รีเซต

เช็ก 5 กลุ่มเฝ้าระวัง โควิด-19 #เราติดยังนะ

เช็ก 5 กลุ่มเฝ้าระวัง โควิด-19 #เราติดยังนะ
TNN ช่อง16
8 ธันวาคม 2563 ( 10:59 )
286
เช็ก 5 กลุ่มเฝ้าระวัง โควิด-19 #เราติดยังนะ

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาการ คณบดีคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มเฝ้าระวังโควิด-19 โดยระบุว่า โรคนี้  80 เปอร์เซ็น ไม่มีอาการ หรือ มีอาการน้อย กลุ่มที่มีอาการหนักมีอยู่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มที่อาการหนักที่สุดประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีโควิด-19 อยู่ในตัวแต่ไม่แสดงอาการ


ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ยังระบุอีกว่าจนถึง ณ วันนี้ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยอย่างเดียว ในหลากหลายประเทศจะจัดแบ่ง คนในประเทศออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆอันนี้ในกรณี เกิดวิกฤตโควิด ในประเทศนั้นๆ  




1.ผู้ป่วยโควิด-19 

คือกลุ่มที่พิสูจน์แล้ว ว่าเป็นโควิด-19 กลุ่มพวกนี้จะต้องพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการ ณ วันนี้ ยังเป็น Gold standard หรือเป็นการตรวจสอบมาตรฐานหลัก คือการทำการศึกษา ดูระดับพันธุกรรมของไวรัส เทคโนโลยีเรียกว่า RT-PCR ให้ข้อมูลนิดนึงว่า น้ำยาในการตรวจ เราไม่มีล้นหลามมาก เรามีอยู่ในระดับหนึ่ง ถึง ณ วันนี้. หลายๆโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย รวมทั้งกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขก็ผลิตน้ำยานี้ได้แล้ว เราก็ใช้มันในการตรวจ แต่ขณะเดียวกันถ้าจะตรวจทั้งหมดทั้งประเทศ น้ำยานี้ไม่เพียงพอแน่นอน เพราะฉะนั้นมันมีกระบวนการว่า เมื่อไรควรตรวจ เมื่อไรไม่จำเป็นต้องตรวจ


2.กลุ่มน่าสงสัยแต่ตรวจไม่พบเชื้อ

 กลุ่มที่สงสัยน่าจะเป็นแต่ผลการตรวจยังไม่เจอเชื้อ การตรวจที่เรียกว่า RT-PCR ยังไม่เจอ เช่นมีอาการของระบบทางเดินหายใจ อาจจะมีประวัติการเดินทางมาจากพื้นที่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งวันนี้กลุ่มเสี่ยงกระจัดกระจายไปหมดแล้ว


กลุ่มแบบนี้เราต้องเข้าใจหลักความจริงไว้ว่า การทำ Swab ที่เรียกว่า Nasopharyngeal Swab คือการป้ายบริเวณหลังจมูก เพื่อกลับมาดูว่ามันจะมีไวรัส เหล่านี้อยู่หรือเปล่า โดยเฉพาะ 48 ชั่วโมงแรก อาจไม่เจอ เพราะฉะนั้นการไม่เจอ ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีแน่นอน เพียงแต่บอกว่าแล็บไม่เจอในเวลานั้น แต่ว่าถ้าสงสัยเมื่อไร กลุ่มพวกนี้เราดูแลอีกแบบหนึ่ง

 

3. กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 

 กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่ได้มีโอกาสไปสัมผัส กับคนที่พิสูจน์แล้วว่าเป็น แต่ตัวเขายังไม่เป็น เราจะต้องติดตามดูเหมือนกัน เพราะกลุ่มเหล่านี้เราไม่รู้ว่า จริงๆเขาได้เชื้อมาหรือไม่ได้เชื้อมา และเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีอาการอะไร เราเรียกว่า การทำ Quanrantine ที่ให้ไปอยู่กับบ้าน 14 วัน ติดตามดูเฉยๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล

 

4.กลุ่มแฝงไม่แสดงอาการ

 เป็นกลุ่มที่ไม่รู้อะไรเลย คนไทยส่วนใหญ่ในประเทศนี้จำนวนไม่น้อย  ก็ไม่ได้มีอาการอะไร ไม่ได้ไปพื้นที่กลุ่มเสี่ยง แล้วก็ไม่ได้มาตรวจอะไร กลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเยอะ กลุ่มพวกนี้ในสังคมจริงๆเราก็ตอบไม่ได้ ว่าในสังคมจริงๆแล้ว มีคนที่มีโควิดบวกอยู่ในพื้นที่ตรงนั้นหรือเปล่า ถ้าสมมุติมีจริง คนเหล่านี้ก็อาจจะเดินออกไป แพร่เชื้อไปที่ไหนก็ได้ เพราะคนเหล่านี้ไม่มีอาการ

 

ขอย้ำอีกครั้งว่า โควิด-19 80 เปอร์เซ็นต์ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย มีที่หนักมากๆ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ หนักสุดๆไปประมาณ 5 เปอร์เซ็น ต้องการให้รู้ว่ามีคนจำนวนไม่น้อย ที่มีโควิด-19 อยู่ในตัวแล้วเดินไปเดินมา โดยที่ตัวเองไม่รู้ด้วยซ้ำ คนเหล่านี้ ไม่ได้ตั้งใจแพร่เชื้อ แต่เพราะความไม่รู้ 

 

5.กลุ่มรักษาหาย

 กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่เป็นโควิด-19 แล้ว แล้วก็รอดชีวิต กลุ่มเหล่านี้ จะมีภูมิต้านทานขึ้น ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ในเวลานี้ภูมิต้านทานในตัวเขา จะช่วยป้องกันอยู่ในระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มเหล่านี้จะกลายเป็นกองทัพที่สำคัญในอนาคต เพราะคนเหล่านี้ไม่ต้องกลัวการติดเชื้อ เพราะมีภูมิต้านทานแล้ว 

 

หน้าที่ของคนไทยทั้งประเทศ

 วิธีทางเดียวที่จะแก้ได้คือต้องปรับยุทธศาสตร์ใหม่ คิดว่ายุทธศาสตร์ที่สำคัญเวลานี้ คือการลดจำนวนคนไข้ให้ลดลงให้ได้ และการลดลง การทำหน้าที่นี้ คือหน้าที่ของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่หน้าที่รัฐบาลอย่างเดียว ไม่ใช่หน้าที่ของผู้บริหารจังหวัดอย่างเดียว ไม่ใช่หน้าที่ของแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์อย่างเดียว เป็นหน้าที่ของคนไทยทั้งประเทศ 


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง