รีเซต

นักดับเพลิงแห่ง 'วังต้องห้าม' ผู้พิทักษ์โบราณสถานสุดยิ่งใหญ่แห่งแดนมังกร

นักดับเพลิงแห่ง 'วังต้องห้าม' ผู้พิทักษ์โบราณสถานสุดยิ่งใหญ่แห่งแดนมังกร
Xinhua
13 พฤศจิกายน 2563 ( 19:19 )
291
นักดับเพลิงแห่ง 'วังต้องห้าม' ผู้พิทักษ์โบราณสถานสุดยิ่งใหญ่แห่งแดนมังกร

ปักกิ่ง, 13 พ.ย. (ซินหัว) -- ด้านหน้าพระตำหนักไท่เหอ อาคารหลักของพระราชวังต้องห้าม กลุ่มนักดับเพลิงฉีดน้ำพุ่งขึ้นท้องฟ้า ละอองน้ำโปรยปรายลงมาบนผนังไม้สีแดงและกระเบื้องสีส้มเหลืองโดยรอบ ราวกับมีมนตร์ขลังบางอย่างที่คอยปกป้องสถานที่ลึกลับในยุคโบราณแห่งนี้เจิ้งฮ่าว นักดับเพลิงวัย 26 ปีที่สถานีบริการพิเศษพระราชวังต้องห้ามของหน่วยดับเพลิงและกู้ภัยพื้นที่เทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง กล่าวว่าแผนฝึกซ้อมดับเพลิงทั้งหมดภายในบริเวณพระราชวัง ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อพิพิธภัณฑ์พระราชวัง (Palace Museum) ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถัน โดยทุกรายละเอียดนั้นผ่านการวัดอย่างแม่นยำล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเกิดเหตุผิดพลาด เช่น น้ำแรงดันสูงชะกระเบื้องหลุด หรือทำให้เสารับน้ำหนักเสียหาย"พระราชวังอายุ 600 ปีแห่งนี้บอบบางเกินกว่าที่คุณคิด เหมือนชายชราคนหนึ่งที่ต้องการการดูแลและปกป้องอย่างรอบคอบ" เจิ้งกล่าวพระราชวังต้องห้ามซึ่งสร้างขึ้นระหว่างปี 1406-1420 ครั้งหนึ่งเคยให้เป็นพระราชวังในราชวงศ์หมิง (1368-1644) และราชวงศ์ชิง (1644-1912) เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ยูเนสโกจารึก และมีอาคารไม้โบราณที่ใหญ่ที่สุดและยังคงสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ส่วนพิพิธภัณฑ์พระราชวังก่อตั้งขึ้นในปี 1925 บนฐานของพระราชวังเดิม

 

 

นักดับเพลิงเจิ้ง กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์พระราชวังเป็นหนึ่งในแหล่งติดไฟที่ใหญ่ที่สุดในกรุงปักกิ่งเขาทอดถอนใจพร้อมเอ่ยถึงอาคาร "หลิงจ่าวเซวียน" หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "พระราชวังคริสตัล" (Crystal Palace) ซึ่งตั้งอยู่ในตำหนักเหยียนสี่ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันตกเพียงแห่งเดียวในพระราชวังต้องห้าม แต่ถูกเผามอดไหม้ในกองเพลิงในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิง ทิ้งไว้เพียงความเศร้าโศกให้มวลมนุษยชาติเหตุไฟไหม้ในมหาวิหารนอเทรอดามและปราสาทชุริของญี่ปุ่นในปี 2019 ส่งสัญญาณเตือนภัยให้กับเหล่านักผจญเพลิงชาวจีนที่อยู่ห่างออกไปหลายพันไมล์

 

"พระราชวังต้องห้ามเคยเป็นของพระจักรพรรดิ แต่ตอนนี้มันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันของเราทุกคน เราต้องเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ล่วงหน้า เพราะเราไม่อาจยอมให้เกิดการสูญเสียใดๆ ได้" ไช่รุ่ย หัวหน้าสถานีดับเพลิงกล่าว

 

ประเพณีตามฤดูกาลที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน เช่น การกำจัดวัชพืชในฤดูใบไม้ผลิ การกักเก็บน้ำในฤดูร้อน การกวาดใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง และการทำลายน้ำแข็งในฤดูหนาว ถูกส่งต่อกันมาหลายชั่วอายุคนและยังคงทำงานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ"บรรพบุรุษของเราตระหนักในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยค่อนข้างมาก แต่มาตรการป้องกันส่วนใหญ่อยู่บนพื้นฐานของความเชื่องมงาย" เจิ้งกล่าวตัวอย่างเช่น หอเหวินยวน (Wenyuan Pavilion) ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ถูกปูด้วยกระเบื้องสีดำเนื่องจากเป็นสีที่สอดคล้องกับน้ำ ตามหลักธาตุทั้ง 5 ของจีน ส่วนรูปปั้น "หางสือ" ที่อยู่บนหลังคาก็ถือวัชระ (vajra pestles) ตามตำนานเทพอสุนีของจีน ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถป้องกันฟ้าผ่าได้ 

 

(แฟ้มภาพซินหัว : กลุ่มนักดับเพลิงกำลังฝึกซ้อมในพระราชวังต้องห้าม ณ กรุงปักกิ่ง วันที่ 5 พ.ย. 2020)

 

ในยุคปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์พระราชวังถูกติดตั้งพร้อมสรรพด้วยเทคโนโลยีล่าสุด ทั้งกล้องตรวจจับควัน กล้องอินฟราเรด และสายล่อฟ้า แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการป้องกันไฟอย่างก้าวกระโดด สถานีดับเพลิงสามารถใช้ข้อมูลขนาดใหญ่แบบเรียลไทม์ในการติดตามและตรวจสอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงแบ่งเขตพระราชวังต้องห้ามออกเป็น 10 พื้นที่และอาคาร 55 หลังเพื่อดูแลให้แน่ใจว่ามีการป้องกันอย่างทั่วถึง พร้อมตรวจสอบและบันทึกสภาพของอุปกรณ์ดับเพลิงเป็นประจำทุกวัน

 

เจ้าหน้าที่แต่ละคนเชี่ยวชาญแผนผังและเส้นทางในพระราชวังเป็นอย่างดี สถานที่ลึกลับโบราณแห่งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเขานักดับเพลิงปฏิบัติหน้าที่ทุกวันตลอดทั้งปี และแม้ว่าจะเป็นเวลาพัก ก็ต้องกลับมาก่อนที่ประตูพระราชวังจะปิดนอกเหนือจากการอบรมและฝึกซ้อมตามปกติแล้ว พวกเขายังต้องดูแลอุปกรณ์ที่ใช้ภายในพระราชวังด้วยความระมัดระวังสูงสุด นักดับเพลิงจะใช้เตาไฟฟ้าแทนเตาแก๊สในครัว เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของพระราชวังแม้ว่าสถานีดับเพลิงจะดำเนินงานมาแล้วกว่า 5 ทศวรรษ แต่พวกเขาก็ยังคิดว่าตนเองเป็นเพียงชั่วยามหนึ่งในห้วงประวัติศาสตร์อันยาวนานของพระราชวัง

 

"เรายังคงสดชื่นและประหม่าราวกับเดทแรก พระราชวังต้องห้ามเป็นเหมือนคู่รักของเรา ทั้งสวยงามและละเอียดอ่อน ดังนั้นเราจะทำทุกอย่างเพื่อปกป้องเธอจากอันตราย" ไช่กล่าว

 

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง