รีเซต

หนังสือนิทาน ทำไมต้องอ่านให้ลูกฟัง?

หนังสือนิทาน ทำไมต้องอ่านให้ลูกฟัง?
TeaC
29 กันยายน 2564 ( 21:24 )
331
หนังสือนิทาน ทำไมต้องอ่านให้ลูกฟัง?

ใครยังจำนิทานเรื่องแรกที่พ่อและแม่เล่าให้ฟังได้ไหม? เชื่อว่าความทรงจำที่ทุกคนคุ้นเคยต้องมีนิทานเรื่อง "หนูน้อยหมวกแดง" หรือ "หมูสามตัว" กันใช่ไหมละ แล้วรู้หรือไม่? การเล่านิทานนั้นไม่เพียงสร้างความบันเทิงให้กับลูกน้อย แต่หนังสือนิทานมีประโยชน์มากกว่าที่คิด วันนี้ TrueID ขอหยิบประโยชน์ของหนังสือนิทาน การเล่านิทานให้ลูกน้อยที่พ่อแม่มือใหม่ หรือใครกำลังมีลูกน้อยควรให้ความสำคัญ อย่าทำช่วงเวลาเหล่านี้หล่นหาย เพราะเมื่อลูกโตขึ้น จะเรียกร้องช่วงเวลาดี ๆ แบบนั้นกลับมาไม่ได้อีกแล้ว 

 

นิทาน คืออะไร? โดยข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพีเดีย ระบุว่า นิทาน เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา กล่าวได้ว่าเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุด นิทานอาจมีกำเนิดพร้อม ๆ กับครอบครัวของมนุษยชาติ มูลเหตุที่มาแต่เริ่มแรก คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแล้วเล่าสู่กันฟัง มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งให้พิสดารมากยิ่งขึ้น จนห่างไกลจากเรื่องจริง กลายเป็นนิทานไป การเขียนนิทานในความหมายแรก อาจเป็นการเขียนจากจินตนาการก็ได้

 

ดังนั้น นิทานจึงเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่หลายคนอาจทำหล่นหายด้วยภาระหน้าที่ รายได้ที่เข้ามาทำให้ช่วง "เวลาคุณภาพ" "เวลาทอง" ที่ควรค่าแก่การปลูกฝังในทุก ๆ ครอบครัว เพราะในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงวัยแห่งการเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ถือเป็นช่วงที่มนุษย์เรามีความสามารถในการพั?นาสมองและทักษะทุกด้านกว่า 80% ของชีวิตเลยทีเดียว แค่พ่อแม่และผู้ปกครองหยิบหนังสือนิทานขึ้นมา เล่า อ่าน เปล่งเสียง ให้ลูกน้อยฟัง หรือหยิบหนังสือภาพมาให้เด็กดูตามก็จะเกิดผลดีมากมายอย่างที่คาดไม่ถึงเลยล่ะ

 

 

หยิบหนังสือนิทาน เล่านิทานให้ลูกฟังได้อะไรมากกว่าแค่การเล่า

 

โดยข้อมูลจากเว็บไซน์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ลงบทสัมภาษณ์ของนพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่เคยได้กล่าวบนเวทีเสวนาภายในงานมหกรรมการอ่านแห่งชาติ มหัศจรรย์การอ่านเพื่อเด็กปฐมวัยในภูมิภาค ปี 2561 "เทศกาลลิขสิทธิ์และเนื้อหาสำหรับสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 2 (International Children's Content Rights Fair: ICCRF)" ว่า การอ่านนิทานให้ลูกฟังเป็นกิจกรรมที่ทุกบ้านสามารถทำได้ ขอแค่มีหนังสือนิทาน มีผู้ปกครองคอยเล่าให้ฟัง แม้จะไม่ได้อ่านสนุกหรือตลกมากก็เกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กอย่างมหาศาล

 

 

อ่านนิทาน เวลาคุณภาพ ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

 

จริง ๆ แล้ว การอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟังนั้น อ่านในช่วงเวลาไหน ตอนไหนก็ได้ แต่สนับสนุนให้อ่านนิทานก่อนนอน เพราะพ่อแม่และผู้ปกครองจะได้ใช้เวลาในการส่งลูกเข้านอน ซึ่งเป็นกิจกรรมทำร่วมกันได้ง่าย ถือเป็นเวลาคุณภาพ (Quality Time) ในช่วง 20.30 น. ไม่เกิน 21.00 น. ใช้เวลาเพียงแค่ 30 นาที หากเทียบกับกิจกรรมอื่น ๆ ถือว่าใช้เวลาน้อยมาก หากทำติดต่อกันทุกวันเป็นระยะเวลา 3 ปี จะเกิดประโยชน์มากมาย

 

นพ.ประเสริฐ ยังระบุว่า เด็กจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว เฉลียวฉลาด รักการอ่าน เป็นเด็กดี เชื่อฟัง ที่สำคัญเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของสมองส่วนหน้า และเป็นเหมือนข้อบังคับของบ้านว่าไม่ว่าผู้ปกครองจะทำงานหรือมีกิจกรรมอะไร อย่างน้อยในหนึ่งวันจะต้องส่งลูกเข้านอนและมีเวลาคุณภาพร่วมกัน 

 

นี่จึงเป็นหนึ่งข้อหลักสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับ "เวลาคุณภาพ" หรือ "เวลาทอง" ที่จะได้อยู่กับลูก เพราะการอ่านนิทานมีข้อดี 3 ข้อดังนี้

 

 

1. การอ่านนิทานเป็นการผจญภัยไปกับพ่อแม่

 

เพราะพ่อแม่ได้จดจ่ออยู่กับการอ่านและลูก สร้างความคิดที่ว่าแม่มีอยู่จริง การอ่านนิทานก่อนนอนในช่วงเวลาเดียวกันในทุก ๆ วัน จะเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังวินัยการตรงต่อเวลา 

 

 

2. การอ่านนิทานเป็นการผจญภัยไปในสมอง

 

ใน 2 ขวบปีแรก สมองของเด็กเปลี่ยนแปลงทุกวัน ทุกครั้งที่เด็กได้ฟังนิทานหรือได้อ่านด้วยตัวเอง เซลล์ประสาทจะแตกแขนงออกมาเป็นร่างแหของเส้นประสาท

 

 

3. การอ่านนิทานเป็นการผจญภัยไปในจิตใต้สำนึก 

 

เพราะหนังสือนิทานมีหลากหลายเรื่องราว มีทั้งด้านดี สมหวัง สนุกสนาน สดชื่น แจ่มใส และบางเรื่องก็อาจแฝงด้านมืดมาเป็นข้อคิดเล็ก ๆ น้อย ๆ การที่เด็กได้ฟังหรืออ่านนิทานเหล่านี้ก็เหมือนกับการระบายความรู้สึกในใจออกมา 

 

เห็นประโยชน์ของการหยิบหนังสือนิทานมาอ่านให้ลูกน้อยกันแล้วใช่ไหม และการอ่ายังเป็นการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า  หรือที่เรียกว่า ‘EF (Executive Function) กระบวนการที่ใช้กำกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำ ซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญต่อความสำเร็จในการเรียน การงาน การอยู่ร่วมกับเพื่อน การคิดสร้างสรรค์ และการจัดการทุกด้านตลอดชีวิต เรียกได้ว่า EF เป็นการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตนเองตั้งไว้

 

ดังนั้น นอกจากการเล่านิทาน อ่านนิทานให้ลูกฟังแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังต้องต่อยอดจากการใช้การอ่านเป็นสื่อกลางในการพัฒนาสมองและทักษะของลูกน้อง ด้วยการถามตอบ การชื่นชมเมื่อลูกตอบถูก ให้ลูกมีส่วนร่วมในการอ่าน ลำดับเรื่องราว ชวนคิด ชวนตั้งคำถาม ยิ่งทำให้ลูกรักการอ่านมากขึ้น และจุดนี่เองที่จะสร้างเวลาคุณภาพระหว่างพ่อแม่และลูกได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

ในครั้งหน้าจะพาทุกคนไปรู้จัก ‘EF (Executive Function) หรือการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า คืออะไร? มีความสำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร? อย่าลืมติดตามที่ ทรูไอดี กันนะ 

 

ข้อมูล : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง