รีเซต

นักวิจัยทั่วโลกศึกษา 'เอไอ' เพื่อ 'การก่อสร้างอัจฉริยะ'

นักวิจัยทั่วโลกศึกษา 'เอไอ' เพื่อ 'การก่อสร้างอัจฉริยะ'
Xinhua
26 มีนาคม 2564 ( 22:49 )
64
นักวิจัยทั่วโลกศึกษา 'เอไอ' เพื่อ 'การก่อสร้างอัจฉริยะ'

เฮลซิงกิ, 26 มี.ค. (ซินหัว) -- จะเป็นอย่างไร หากเรานำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) มาใช้สร้างบ้านเมื่อวันพฤหัสบดี (25 มี.ค.) คณะนักวิจัย 230 คนจากประเทศและภูมิภาค 30 แห่ง ร่วมศึกษาโอกาสการประยุกต์ใช้เอไอในภาคสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการก่อสร้าง ระหว่างการประชุมออนไลน์ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมวิศวกรรมโยธาแห่งฟินแลนด์กิจกรรมการประชุม 2 วันข้างต้นเป็น "การประชุมประเภทนี้เป็นครั้งแรกของโลก" จัดขึ้นภายใต้หัวข้อที่หลากหลาย อาทิ

 

การก่อสร้างอัจฉริยะ ศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูล และเทคโนโลยีเอไอที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเลารา เปลเลกรินี นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคแห่งมิลานของอิตาลี เสนอการใช้เอไอเป็นทางแก้ปัญหาที่โลกจะต้องเผชิญหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เพราะมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมสร้างความล่าช้าให้กับการขึ้นลิฟต์หรือบันไดเพื่อเข้า-ออกอาคาร และมาตรการความปลอดภัยที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด ทำให้กระบวนการตัดสินใจที่อิงกับฐานข้อมูลของอาคารอาจเป็นวิธีที่ไม่น่าเชื่อถือนักเปลเลกรินีเสนอการประยุกต์ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจำนวนคนในอาคาร ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์แบบแผนการเข้า-ออกตึก อันจะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นสถานที่ทำงานที่ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น เพราะจะสามารถปรับเปลี่ยนข้อกำหนดได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มลดจำนวนคนในอาคารได้ รวมถึงปรับเปลี่ยนเงื่อนไขภายในอาคารได้แบบเรียลไทม์รักฮูรัม คัลยานัม นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคนิคไคเซอร์สเลาเทิร์นของเยอรมนีนำเสนอระบบเทคนิคการทำเอไอผ่านการฝึกฝน (RL) ในการสร้างกระจกหน้าต่างอิเล็กโทรโครมิกเพื่อลดแสงจ้า โดยนักวิจัยจะให้รางวัลเอไอเมื่อระบบสามารถเลือกส่วนประกอบกระจกที่ถนอมสายตามนุษย์ได้และระบบจะถูกลงโทษเมื่อทำพลาดส่วน

 

ดร. ลีชานกยู จากมหาวิทยาลัยฟลอริดาแห่งสหรัฐฯ ใช้เอไอเป็นทางแก้ปัญหาของสถาปัตยกรรมรูปทรงอิสระ โดยปัจจุบันโครงสร้างรูปทรงอิสระที่ซับซ้อนกำลังได้รับความสนใจมากในหมู่สถาปัตยกรรมร่วมสมัย แต่การจะออกแบบและสร้างอาคารที่มีรูปทรงผิดปกตินี้เป็นเรื่องยาก เนื่องจากอาคารประเภทนี้มีสุนทรียศาสตร์ สถิตยศาสตร์ ขนาด และเทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างจากอาคารทั่วไปลีระบุว่ากระบวนการสร้างสถาปัตยกรรมรูปทรงเสรีนั้นทั้งซับซ้อนและใช้ต้นทุนสูง การรักษาสมดุลระหว่างความตั้งใจในการออกแบบและความคุ้มค่าของการลงทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ลีจึงเสนอวิธีการที่ใช้หลักเหตุผลตัดสินเพื่อจำแนกพื้นผิวรูปทรงอิสระอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้กระบวนการออกแบบเชิงก่อกำเนิด (generative design) และเชิงพาราเมตริก (parametric design)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง