รีเซต

บสย. เตรียมพื้นฐานด้านดิจิทัล 3 มิติ คอนเน็กต์รายย่อย พัฒนาศักยภาพ

บสย. เตรียมพื้นฐานด้านดิจิทัล 3 มิติ คอนเน็กต์รายย่อย พัฒนาศักยภาพ
มติชน
31 มกราคม 2565 ( 12:28 )
34
บสย. เตรียมพื้นฐานด้านดิจิทัล 3 มิติ คอนเน็กต์รายย่อย พัฒนาศักยภาพ

เมื่อวันที่ 31 มกราคม นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไปบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) บรรยายพิเศษเสริมในงานสัมมนา “สู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022” รูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ “ศักยภาพใหม่ เพื่อธุรกิจใหม่” จัดขึ้นโดยหนังสือพิมพ์มติชน อีกตอนหนึ่งว่า ศักยภาพที่ 2 คือ ทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไม่ใช้เพียงเข้าถึงแหล่งเงินอย่างเดียว แต่มีความในด้านการเงิน และความรู้ในเรื่องดิจิทัล เข้ามาเสริม แม้ว่ามองเบื้องต้น เอสเอ็มอีจะมีปัญหาเรื่องการเงิน แต่สิ่งแรกเลย คือต้องผลิตสินค้าได้ ให้บริการดีเยี่ยม ถึงจะเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ แต่ในความจริง อาจจะมีปัญหาเรื่องของการตลาด การจัดการธุรกิจ การทำบัญี หรือการใช้นวัตกรรมในกละบวนการผลิต หรือการปรับเปลี่ยน บรรจุภัณฑ์ใหม่ การหาตลาดใหม่ๆ ทางโซเชี่ยวมีเดีย หรือ บนแพลตฟอร์มดิจิทัล บสย.นั้นมี ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน ที่เรียกว่า เอฟ.เอ.เซ็นเตอร์ (F.A.Center)เป็นการผลักดัน เพื่อแก้ไข จุดอ่อนทางธุรกิจขณะเดียวกัน ก็มี คลินิกหมอหนี้ ที่ทำร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อสกัดไม่ให้หนี้ภาคครัรเรือนสูงขึ้น และยังมีพันธมิตร ทั้งสถาบันการเงิน และหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นการช่วยให้เอสเอ็มอีมีความรู้ทั้ง ด้านการเงิน และด้านเทตโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ ประเทศไทยเข้าสู่ศักยภาพใหม่ 2022

 

ศักยภาพที่ 3 คือ การที่จะทำอย่างไรให้เอสเอ็มอีดู “สมาร์ท (SMART)” เอส(S) คือ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในการขายสินค้า นำสินค้าเข้าสู่ระบบแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เอ็ม (M) คือ ชุดความคิด (Mindset) เอสเอ็มอี ควรจะใช้มายเซท เหมือนสตาร์ทอัพ เจาะไปที่ข้อออ่นของลูกค้า เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดรับความรู้ใหม่ รัฐบาลมีโครงการ คนละครึ่ง แต่ผู้ประกอบการร้านค้า ไม่เข้าร่วม ก็อาจจะพลาดโอกาสทางธุรกิจ เอ (A) คือ ออโตเมชั่น (Automation) นำเอาขบวนการออโตเมชั่น ที่อยู่ในแต่ละแพลตฟอร์ม มาใช้ เช่น การส่งข้อความ อินบ็อกซ์ ระบบตอบโต้ของความอัตโนมัติ ซึ่งออโตเมชั่นไมาได้ทำให้ผลผลิตของการค้าขายดีอย่างเดียว แต่ผู้ประกอบการจะได้ข้อมูล (ดาต้า) วิเคราห์ความของการของลูกค้า หาโอกาสใหม่ๆ ในการขยายให้ธุรกิจเติบโต

 

อาร์ (R) คือ การรับผิดชอบต่อสังคม (Responsibility) ต้องคิดถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจชีวภาพ หรือ กลุ่มบีซีจี โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านส่งออก ในตอนนี้มีการกีดกันทางการค้าในแบบใหม่ๆ เช่น การลดหรือเลิกการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นสิ่งที่เอสเอ็มอีต้องปรับตัวให้ดู สมาร์ทขึ้น สุดท้ายคือ ที (T) มาจาก การปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ (Transformation) ต้องอดทนต่อแรงเสียดทาน การเปลี่ยนแปลง พลวัตรทางสังคม อาทิ ประเทศต้อง ล็อกดาวน์ ก็ปรับมาขายผ่านทางออนไลน์ได้ และพอประเทศเปิดก็ มีแรงงาน กำลังการผลิต รองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

ศักยภาพที่ 4 คือ กลับมาดูที่ บสย. ซึ่งในขณะนี้ บสย.ได้เตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลไว้ 3 มิติ ได้แก่ 1.การยึดโยงเข้ากับระบบดิจิทัลของประเทศ ใน 4-5 ปีที่ผ่านมามีการพัฒนาเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น ระบบการทำธุรกรรมที่เรียกว่า พร้อมเพย์การแสกนจ่ายเงินผ่าน คิวอาร์ โค้ด และการแสดงตัวตนผ่าน ระบบการทำความรู้จักลูกค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Know Your Customer หรือ e-KYC) 2.การยึดโยงกับระบบของสถาบันการเงิน ระบบการค้ำประกันสินเชื่อ หรือเครดิตการันตีจะไม่เกิดไม่ได้เลย และ 3. คือการยึดโยงกับเจ้าของแพลตฟอร์ม ทุกระบบที่ทำ ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (อี-มาร์เก็ต) ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งเงินทุน องค์ความรู้ และโอกาสในการขายสินค้า ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งสามมิติก็ยึดโยงเข้าหากัน บนโครงสร้างพื้นฐานของบสย. จะเตรียมให้กับประเทศไทย ในการสร้าง ศักยภาพใหม่ ไทยแลนด์ 2022

 

และเหนือไปกว่านั้น จะได้นำดาต้า มาทำเครดิต สกอริ่ง ให้กับกลุ่มคนที่มีน้อยได้น้อย กลุ่มเปราะบาง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสถาบันการเงิน ด้วยเครดิต เรทติ้งที่เป็น ของ บสย. เครดิตสกอริ่ง ทั้งหมดนี้ คือ 4 ศักยภาพใหม่ เพื่อตอบโจทย์ศักยภาพใหม่ ไทยแลนด์ 2022 สำหรับเอสเอ็มอีที่ไม่รู้ว่า จะเริ่มต้นอย่างไร ก็ขอให้ติดต่อ บสย.ได้ทุกช่องทาง อยากเรียนเชิญทุกท่าน มาร่วมกันสร้างศักยภาพใหม่ คอนเน็กต์ไปด้วยกัน เพื่อศักยภาพใหม่ไทยแลนด์ 2022

ข่าวที่เกี่ยวข้อง