รีเซต

หัวเว่ยมุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อโลกอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หัวเว่ยมุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อโลกอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มติชน
27 เมษายน 2565 ( 10:03 )
69

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565  หัวเว่ยจัดงานประชุม Huawei Global Analyst Summit (HAS) ครั้งที่ 19 ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ณ เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน โดยมีนักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมและด้านการเงิน ผู้มีอิทธิพลทางความคิด (KOL) และตัวแทนสื่อมวลชนจากทั่วโลกเข้าร่วมเพื่อพูดคุยถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมในอนาคตและกลยุทธ์การพัฒนาของหัวเว่ย

 

ภายในงาน นายเคน หู ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ยได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับแนวคิดด้านนวัตกรรมของหัวเว่ยและการสร้างโลกอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมว่า “หัวเว่ยมุ่งเสริมความแข็งแกร่งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเรา มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งระบบด้วยระบบดิจิทัลอัจฉริยะ และช่วยสร้างโลกคาร์บอนต่ำ สิ่งเหล่านี้คือกุญแจสำคัญสู่การเติบโตขององค์กรในอนาคต”

 

รายละเอียดโดยย่อของแนวคิดทั้งสามหลัก ได้แก่

นวัตกรรมที่ไม่หยุดนิ่งเพื่อความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม:

๐ ในแง่การเชื่อมต่อ หัวเว่ยยังคงขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้า โดยบริษัทได้ประกาศวิสัยทัศน์การเปิดใช้การเชื่อมต่อ 10 Gbps ทุกที่ด้วย 5.5G และ F5.5G ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการขั้นต่อไปในเครือข่ายไร้สายและเครือข่ายคงที่ เพื่อตอบสนองความต้องการเครือข่ายเฉพาะกลุ่มที่กว้างขึ้น รวมถึงประสบการณ์ที่สมจริงยิ่งขึ้นในบ้าน โดยอัตราความหน่วงต่ำและเสถียรภาพสูงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการควบคุมอุตสาหกรรม

 

๐ ในแง่การประมวลผล หัวเว่ยปรับปรุงสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ของหน่วยพื้นฐานของโครงสร้างข้อมูล รวมทั้งซอฟต์แวร์พื้นฐานและศูนย์ข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการใช้พลังงานของระบบประมวลผล

 

๐ ด้านบริการคลาวด์ หัวเว่ยกำลังสร้าง MetaStudio แพลตฟอร์มการผลิตเนื้อหาดิจิทัลแบบ end-to-end บนระบบคลาวด์ ซึ่งจะเพิ่มความรวดเร็วในการผลิตเนื้อหาดิจิทัลได้อย่างมาก

 

๐ ด้านอุปกรณ์ หัวเว่ยมีเป้าหมายที่จะส่งมอบประสบการณ์อัจฉริยะในทุกด้านของชีวิตให้กับผู้บริโภคโดยเน้นการออกแบบที่ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง สร้างประสบการณ์ AI ไร้รอยต่อ ซึ่งส่งเสริมการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัล

 

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้กับลูกค้า:

๐ หัวเว่ยปรับผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในขณะเดียวกันบริษัทฯจะเริ่มทำการผสานรวมและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มงานที่ซับซ้อนล่วงหน้าเพื่อช่วยให้การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลง่ายขึ้นสำหรับลูกค้าและคู่ค้า นำหัวเว่ย คลาวด์มาใช้เป็นรากฐาน เพื่อส่งมอบรูปแบบ “ทุกสิ่งคือการบริการ” (Everything as a Service) ย้ายโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และแม้แต่ประสบการณ์ลูกค้ามาใช้บนระบบคลาวด์ และทำให้การใช้ระบบคลาวด์ง่ายขึ้นสำหรับลูกค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

 

๐ หัวเว่ยสร้างทีมครบวงจรมุ่งเน้นไปยังอุตสาหกรรมเฉพาะ นำกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาช่วยคิดค้นโซลูชันที่ตอบโจทย์ความท้าทายทางธุรกิจของลูกค้า และรวมทรัพยากรไว้ในมือมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์และศักยภาพของพันธมิตร โดยมุ่งเป้าที่การจัดหาโซลูชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่ตรงจุดในแต่ละอุตสาหกรรมตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

 

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาสู่คาร์บอนต่ำ:

๐ หัวเว่ยกำหนดนิยามใหม่ของการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยเทคโนโลยี AI ระบบคลาวด์และศักยภาพด้านอื่น ๆ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน

 

๐ หัวเว่ยพัฒนาโซลูชันคาร์บอนต่ำระดับระบบสำหรับโครงสร้างพื้นฐานไอซีที (ICT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นที่สถานีไร้สายและศูนย์ข้อมูล

 

หัวเว่ยมุ่งดำเนินการเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพ “เราจะไม่หยุดสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าและสังคม เราตั้งตารอที่จะได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” นายเคน หู กล่าว

 

นอกจากกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม หัวเว่ยยังแบ่งปันวิสัยทัศน์อันกว้างไกลสำหรับอนาคตและการค้นพบใหม่ ๆ ดร. โจว หง ประธานสถาบันวิจัยเชิงกลยุทธ์ของหัวเว่ยกล่าวว่า “ในวันนี้ ทุกสิ่งที่เราจินตนาการอาจจะเป็นไปตามบรรทัดฐานเดิมเกินไปหรือน้อยเกินไปสำหรับวันพรุ่งนี้ เราต้องมุ่งสู่อนาคตด้วยสมมติฐานและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ก้าวไปด้วยความระมัดระวังขณะที่พยายามฝ่าอุปสรรคทั้งด้านทฤษฎีและเทคโนโลยี นี่เป็นหนทางเดียวที่จะก้าวไปข้างหน้า”

 

ดร. โจวสรุปความท้าทาย 10 ประการที่หัวเว่ยมุ่งหวังจะแก้ปัญหาในอนาคต

 

2 คำถามทางวิทยาศาสตร์:

๐ เครื่องจักรรับรู้ความเป็นไปในโลกได้อย่างไร และเราสามารถสร้างแบบจำลองที่สอนเครื่องจักรให้เข้าใจโลกได้อย่างไร

๐ เราจะเข้าใจกลไกทางสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์ได้ดีขึ้นอย่างไร รวมถึงการทำงานของแปดระบบทั่วร่างกาย ตลอดจนเจตนาและสติปัญญาของมนุษย์

 

8 ความท้าทายทางเทคโนโลยี:

๐ ศักยภาพในการตรวจจับและควบคุมแบบใหม่ เช่น การเชื่อมต่อระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์การเชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับคอมพิวเตอร์ การแสดงผล 3 มิติ การสัมผัส รับรู้กลิ่น และรับรู้รสชาติด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง

 

๐ วัดความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และติดตามการทำงานของหัวใจแบบเรียลไทม์ และการค้นพบที่มีประสิทธิภาพด้วยการผสานเทคโนโลยี AI ในด้านเภสัชภัณฑ์ ชีวเภสัชภัณฑ์และวัคซีน

 

๐ ซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพ ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ มุ่งเน้นการทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันมอบความคุ้มค่าและประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น

 

๐ บรรลุขีดจำกัดเชิงทฤษฎีของการส่งข้อมูลบนสายไฟเบอร์ เพื่อการเชื่อมต่อประสิทธิภาพสูงในระดับภูมิภาคและระดับโลก

 

๐ รูปแบบการประมวลผลที่แปรผันได้และมีประสิทธิภาพ สถาปัตยกรรมที่ไม่ใช่รูปแบบฟอนนอยมันน์ ส่วนประกอบรูปแบบใหม่ และระบบ AI ที่อธิบายการประมวลผลได้และแก้ไขความผิดพลาดได้

๐ ประดิษฐ์โมเลกุล ตัวเร่งปฏิกิริยา และส่วนประกอบใหม่ด้วยเทคโนโลยีประมวลผลอัจฉริยะ

๐ พัฒนากระบวนการประมวลผลใหม่ที่เหนือกว่า CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor) เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

๐ ระบบแปลงและจัดเก็บพลังงานที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนบริการที่ปรับได้ตามความต้องการ

การประชุมสุดยอด ‘Huawei Global Analyst Summit’ จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 และยังคงดำเนินต่อเนื่องทุกปีเป็นเวลา 19 ปี ในปีนี้ การประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 เมษายน 2565 จัดขึ้นเพื่อพูดคุยถึงแง่มุมต่าง ๆ ในด้านธุรกิจของหัวเว่ย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง