทศ

ได้มีหนังสือแจ้งไปทุกสถานทูตเมื่อวันที่ 14 ก.ค. แล้วว่า คณะทูต คณะกงสุล องค์กระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลที่มาปฏิบัติงานในประเทศไทย เมื่อถึงไทยจะต้องแยกกักตัวเอง 14 วัน รวมถึงต้องรอผลตรวจโควิดที่สนามบินก่อน แต่เอกสารดังกล่าวไม่ได้มีมาตรการบังคับโดยเด็ดขาด เหมือนอย่างที่ ศบค. แถลง

หากศบค.ปล่อยให้อภิสิทธิ์ชนเหล่านั้นเข้ามาในประเทศโดยไม่กักตัว 14 วันตามมาตรฐานทั่วไป ก็อาจเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยตรง ทั้งนี้เอกสิทธิ์ทางการทูตนั้นมีขอบเขตจำกัด ไม่สามารถใช้ได้ทุกเรื่อง ซึ่งตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ.1961 บัญญัติไว้ในข้อ 41 วรรคหนึ่ง ความว่า

“ตัวแทนทางทูตมีหน้าที่เคารพกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ และไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐผู้รับ” รวมทั้งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ค.ศ.1963 ก็บัญญัติไว้ในข้อ 55 วรรคหนึ่ง ความว่า

“เจ้าพนักงานกงสุลมีหน้าที่เคารพกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ และไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐผู้รับ” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าจะใช้ข้ออ้างว่าเป็นเอกสิทธิ์ทางการทูตมาใช้ในกรณีการปฎิบัติตามระเบียบการควบคุมการแพร่เชื้อโควิด-19 ในไทยไม่ได้

ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวมี พรบ.ว่าด้วยเอกสิทธิ์และการคุ้มกันทางการทูต 2527 และ พรบ.ว่าด้วยเอกสิทธิ์และการคุ้มกันทางกงสุล 2541 ซึ่งใช้เป็นกฎหมายที่อนุวัติของอนุสัญญาดังกล่าวไว้แล้ว อีกทั้งตามประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี

ตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 25 มี.ค.2563 ที่กำหนดอำนาจนายกรัฐมนตรีไว้ 40 ฉบับนั้น ไม่ปรากฏว่ามี 2 พรบ.ดังกล่าวข้างต้นอยู่ด้วย ดังนั้นหากนายกรัฐมนตรี และหรือ ศบค. จะใช้อำนาจออกข้อกำหนด “ยกเว้น” ให้เอกสิทธิ์ทางการทูต

เพื่อเอาใจคณะทูต คณะกงสุล และองค์กรต่างประเทศ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยกรณีโควิด-19 ประชาชนชาวไทยสามารถแจ้งความเอาผิดนายกรัฐมนตรี และหรือ ผอ.ศบค. ตาม ปอ.ม.157 ได้ทันที


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง