รีเซต

"รู้เท่าทันจิตใจ" กับความเครียดจาก"การเสพข่าวมากเกินไป"

"รู้เท่าทันจิตใจ" กับความเครียดจาก"การเสพข่าวมากเกินไป"
TNN ช่อง16
26 กรกฎาคม 2568 ( 23:34 )
25

ในยุคที่ข่าวสารสามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง เราทุกคนมีโอกาสได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความขัดแย้งและสงครามจากภายในประเทศหรือทั่วโลกอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ตึงเครียดหรือมีภาพข่าวรุนแรง ความรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือหดหู่ จึงกลายเป็นผลกระทบที่หลายคนอาจไม่ทันได้ตระหนักถึง 

 

ขอนำเกร็ดความรู้ดี ๆ  จาก พญ.เต็มหทัย นาคเทวัญ (ว.55098) จิตแพทย์ 

แผนกส่งเสริมสุขภาพจิต โรงพยาบาลนวเวช มาอธิบายเป็นข้อมูลให้ทุกคนได้เข้าใจถึงผลกระทบต่อจิตใจ สัญญาณเตือน และวิธีการจัดการบริหารกับเครียด อาจช่วยให้พบทางออกในการรับมือกับความเครียด และสร้างสุขภาพจิตที่แข็งแรงในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


1. เข้าใจผลกระทบของข่าวสงครามต่อจิตใจ

แม้ว่าเราจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ แต่การเสพข่าวที่มีเนื้อหารุนแรงต่อเนื่อง เช่น ภาพความเสียหาย ความสูญเสีย หรือคำพูดสร้างความเกลียดชัง อาจก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ภาวะเครียดจากการรับรู้ภัยพิบัติ "vicarious trauma” หรือ การไถหน้าจอหาแต่ข่าวร้ายอย่างไม่รู้ตัว จนส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต “doomscrolling” 

2. สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเครียดจากข่าว

-รู้สึกวิตกกังวลมากผิดปกติ

-หลับยาก ฝันร้าย หรือหลับไม่สนิท

-อารมณ์หงุดหงิด ซึมเศร้า หรือหมดแรงจูงใจ

-รู้สึกผิดที่ตัวเองใช้ชีวิตปกติในขณะที่คนอื่นกำลังทุกข์


3. วิธีบริหารความเครียดจากการเสพข่า

- จำกัดเวลาเสพข่าว: กำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนในการติดตามข่าว เช่น วันละ 15-30 นาที

- เลือกแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้: หลีกเลี่ยงข่าวปลอมหรือสื่อที่เน้นการกระตุ้นอารมณ์

- สร้างสมดุลด้วยเนื้อหาบวก: สลับไปดูข่าวดี เรื่องสร้างแรงบันดาลใจ หรือคลิปเบาสมอง

- ฝึกสติและการหายใจลึก: เทคนิคง่ายๆ เช่น หายใจเข้า-ออกช้าๆ 5 นาที ช่วยให้ใจสงบ

- ใช้พลังไปในทางที่ดี: หากรู้สึกอยากช่วยเหลือ อาจบริจาคเงิน หรือสนับสนุนองค์กรช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ

4. หมั่นดูแลตัวเอง

-พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

-พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ ไม่เก็บทุกอย่างไว้คนเดียว

-หากความเครียดกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษานักจิตวิทยาหรือผู้ชำนาญการเฉพาะทาง


การเสพข่าวสารเป็นสิ่งสำคัญ แต่การดูแลใจตัวเองก็สำคัญไม่แพ้กัน

ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน อย่าลืมให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของคุณเองด้วยความเข้าใจและเมตตาต่อตนเอง ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ แผนกส่งเสริมสุขภาพจิต โทร. 1507 I Line: @navavej

ข่าวที่เกี่ยวข้อง