รีเซต

KTC ชี้ยอดใช้จ่ายบัตรพุ่ง ลุ้นส.ค.เปิดตัวCEOใหม่

KTC ชี้ยอดใช้จ่ายบัตรพุ่ง ลุ้นส.ค.เปิดตัวCEOใหม่
ทันหุ้น
18 สิงหาคม 2566 ( 00:47 )
93

KTC ฉายภาพธุรกิจบัตรเครดิตในไตรมาส 3/66 ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรยังมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง ด้านธุรกิจ "พี่เบิ้ม รถแลกเงิน" และสินเชื่อส่วนบุคคล เติบโตดีเช่นเดียวกัน มั่นใจทั้งปี 66 พอร์ตเติบโตเข้าเป้า 15% หลังช่วงครึ่งแรกปีทำได้แล้วที่ 11.1% แม่ทัพใหญ่ "ระเฑียร" ลั่นสิ้นเดือนนี้เปิดตัว CEO ใหม่

 

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC เปิดเผยว่า ประเมินภาพรวมธุรกิจบัตรเครดิตในช่วงไตรมาส 3/2566 มองว่ายังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และเมื่อเทียบจากไตรมาสก่อนหน้า โดยอัตราการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2566 ยังมีการขยายตัวในระดับที่ดีได้ต่อ

 

บัตรเครดิตโตตามเป้า

ทำให้คาดว่าทั้งปี 2566 ธุรกิจบัตรเครดิตจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ตั้งไว้ 10% ซึ่ง 6 เดือนแรกของปีนี้สามารถขยายตัวไปได้แล้วกว่า 16.3% ส่วนแนวโน้มธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงไตรมาส 3/2566 ยังคงมีทิศทางการเติบโตที่ดี โดย 6 เดือนแรกของปี 2566 มีอัตราการเติบโตได้แล้วราว 6.8% จากเป้าหมายทั้งปีนี้ที่วางไว้ประมาณ 7% โดยคาดว่าปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้เช่นเดียวกัน

 

ขณะที่เคทีซี "พี่เบิ้ม รถแลกเงิน" มองว่าในช่วงไตรมาส 3/2566 ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ยอดลูกค้าใหม่ (New Booking) จะทำได้ที่ระดับ 1,132 ล้านบาท จากเป้าทั้งปีที่วางไว้ที่ระดับ 9,000 ล้านบาท แต่เชื่อว่าในครึ่งหลังปีนี้จะมีการขยายตัวที่เพิ่มสูงกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากเข้าสู่ช่วงไฮซีซันของการใช้จ่ายเช่นเดียวกันกับธุรกิจสินเชื่อบุคคลที่ในช่วงครึ่งแรกปีนี้มี New Booking อยู่ที่ระดับ 1,402 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปีนี้ที่วางไว้ 3,000 ล้านบาท

 

ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะอยู่ที่ระดับ 2% สูงกว่าที่บริษัทตั้งเป้าหมายเอาไว้เล็กน้อย แต่เชื่อว่า อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ และไม่จำเป็นต้องตั้งสำรองเพิ่ม อย่างไรก็ดี ทั้งปี 2566 บริษัทยังคงมั่นใจการเติบโตของพอร์ตรวมจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ไม่น้อยกว่า 15% โดยครึ่งปีแรกมีการเติบโตแล้ว 11.1% ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้บริษัทมีกำไรสุทธิแล้วที่ระดับ 3,678 ล้านบาท

 

ปีหน้าทำนิวไฮ

สำหรับแผนธุรกิจปี 2567 คาดจะสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง และมีโอกาสที่จะทำสถิติสูงสุดใหม่ได้อีกครั้ง เนื่องจากธุรกิจมีการเติบโตที่ดีโดยเฉพาะ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เพราะมองว่าขนาดพอร์ตในปัจจุบันยังเล็กมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อีกมากในอนาคต ทำให้ที่มีช่อบงสร้างการเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ซึ่งตอนนี้บริษัทกำลังปรับปรุงและนำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง

 

ประเด็นที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่มาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นทางออกในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในระยะยาว โดยธปท. จะบังคับใช้เดือนมกราคม 2567 และสำหรับหนี้ปกติที่เป็นหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) จะให้มีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2567 นั้น ทางบริษัทได้ประเมินผลกระทบต่อมาตรการดังกล่าว หากลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการฯ จะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน

 

ความคืบหน้าการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนการสรรหา ซึ่งคาดว่าภายในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม 2566 นี้ จะได้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่

 

แนะซื้อ เป้าหมาย 68 บ.

บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คงประมาณการ กำไรสุทธิ 2023E ของ KTC ที่ 7.8 พันล้านบาท โต 10% YoY) และปี 2024E ที่ 8.3 พันล้าน บาท โต 6% YoY จาก ด้านผลการดาเนินงาน 3Q23E คาดจะขยายตัว YoY และ QoQ จากสินเชื่อที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง,รายได้หนี้สูญรับคืนที่เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายสำรองลดลง

 

ราคาเป้าหมาย 68.00 บาท อิง 2023E PBV ที่ 4.9x (+0.25 SD above 5-yr average PBV) โดยมี ตัวเร่งจากสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามการหาลูกค้าใหม่ที่มียอดการใช้จ่ายที่มากขึ้น และมีความเสี่ยงลดลงผ่านฐานเงินเดือนที่สูงขึ้น รวมทั้งได้ผลบวกจากกิจกรรมทางการตลาดที่กลับมาเป็นปกติและทยอยออกตลอดทั้งปี

 

ขณะที่ประเมินว่าบริษัทมีความเสี่ยงจากการดำเนินงานที่จำกัด ทั้งปรับการจ่ายชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำจาก 5% เป็น 8% เนื่องจากปัจจุบันลูกหนี้บัตรเครดิตส่วนใหญ่จ่ายชาระขั้นต่ำเฉลี่ยที่ 30% รวมทั้งผลกระทบต่อการเข้ามาควบคุมลูกหนี้เรื้อรังของ ธปท. ยังต่ำคิดเป็น Downside risk ต่อกาไรสุทธิปี 2024E ที่ -2%

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง