รีเซต

“ทรีนีตี้” ให้แนวต้านสำคัญที่ 1,220 จุด เชื่อแม้เจอปัจจัยกระแทกแรงไม่น่าหลุด 1,000 จุดได้ (ชมคลิป)

“ทรีนีตี้” ให้แนวต้านสำคัญที่ 1,220 จุด เชื่อแม้เจอปัจจัยกระแทกแรงไม่น่าหลุด 1,000 จุดได้ (ชมคลิป)
มติชน
6 เมษายน 2563 ( 08:59 )
44
“ทรีนีตี้” ให้แนวต้านสำคัญที่ 1,220 จุด เชื่อแม้เจอปัจจัยกระแทกแรงไม่น่าหลุด 1,000 จุดได้ (ชมคลิป)

คลุกวงหุ้น โดย ทรีนีตี้” ให้แนวต้านสำคัญที่ 1,220 จุด เชื่อแม้เจอปัจจัยกระแทกแรงไม่น่าหลุด 1,000 จุด แนะนักลงทุนตามข่าวน้ำมันใกล้ชิด

นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยในรายการคลุกวงหุ้นว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ กรอบการเคลื่อนไหวสำคัญ ให้แนวต้านที่ประเมินทั้งเดือนไว้ที่ระดับ 1,220 จุด โดยตราบใดที่สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุดในประเทศไทย ก็ยังสามารถยึดแนวต้านที่ระดับดังกล่าวได้ ส่วนแนวรับอยู่ที่ระดับ 1,050 จุด ซึ่งถือเป็นระดับจิตวิทยา โดยเบื้องต้นประเมินว่า หากมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับระดับลงแรงอีกครั้ง ก็ไม่น่าจะทำให้หุ้นหลุดระดับ 1,000 จุดถ้วนๆ ได้

นายณัฐชาตกล่าวว่า ปัจจัยที่ต้องติดตามยังเป็นการระบาดของโควิด-19 ซึ่งจากตัวเลขผู้ติดเชื้อ ที่บล.ทรีนีตี้ติดตามความเคลื่อนไหวเป็นรายวันนั้น พบว่า ในเชิงพัฒนาการที่ดีช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเรื่องศักยภาพในการตรวจหาเชื้อไวรัสของสาธารณสุขเริ่มดีขึ้น เนื่องจากมีการตรวจหาเชื้อได้มากขึ้น แถมจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นมา ก็คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก หากเทียบกับจำนวนผู้ที่ขอเข้ารับการตรวจหาเชื้อ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์ในสัปดาห์นี้ว่า ภาพรวมจะดีขึ้นได้ต่อเนื่องหรือไม่ รวมถึงทิศทางราคาน้ำมัน ที่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดีดตัว (รีบาวด์) ขึ้นได้ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากกระแสข่าวที่ออกมาว่า จีนจะพิจารณาซื้อน้ำมันดิบเข้าคลังสำรองในประเทศ ทำให้ในสัปดาห์นี้ต้องติดตามต่อว่าราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไร เนื่องจากขณะนี้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาเป็นปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยหากมีการออกมาให้ข่าวของสหรัฐอเมริกา ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย ราคาน้ำมันก็จะผันแปรตามปัจจัยเหล่านั้น นักลงทุนจึงต้องติดตามข่าวสารรายวัน ที่จะออกมาทั้งจากประเทศสมาชิกองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอกด้วย

นายณัฐชาตกล่าวว่า สำหรับกองทุนรวมเพื่อการออม (เอสเอสเอฟ) พิเศษ ที่เริ่มขายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมานั้น ประเมินว่า จำนวนเม็ดเงินสูงสุดที่จะไหลเข้ามาในกองทุนเอสเอสเอฟพิเศษ อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท อ้างอิงจากเม็ดเงินของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) เดิม ที่มีการซื้อต่อปีอยู่ที่ 60,000 ล้านบาท โดยทั้ง 2 กองทุนมีความแตกต่างกันอยู่ที่กองทุนเอสเอสเอฟพิเศษจำกัดการซื้อสูงสุดอยู่ที่ 200,000 บาท แต่กองทุนแอลทีเอฟจำกัดการซื้อสูงสุดอยู่ที่ 500,000 บาท ซึ่งเมื่อคำนวณจากปริมาณการซื้อสูงสุดร่วมกับเม็ดเงินของแอลทีเอฟเดิม จะได้เม็ดเงินสูงสุดออกมาอยู่ที่ 24,000 ล้านบาท แต่ได้ปรับลดปริมาณลงเล็กน้อย จากแรงจูงใจในการซื้อที่มีไม่มากนักของกองทุนเอสเอสเอฟพิเศษ เนื่องจากต้องถือครองถึง 10 ปีปฏิทิน จากเดิมที่กองทุนแอลทีเอฟถือเพียง 7 ปีปฏิทินเท่านั้น

“แนวโน้มเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (ฟันด์โฟลว์) ในช่วงระยะหลัง อิทธิพลที่จะกำหนดทิศทางดัชนีหุ้นไทยของฟันด์โฟลว์เริ่มลดลง เนื่องจากจะเห็นว่าวันไหนที่ดัชนีหุ้นปรับขึ้นมากๆ ผู้ซื้อส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนสถาบัน ส่วนวันไหนที่ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงแรง ผู้ขายหลักก็จะเป็นนักลงทุนสถาบันเช่นกัน รวมถึงหากกองทุนเอสเอสเอฟพิเศษเข้ามาจริง และเข้ามามาก ก็จะทำให้สภาพคล่องในมือของนักลงทุนสถาบันมีเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นจึงมองว่าในแง่ของสภาพคล่องอย่างน้อยในเดือนเมษายน-มิถุนายนนี้ สภาพคล่องในประเทศน่าจะดูดีขึ้นเล็กน้อย จากกองทุนเอสเอสเอฟพิเศษที่จะเข้ามา ในส่วนของกลยุทธ์ที่แนะนำในการลงทุนคือ ซื้อขายตามกรอบดัชนีมี่ให้ไว้ โดยได้แนะนำแนวต้านแรกตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา หากดัชนีไต่ขึ้นมาถึงระดับ 1,130-1,140 จุด ให้แบ่งข่ายหุ้นในพอร์ตถือครอง ซึ่งขณะนี้ดัชนีก็ขึ้นมาถึงแล้ว โดยหากนักลงทุนแบ่งหุ้นขายในระดับดังกล่าวแล้ว สามารถถือครองหุ้นที่เหลือต่อไปได้ และหากดัชนีเดินหน้าขึ้นไปต่อถึงระดับแนวต้านสำคัญที่ 1,220 จุด ให้เป็นจุดขายอย่างมีนัยยะสำคัญ กลับกันหากมีเหตุการณ์ที่ทำให้ดัชนีปรับลดระดับลงแรงๆ ที่ 1,050 จุด ให้ใช้เป็นระดับรับหุ้นได้ และหากลงมาถึงแนวรับสำคัญที่ระดับ 1,000 จุด ให้ถือเป็นจุดเพิ่มหุ้นในพอร์ตได้” นายณัฐชาตกล่าว

ส่วนหุ้นเด่นจะเป็นตัวไหน ต้องติดตามในรายการคลุกวงหุ้น!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง