รีเซต

นักวิจัยจีนพบหลักฐาน 'การค้าเครื่องหอม' บนเส้นทางสายไหมโบราณ

นักวิจัยจีนพบหลักฐาน 'การค้าเครื่องหอม' บนเส้นทางสายไหมโบราณ
Xinhua
23 พฤษภาคม 2565 ( 22:16 )
43
นักวิจัยจีนพบหลักฐาน 'การค้าเครื่องหอม' บนเส้นทางสายไหมโบราณ

ซีอัน, 23 พ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยจีนดำเนินการวิเคราะห์ทางเคมีกับเครื่องหอมที่ค้นพบจากวังใต้ดินยุคราชวงศ์ถัง (ปี 618-907) และพบหลักฐานทางโบราณคดีของการค้าเครื่องหอมตามแนวเส้นทางสายไหมโบราณ

 

การศึกษาร่วมโดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (UCAS) พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (Palace Museum) และพิพิธภัณฑ์วัดฝ่าเหมิน ได้รับการเผยแพร่ทางออนไลน์ในวารสารโพรซีดดิงส์ ออฟ เดอะ เนชันนัล อคาเดมี ออฟ ไซเอนส์ (Proceedings of the National Academy of Sciences)คณะนักวิจัยวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องหอม 3 รายการ จากวังใต้ดินในวัดฝ่าเหมิน ซึ่งเป็นวัดทรงอิทธิพลที่ตั้งอยู่ในมณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือ และโด่งดังเนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) อันศักดิ์สิทธิ์ของสรีระพระพุทธเจ้าเริ่นเหมิง นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์พระราชวัง กล่าวว่าสารที่มีกลิ่นหอมสีเหลืองจากตัวอย่างหนึ่งถูกระบุเป็นเอเลมี (elemi) ซึ่งพบได้ทั่วไปในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน โดยเป็นหลักฐานรูปธรรมชิ้นแรกของเอเลมีในยุคราชวงศ์ถังที่พบในจีนตัวอย่างอีกหนึ่งรายการถูกระบุเป็นส่วนผสมของไม้กฤษณาและกำยาน ซึ่งเป็นหลักฐานอันเก่าแก่ที่สุดของเหอเซียงหรือการผสมหลายกลิ่นหอมในยุคจีนโบราณเริ่นกล่าวว่ากำยานกระจายอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเลแดง คาบสมุทรอาหรับ และอินเดีย โดยการศึกษาพบว่ากำยานและผลิตภัณฑ์กำยานถูกนำมาใช้ในนครฉางอันในยุคราชวงศ์ถัง ซึ่งปัจจุบันคือนครซีอันการวิจัยนี้ยืนยันว่าวัตถุที่มีกลิ่นหอมที่พบในวัดถูกนำเข้าจากต่างประเทศสู่นครฉางอัน เมืองหลวงในยุคจีนโบราณ ผ่านเส้นทางสายไหมทางบกหรือทางทะเล และใช้สำหรับบูชาสรีระพระพุทธเจ้าในวังใต้ดินหยางอี้หมิน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฯ กล่าวว่านี่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ความรุ่งเรืองของเส้นทางสายไหม การค้าเครื่องหอมที่เฟื่องฟู และการพัฒนาพระพุทธศาสนาในช่วงเวลานั้น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง