รีเซต

NASA ตรวจ"ฝุ่น PM 2.5" ในไทย นักสื่อสารดาราศาสตร์รีแอคอย่างไรบ้าง ?

NASA ตรวจ"ฝุ่น PM 2.5" ในไทย นักสื่อสารดาราศาสตร์รีแอคอย่างไรบ้าง ?
TNN ช่อง16
18 มีนาคม 2567 ( 21:20 )
21
NASA ตรวจ"ฝุ่น PM 2.5" ในไทย นักสื่อสารดาราศาสตร์รีแอคอย่างไรบ้าง ?

"เครื่องบิน NASA" หรือเครื่องบินขององค์การบริหารการบินและอวกาศของสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาที่สนามบินอู่ตะเภาตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่อดำเนินภารกิจตรวจคุณภาพอากาศในประเทศไทย ภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า ASIA-AQ (Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality) ระหว่างวันที่ 16-26 มีนาคมจากความร่วมมือของหลายหน่วยงานทั่วโลก ความสำเร็จในครั้งนี้จึงเป็นที่จับตาของสื่อและคนในแวดวงวิทยาศาสคร์ รวมถึง "กร กรทอง วิริยะเศวตกุล" นักสื่อสารดาราศาสตร์ชื่อดังของไทย


เครื่องบิน NASA กับการมาลงจอดที่อู่ตะเภา

กรทอง วิริยะเศวตกุล หรือชื่อในวงการที่รู้จักกันว่า #KornKT เป็นหนึ่งในผู้ที่สนใจและติดตาม รวมถึงถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับดาราศาสตร์ด้านต่าง ๆ ซึ่งได้มีโอกาสมาร่วมงานแถลงข่าวโครงการ AISA-AQ ได้บอกเล่าความรู้สึกกับ TNN Tech ว่าน่าตื่นเต้นที่ได้เห็นความสำเร็จของโครงการ ASIA-AQ ในประเทศไทย พร้อมให้ข้อมูลว่า เครื่องบินในฝูงบินอย่าง DC-8 Airborne Science Laboratory และ Gulfstream III - LaRC มีอายุประจำการประมาณ 37 ปีแล้ว โดยเครื่องบิน DC-8 หลังจากที่ทำภารกิจในไทยแล้วจะบินไปยังเกาหลีใต้ ประเทศสุดท้ายในการทำภารกิจตามโครงการ ASIA-AQ ก่อนกลับไปปลดประจำการในสหรัฐอเมริกา


ทั้งนี้ DC-8 Airborne Science Laboratory เป็นเครื่องบินดัดแปลงจากเครื่องบินเจ็ตดักลาส ดีซี 8 (Douglas DC-8) เครื่องบินแบบ 4 เครื่องยนต์ ที่ผลิตขึ้นในปี 1969 ซึ่ง NASA ได้รับมอบมาใช้งานในปี 1985 ตัวเครื่องมีความยาว 48 เมตร ดัดแปลงให้ติดตั้งอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ มีระยะการบิน 5,400 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 9,980 กิโลเมตร มีเพดานการบินระหว่าง 1,000 - 42,000 ฟุต หรือประมาณ 300 - 12,800 เมตร ได้ต่อเนื่องสูงสุด 12 ชั่วโมง (การบินเพื่อเก็บข้อมูลจะใช้เวลาโดยเฉลี่ย 6 - 10 ชั่วโมง) ส่วน NASA Langley Gulfstream G-III เป็นรุ่นเล็กที่มีความยาว 25 เมตร ติดตั้งเซนเซอร์ทางวิทยาศาสตร์ และมีระยะการบินน้อยกว่าที่ 6,976 กิโลเมตร แต่มีเพดานการบินที่สูงถึง 45,000 ฟุต (13,700 เมตร) 


เป้าหมายโครงการ ASIA-AQ ของ NASA

โดยโครงการ ASIA-AQ มีเป้าหมายในการสำรจเพื่อเก็บข้อมูลคุณภาพอากาศในพื้นที่ประเทศที่ร่วมโครงการ โดยในประเทศไทยจะเน้นการทำภารกิจเหนือน่านฟ้ากรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ เพื่อเก็บข้อมูลสภาพอากาศและนำมาประมวลผลร่วมกับการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและสร้างแบบจำลองคุณภาพอากาศทั่วทวีปเอเชียที่รวมไปถึงฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังทวีความรุนแรงในประเทศไทย โดยโครงการนี้จะสามารถสร้างฐานข้อมูลที่ละเอียดและแม่นยำจนนำไปสู่การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เชิงนโยบายในระดับชาติได้ หลังจากเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี ต่อจากนี้


กรทอง ยังรู้สึกตื่นเต้นและตื้นตันกับการมาถึงของเครื่องบินของ NASA ทั้งสองเครื่อง เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่า NASA ไม่ได้มีแต่ภารกิจนอกโลกเท่านั้น แต่ยังมีภารกิจที่ทำเพื่อโลกและมนุษยชาติ "เราอาจจะคุ้นภาพกับการที่ NASA ต้องทำการกิจด้านอวกาศ ต้องส่งยานไปดาวดวงอื่น แต่หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ NASA คือ การสำรวจโลกของเรา การเอาองค์ความรู้จากบนโลกของเราเพื่อเข้าใจว่าบ้านหลังเดียวของเรานั้นเป็นอย่างไร" 


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง