รีเซต

ชื่อ “พายุ” มีที่มาอย่างไร? แล้วใครเป็นคนตั้ง?

ชื่อ “พายุ” มีที่มาอย่างไร? แล้วใครเป็นคนตั้ง?
TNN ช่อง16
24 กรกฎาคม 2568 ( 11:05 )
15

เมื่อเกิดพายุหมุนเขตร้อนในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและทะเลจีนใต้ระบบที่ใช้ในการตั้งชื่อพายุมาจากกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศที่เรียกว่า
Typhoon Committee (คณะกรรมาธิการไต้ฝุ่น) ซึ่งดำเนินการภายใต้องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) โดยชื่อพายุในภูมิภาคนี้ถูกเสนอโดย 14 ประเทศและเขตการปกครองสมาชิกได้แก่

  • กัมพูชา
  • จีน
  • เกาหลีใต้
  • เกาหลีเหนือ
  • ฮ่องกง
  • ญี่ปุ่น
  • ลาว
  • มาเก๊า
  • มาเลเซีย
  • ไมโครนีเซีย
  • ฟิลิปปินส์
  • ไทย
  • สหรัฐอเมริกา (สำหรับเกาะกวมและหมู่เกาะมาเรียนา)
  • เวียดนาม

แต่ละประเทศเสนอชื่อไว้ประเทศละ 10 ชื่อรวมทั้งหมด 140 ชื่อซึ่งจะถูกนำมาเรียงตามลำดับโดยไม่คำนึงถึงปีหรือฤดูกาลไล่ตั้งแต่ชื่อพายุที่ตั้งโดยกัมพูชาก่อน และจะไล่ลงมาเรื่อย ๆ จนถึงชื่อพายุที่ตั้งโดยเวียดนาม เมื่อใช้ครบ 14 ชื่อแล้ว ก็จะวนกลับไปใช้ของกัมพูชาใหม่แบบนี้เรื่อย ๆ

ชื่อพายุจะถูกใช้วนไปตามลำดับ หากชื่อใดก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงหรือมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ชื่อดังกล่าวจะถูกถอดออกและประเทศที่เสนอชื่อจะต้องเสนอชื่อใหม่มาแทนอย่างชื่อพายุล่าสุด คือ “วิภา” ตั้งโดยประเทศไทย หลังจากนั้นจะต้องใช้ชื่อพายุที่ตั้งโดยสหรัฐอเมริกา ตามตารางคือ “ฟรานซิสโก” ต่อด้วย “ก๋อมัย” ที่ตั้งโดยเวียดนาม และลูกต่อไปก็จะใช้ชื่อที่ตั้งโดยกัมพูชา วนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ 


ชื่อพายุที่เสนอโดยประเทศไทยได้แก่พระพิรุณ กระท้อน วิภา บัวลอย เมขลาอัสนีนิดาชบากุหลาบ และขนุน


สำหรับชื่อพายุไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อบุคคลเสมอไป บางชื่อเป็นชื่อสัตว์ พืช หรือธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งชื่อพายุอาจฟังแปลกหูหรือไม่คุ้นในบางภาษา เพราะสะท้อนวัฒนธรรมของแต่ละประเทศที่เสนอชื่อเข้ามา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง