รีเซต

เปิดเกณฑ์ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน 13 ล้านคน มีอะไรบ้าง

เปิดเกณฑ์ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน 13 ล้านคน มีอะไรบ้าง
TrueID
19 กุมภาพันธ์ 2566 ( 12:34 )
93.6K
4
เปิดเกณฑ์ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน 13 ล้านคน มีอะไรบ้าง

กระทรวงการคลัง ประกาศผลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ล่าสุด เร่ง ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐผ่าน ประมาณ 13 ล้านคน จากจำนวน 19 ล้านคน และจะเร่งดำเนินการโอนเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ทัน 1 มีนาคม 2566 นี้ 

 

ประกาศผลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ล่าสุด

เช็คผลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศผลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ล่าสุด อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจน โดยกระทรวงการคลังกำลังเร่งพิจารณารายชื่อเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายใน 1-2 สัปดาห์ และจะเร่งดำเนินการโอนเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ทัน 1 มีนาคม 2566 ต้องไปดูตารางเวลาอีกครั้ง โดยจากเดิมที่ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พิจารณาเฉพาะเกณฑ์บุคคล โดยครอบครัว หมายถึง ผู้ลงทะเบียน คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส และบุตรที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ จึงต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติจากหน่วยงานถึง 46 แห่ง เพื่อให้มีความถูกต้องครบถ้วน เบื้องต้นคาดว่าในจำนวนผู้ลงทะเบียนกว่า 19 ล้านกว่าคน เมื่อผ่านการคัดกรองร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จะเหลือผู้ที่ได้รับสิทธิที่ผ่านเกณฑ์ประเมินใหม่ เช่น รายได้ครัวเรือน ทรัพย์สิน เป็นต้น ใกล้เคียงกับรอบที่ผ่านมาประมาณ 13 ล้านคนเท่านั้น

 

ขั้นตอนตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th

  1. คลิกตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน
  2. กรอกเลขที่บัตรประชาชนจำนวน 13 หลักระบุ วัน เดือน และ พ.ศ.เกิด
  3. คลิก ตรวจสอบข้อมูล ระบบแสดงสถานะการลงทะเบียน

 

 

เกณฑ์ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

สมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน ได้แก่ บุคคลใดบ้าง

  • ผู้ลงทะเบียน คู่สมรส (สามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรส) และบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ เฉพาะที่ยังมีชีวิตอยู่ตามข้อมูลของกรมการปกครอง (แต่ไม่รวมบุตรบุญธรรม)

 

กรณีบุตรของผู้ลงทะเบียนมีอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ และยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ลงทะเบียนจะต้องดำเนินการอย่างไร

  • ในกรณีที่บุตรของผู้ลงทะเบียนมีอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ และยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ลงทะเบียนสามารถกรอกเลขประจำตัวประชาชนของบุตรตามที่ปรากฏในสูติบัตร และต้องยื่นเอกสารสำเนาสูติบัตรของบุตรที่หน่วยงานรับลงทะเบียนพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

 

ผู้ลงทะเบียนต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ นับอย่างไร

  • ผู้ลงทะเบียนจะต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปนับถึงวันสุดท้ายที่เปิดรับลงทะเบียน (19 ตุลาคม 2565)

 

ผู้ลงทะเบียนมีบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี และเกิน 18 ปี ต้องระบุข้อมูลอย่างไร

  • ระบุข้อมูลในแบบฟอร์มเฉพาะบุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์นับถึงวันสุดท้ายที่เปิดรับลงทะเบียน (วันที่ 19 ตุลาคม 2565)

 

บุตรของผู้ลงทะเบียนจะต้องลงนามในแบบฟอร์มอย่างไร

  1. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุเกินกว่า 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 19 ต.ค. 65 ให้ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง
  2. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกิน 10 ปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 19 ต.ค. 65 ให้ผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ลงลายมือชื่อแทนบุตร

 

หากผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว จะต้องลงทะเบียนทั้งสามี และภรรยาหรือไม่ และจะได้รับสิทธิคนละสิทธิใช่หรือไม่

การลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 เป็นการลงทะเบียนเป็นรายบุคคล และตรวจสอบรายบุคคลและครอบครัว โดยมีขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติ 2 ขั้นตอน ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนว่าผ่านตามเกณฑ์หรือไม่
  • ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาคุณสมบัติตามเกณฑ์ของครอบครัว (กรณีที่ผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว)

ดังนั้น หากผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว สามารถลงทะเบียนได้ทั้งสามี และภรรยา ทั้งนี้ หากสามี และภรรยาผ่านการตรวจสอบคุณสมบติก็จะได้รับสิทธิคนละ 1 สิทธิ

 

หากผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว แต่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสหรือบุตรให้มาลงทะเบียนที่จุดรับลงทะเบียนหรือลงลายมือชื่อในเอกสารได้ต้องดำเนินการอย่างไร

  • แบบฟอร์มลงทะเบียนจะต้องมีการลงนามที่ครบถ้วนหากมีครอบครัว (คู่สมรสและ/หรือบุตรที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องลงนามทุกคนให้ครบถ้วน ทั้งนี้ คู่สมรสและ/หรือบุตรที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายื่นแบบฟอร์มลงทะเบียนพร้อมกับผู้ลงทะเบียน แต่จำเป็นต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสและ/หรือบุตรพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาพร้อมกับแบบฟอร์มลงทะเบียน

 

กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเป็นคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติ และหากต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯสามารถลงทะเบียนได้หรือไม่ และถ้าหากลงทะเบียนได้ ผู้ลงทะเบียนจะต้องลงทะเบียนว่ามีครอบครัวหรือไม่

  • ผู้ลงทะเบียนที่จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติตามกฎหมายประเทศไทย คู่สมรสจะต้องขอ "บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย" หรือบัตรต่างด้าว ที่เขต/อำเภอ เพื่อให้คู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ มีข้อมูลเลข 13 หลัก เพื่อใช้สำหรับลงทะเบียน

 

โทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ที่

  • สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง โทร. 094-858-9794 (เวลาทำการ 08.30 – 16.30 น.)
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3502 3503 3506 3536 3542 3518 หรือ
    โทร. 08-5842-7102 , 08-5842-7103, 08-5842-7104 ,08-5842-7105, 08-5842-7106, 08-5842-7107 (เวลาทำการ 08.30 – 16.30 น.)
  • ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร. 02-109-2345 (เวลาทำการ 08.30 – 17.30 น.)

 

ข้อมูลจาก กระทรวงการคลัง

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง