รีเซต

ขั้นตอน การทำใบขับขี่สาธารณะ หรือใบขับขี่แท็กซี่ สำหรับผู้ที่อยากขับรถเป็นอาชีพ

ขั้นตอน การทำใบขับขี่สาธารณะ หรือใบขับขี่แท็กซี่ สำหรับผู้ที่อยากขับรถเป็นอาชีพ
NewsReporter
17 ตุลาคม 2565 ( 13:58 )
14K
ขั้นตอน การทำใบขับขี่สาธารณะ หรือใบขับขี่แท็กซี่ สำหรับผู้ที่อยากขับรถเป็นอาชีพ

ใบขับขี่สาธารณะ หรือใบขับขี่แท็กซี่ เป็นเอกสารที่จำเป็นสำหรับผู้ขับขี่รถรับจ้างเป็นอาชีพ เพื่อให้การขับขี่เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ใบขับขี่รถสาธารณะเป็นสิ่งสำคัญที่คนขับรถรับจ้างทุกคนต้องมี แม้จะเป็นเอกสารที่คล้ายกันกับใบขับขี่รถส่วนบุคคล แต่ก็มีความแตกต่างที่คนขับรถสาธารณะทุกคนต้องรู้ ล่าสุดการทำใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ ต้องทำการจองคิวล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue หรือผ่านเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th ของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น วันนี้เรามารู้จักใบขับขี่รถสาธารณะกันดีกว่าว่าแตกต่างจากใบขับขี่รถส่วนบุคคลอย่างไร และขั้นตอนการทำมีอะไรบ้าง

 

ขั้นตอนทำใบขับขี่สาธารณะ 

 

ใบขับขี่รถสาธารณะ คืออะไร?

ใบขับขี่สาธารณะ คือ เอกสารที่ผู้ขับรถสาธารณะต่าง ๆ เช่น แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ และรถสามล้อ ฯลฯ ต้องมีติดตัวไว้ทุกครั้งในการเดินทาง โดยเฉพาะเวลาที่เจ้าหน้าที่ขอตรวจ จะได้มีเอกสารเอาไว้ใช้ยืนยันว่ามีความสามารถในการขับขี่ และได้รับอนุญาตให้ขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าวันไหนลืมพกใบขับขี่ติดตัวก็ไม่เป็นปัญหา เพราะสามารถใช้ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์แทนได้ แสดงเป็นหลักฐานยืนยันตัวกับเจ้าหน้าที่ได้เช่นกัน
ใบขับขี่สาธารณะมีอายุการใช้งานเท่ากัน 3 ปี และมีอยู่ 3 ประเภท คือ
  1. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
  2. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ  
  3. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ

 

Getty/ahmet rauf Ozkul

 

ใครบ้างที่ทำใบขับขี่รถสาธารณะ ใบขับขี่แท็กซี่ได้

คนที่จะทำใบขับขี่รถสาธารณะได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. มีใบขับขี่รถส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ มาไม่น้อยกว่า 1 ปี เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถสามล้อส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
  2. ทำใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ เช่น ใบขับขี่แท็กซี่ และรถยนต์สามล้อสาธารณะ ต้องมีอายุ 22 ปีขึ้นไป ส่วนใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
  3. มีความสามารถในการขับรถ และเข้าใจกฏจราจร
  4. ไม่มีโรคประจำตัว และร่างกายไม่พิการจนไม่สามารถขับรถได้
  5. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
  6. ไม่อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
  7. ไม่เคยมีคดีเกี่ยวกับการขับรถ หรือโดนปรับตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
  8. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีต่าง ๆ แต่หากเคยรับโทษ ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
    • กรณีจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    • กรณีจำคุกเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน
    • กรณีจำคุกเกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
    • กรณีอื่น ๆ เช่น โดนปรับ รอลงอาญา รอขึ้นศาล ต้องมีเอกสารทางคดีจากสถานีตำรวจมายืนยันชี้แจงเกี่ยวกับคดีความ

 

หลักฐานประกอบคำขอ

  1. ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล หรือใบแทนใบขับขี่รถดังกล่าว พร้อมด้วยสำเนา แล้วแต่กรณี
  2. บัตรประชาชนฉบับจริง
  3. ใบรับรองแพทย์แสดงว่า ผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด แต่ต้องออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน ตามรูปแบบที่แพทยสภากำหนด (-->ตัวอย่างใบรับรองแพทย์ภาษาไทย

 

การทำใบขับขี่รถสาธารณะ (ขอใหม่)การต่อใบขับขี่รถสาธารณะกรณีใบขับขี่รถสาธารณะหาย
  1. ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
  2. บัตรประชาชนตัวจริง
  3. ใบรับรองแพทย์ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน
  1. ใบขับขี่สาธารณะของเดิม
  2. บัตรประชาชนตัวจริง
  3. ใบรับรองแพทย์ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน
  1. ใบแจ้งความ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นคำร้องขอทำใบขับขี่ใหม่
  2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง

 

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1. จองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกหรือผ่านแอปฯ ทางรัฐ (จองคิวอบรมใบขับขี่)
  2. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
  3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
    • ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
    • ทดสอบสายตาทางลึก
    • ทดสอบสายตาทางกว้าง
    • ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรคเท้า)
  4. อบรม 5 ชั่วโมง สำหรับรถยนต์สาธารณะ และรถยนต์สามล้อสาธารณะ และอบรม 3 ชั่วโมง สำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
  5. การทดสอบภาคทฤษฎี (ข้อเขียน) โดยจะต้องสอบให้ได้ 28 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน
  6. ขอตรวจสอบความประพฤติ หรือประวัติอาชญากร นำหนังสือที่ได้จากกรมการขนส่งทางบกไปยื่นที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วยตนเอง เพื่อดำเนินการตรวจประวัติ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 15-45 วัน โดยจะได้รับการแจ้งผลตรวจทางข้อความ SMS และผลตรวจจะถูกส่งไปที่กรมการขนส่งโดยอัตโนมัติ
  7. ชำระค่าธรรมเนียม (ปิดชำระค่าธรรมเนียม 15.30 น.) / ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่
 
ผู้ขอสามารถไปทำใบขับขี่ได้ที่ สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ โดยเช็กรายชื่อได้จากเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกโดยการทำใบขับขี่รถสาธารณะจะใช้เวลานานกว่าการทำใบขับขี่ส่วนบุคคล แต่ไม่เกิน 2 เดือน เพราะมีขั้นตอนการตรวจประวัติอาชญากรรมกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติรวมอยู่ด้วย
 
สิ่งที่ต้องระวัง
ระยะเวลาในการต่อใบขับขี่ก่อนหมดอายุ โดยต้องไม่ปล่อยให้ใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี หากเกิน 1 ปีไปแล้ว แต่ยังไม่ถึง 3 ปี ต้องทดสอบข้อเขียนอีกครั้ง หากใบอนุญาตชนิดชั่วคราว หรือชนิดส่วนบุคคล ที่นำมายื่นสิ้นอายุเกิน 3 ปี เพิ่มชั้นตอนการสอบขับรถ
 
ข้อมูล https://www.dlt.go.th/th/driving-license/view.php?_did=82

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง