รีเซต

กรมการปกครอง มอบรางวัล อ.บ้านนา นครนายก ในโครงการ ”อำเภอสร้างสุข สุขสร้างได้” ทั่วประเทศ

กรมการปกครอง มอบรางวัล อ.บ้านนา นครนายก ในโครงการ ”อำเภอสร้างสุข สุขสร้างได้” ทั่วประเทศ
มติชน
24 พฤศจิกายน 2564 ( 13:43 )
150

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน กรมการปกครอง ทำโครงการ”อำเภอสร้างสุข สุขสร้างได้” ทั่วประเทศ ขณะที่อำเภอบ้านนา ได้รับรางวัลเป็นที่แรก เนื่องจากมีมาตรฐานในการทำงานตามยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนองค์กรผ่าน 10 โครงการสำคัญ มุ่งหวังให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย เป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) โดยกรมการปกครองส่งเสริมให้ที่ว่าการอำเภอทุกแห่งทั่วประทศ เป็นสถานที่ให้บริการและช่วยเหลือประชาชน ทำให้ประชาชน “ทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น”

 

ล่าสุด ที่ว่าการอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง และคณะเข้ารับฟังบรรยายสรุปบทบาทของฝ่ายปกครองในการสนับสนุนการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการสำคัญของกรมการปกครองประจำปีงบประมาณ พ.ส. 2564 โดยมีนางวจิราพร อมาตยกุล นายอำเภอบ้านนา บรรยายสรุป ข้อมูลพื้นฐานอำเภอบ้านนา บทบาทของฝ่ายปกครองอำเภอบ้านนา ในการบริการสถานการณ์โรคติดต่อเชื้อ -ไวรัสโคโรน่า 2019 ในพื้นที่ รวมถึง Best Practices การขับเคลื่อนโครงการสำคัญของกรมการปกครอง ประจำปี งบประมาณ พ.ส. 2564 ( Flagships to DOPA ALL Smart 2022 ) การพัฒนามาตรฐานการให้บริการประชาชนตามแนวทางศูนย์ราชการสะดวก อำเภอบ้านนา จากนั้น อธิบดีกรมการปกครอง มอบนโยบายและแนววทางปฏิบัติให้แก่พนักงานฝ่ายปกครอง และได้ตอบข้อซักถามในประเด็นต่างๆ

 

1.โครงการสำคัญสู่การเป็นกรมการปกครองวิถีใหม่ (10 Flagships to DOPA New Normal 2021) ต่อเป้าหมายการขับเคลื่อนงานบริการประชาชน ผ่านหน่วยบริการของกรมการปกครอง โดยเฉพาะที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ


กรมการปกครอง มียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนองค์กรผ่าน 10 โครงการสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมสถาบันหลักของชาติ, การยกระดับงานบริการ และ การสร้างความเข้มแข็งระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ จึงเห็นได้ว่า การให้บริการประชาชน ถือเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนองค์การในยุค New Normal โดยยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง มุ่งหวังให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย เป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) โดยกรมการปกครองส่งเสริมให้ที่ว่าการอำเภอทุกแห่งทั่วประทศ เป็นสถานที่ให้บริการและช่วยเหลือประชาชน ทำให้ประชาชน “ทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น”

 

2.ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ส่งผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ และสังคม ความท้าทายเหล่านี้ ที่ว่าการอำเภอ ในฐานะหน่วยให้บริการใกล้ชิดประชาชน มีการปรับตัวอย่างไร ทุกหน่วยงานของรัฐได้ปรับตัวจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างมาก เช่นเดียว กับกรมการปกครอง ที่มีภารกิจด้านความมั่นคง การให้บริการประชาชน การกำหนดเป้าหมายผ่าน 10 โครงการสำคัญฯ ของกรมการปกครอง ถือเป็นสิ่งที่กรมการปกครองได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานในสังกัด โดยเฉพาะที่ทำการปกครองอำเภอ ทั้ง 878 แห่ง มีเป้าหมายการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน เพราะไม่เพียงที่ข้าราชการ บุคลากร จะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ แต่การปรับตัวให้งานบริการสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก โดยจะเห็นได้จากหนึ่งในโครงการสำคัญ อย่าง “โครงการอำเภอ..วิถีใหม่” ที่นำนวัตกรรมที่เหมาะสมมาปรับให้งานบริการมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นต้น

 

3.ที่มาโครงการ “อำเภอสร้างสุข” โครงการอำเภอสร้างสุข ถือเป็นโครงการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2563 ที่มีเป้าหมาย ให้ที่ว่าการอำเภอ เป็นศูนย์กลางของการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ผ่านงานบริการ การให้ความช่วยเหลือประชาชน โครงการอำเภอสร้างสุข จึงเป็นการฟังเสียงประชาชน ผ่านคำติชม ข้อเสนอแนะ ที่สามารถสื่อสารโดยตรงมายังกรมการปกครอง เพื่อให้พวกเราสามารถนำมาพัฒนามาตรฐานงานบริการประชาชนให้ดี

 

4.ความแตกต่าง รูปแบบกิจกรรม และความคาดหวังของโครงการ “อำเภอสร้างสุข” ปี 2564
โครงการอำเภอสร้างสุข ปี 2564 กรมการปกครองปรับรูปแบบให้เข้าถึงประชาชนที่มาใช้บริการตรง ณ ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงเป้าหมายเดิมคือ การรับฟังเสียงของประชาชน ต่อการให้บริการของแต่ละที่ว่าการอำเภอ ซึ่งประชาชนสามารถร่วมกิจกรรมได้เพียงสแกน QR Code ในแต่ละอำเภอ หรือแอดไลน์ @amphoesangsook เพื่อโหวตให้คะแนน ‘ความสุข’ ประเมินความพึงพอใจระดับ 1-5 และสามารถเขียนคำติชม ข้อเสนอแนะต่องานบริการเพิ่มเติมได้ ซึ่งผลคะแนนจะถูกนำมาคิดค่าเฉลี่ยดัชนีความสุขของประชาชน เพื่อจัดอันดับอำเภอที่บริการประทับใจประชาชน แสดงผลผ่านเว็บไซต์อำเภอสร้างสุข.com (amphoesangsook.com) และข้อมูลจากประชาชนทั้งหมด 878 อำเภอ ก็จะถูกรวบรวมมายังส่วนกลางของกรมการปกครอง เพื่อนำมาประเมินและพัฒนางานบริการต่อไป

 

5. ถือได้ว่า “อำเภอสร้างสุข” เป็นหนึ่งในพื้นฐานความสำเร็จของมาตรฐาน GECC จากศูนย์ราชการสะดวกสังกัดกรมการปกครอง ที่ได้รับรางวัลในปีนี้ใช่หรือไม่

 

ศูนย์ราชการสะดวกในสังกัดกรมการปกครอง ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GECC ระดับพื้นฐาน (โล่สีฟ้า) มีจำนวนทั้งสิ้น 27 ศูนย์ ในพื้นที่ 24 อำเภอ 20 จังหวัด ศูนย์ที่ได้รับมาตรฐาน GECC ต้องมีมาตรฐานการให้บริการ การอำนวยความสะดวกต่อพี่น้องประชาชน ซึ่งถือเป็นหัวใจเดียวกับโครงการอำเภอสร้างสุข ที่ยึดประชาชนเป็นที่ตั้งในการให้การบริการ
ยกตัวอย่าง “สำนักทะเบียนอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก” ที่ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริการ รวมถึงรูปแบบการให้บริการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริการประชาชนมุ่งไปสู่ศูนย์ราชการสะดวก

 

6. อยากให้เล่าถึงเป้าหมายต่อไปของในปีงบประมาณ 2565 นี้
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จะขับเคลื่อนและกำหนดทิศทางองค์การ ผ่านโครงการ “10 Flagships to DOPA All Smart 2022” สำหรับเป็นทิศทางและแผนงานสำคัญ ในการปฏิบัติราชการ ผ่านค่านิยมองค์กร “หน้าที่ของฝ่ายปกครอง คือ ทำให้ประชาชน ทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น” ตามปัจจุบันสมัย ซึ่งกระผมได้ริเริ่มและยึดถือให้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติราชการของบุคลากรฝ่ายปกครอง และใช้เป็นค่านิยมร่วมกัน (Shared Values) ในการนำองค์การแห่งนี้

 

กรมการปกครองมีความตั้งใจที่จะให้ทุกการบริการที่ประชาชนจะได้รับสร้างความสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชนอย่างแท้จริง เสียงสะท้อนของประชาชนในมิติต่างๆ ทางกรมการปกครอง ยินดีและน้อมรับเพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนา เพื่อเป้าหมายของกรมการปกครอง ที่จะทำให้ประชาชน ทุกข์น้อยลง และมีความสุขมากขึ้น

 

กรมการปกครอง ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการสำคัญของกรมการปกครอง (10 Flagships to DOPA All Smart 2022) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อให้ฝ่ายปกครองของเรามีทิศทาง และแนวทางการขับเคลื่อนงานที่ชัดเจนอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม ภายใต้กรอบการทำงานใน 4 ส่วนสำคัญ ประกอบด้วย 10 โครงการ ได้แก่

 

ส่วนที่ 1 : E – DOPA Heart การส่งเสริมสถาบันหลักของชาติเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการจิตอาสาพระราชทาน
(2) การขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(3) การปกป้องเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ

 

ส่วนที่ 2 : E – DOPA Services การยกระดับงานบริการประชาชนเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่
(4) ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ “อำเภอดำรงธรรม”
(5) อำเภอ..วิถีใหม่
(6) สัญชาติและสถานะบุคคล

 

ส่วนที่ 3 : E – DOPA Sustainability การสร้างความเข้มแข็งระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ เพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย ๓ โครงการ ได้แก่
(7) แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง “หมู่บ้าน อยู่เย็น”
(8) อำเภอมั่นคง ปลอดภัย
(9) อำเภอมั่งคั่ง

 

ส่วนที่ 4 : E – DOPA Digitalization การพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนบนฐานการทำงานแบบดิจิทัล ได้แก่
(10) DOPA All Smart ผ่านการปรับโฉมการทำงาน ๔ มิติ ได้แก่
– งาน E-DOPA Smart Management – งบ E-DOPA Smart Budgeting – ระบบ E-DOPA Smart Offic – คน E-DOPA Smart Human

 

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนโครงการฯ ใช้รูปแบบการดำเนินงานโดยสำนัก/กอง เป็นผู้รับผิดชอบ ในแต่ละโครงการตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ โดยกรมการปกครองได้จัดทำ “แผนปฏิบัติการ (Action Plan)” เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับการขับเคลื่อนโครงการสำคัญฯ เพื่อให้ทุกส่วนราชการ ทั้งสำนัก/กองในส่วนกลาง ที่ทำการปกครอง และอำเภอ ทราบเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน
(แนวทางการขับเคลื่อน) โดยการขับเคลื่อนโครงการสำคัญของกรมการปกครอง (10 Flagships to DOPA All Smart 2022) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256๕ กรมการปกครอง ได้นำหลักการของ The Ease of Doing Business ของธนาคารโลก (World Bank) มาปรับใช้ในการกำหนดโครงการสำคัญฯ ดังกล่าว และขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้ Easier/Cheaper/Faster/Smarter ร่วมกับสำนัก/กองที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทาง การดำเนินงาน ให้ส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีเป้าหมายและวิธีการดำเนินงานร่วมกันในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”

 

สำหรับจุดเน้นสำคัญ ในการขับเคลื่อนโครงการสำคัญของกรมการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คือ การมุ่งเน้นและพัฒนาการทำงานบนฐานการทำงานในรูปแบบดิจิทัล (E-DOPA Digitalization) โดยกำหนดเป้าหมายให้ทุกสำนัก/กอง พัฒนาระบบการให้บริการในภารกิจของสำนัก/กอง โดยมีเป้าหมาย คือ 1 สำนัก/กอง 1 ระบบการให้บริการในรูปแบบออนไลน์ หรือ OBOES (One Bureau One E-Service)

 

กรมการปกครอง ได้นำแนวคิดการพัฒนาหน่วยงานให้เป็นองค์การภาครัฐในระบบราชการ 4.0 มาใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนองค์การ และเป็นแนวทาง “การสร้างสภาพแวดล้อมให้กับองค์การเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ” ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์การ กรมการปกครอง จึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การในด้านการสร้างนวัตกรรม และการปรับสู่ความเป็นดิจิทัล ทั้งภายใน คือ การจัดการภายในองค์การ (Internal) โดยทำให้กรมการปกครองเป็น DOPA Smart Office และใช้ Digital Technology ในการทำงาน เพื่อพัฒนาให้เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้วยระบบดิจิทัลที่ตรงกับความต้องการของประชาชน ในยุคสมัยใหม่ (DOPA Digital Office) และภายนอก คือ การให้บริการประชาชน (External) ในมิติของ “การทำให้ประชาชนทุกข์น้อยลง” ในรูปแบบของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเชิงรุกที่รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ผ่านระบบออนไลน์ (Online) และในมิติของการทำให้ประชาชนมี “ความสุขมากขึ้น” กรมการปกครองจะพัฒนา Platform กลางให้บริการภาครัฐผ่านระบบ Online และพัฒนางานบริการทั้งหมดให้เป็น e-Service เต็มรูปแบบ

 

ท้ายที่สุดนี้ กรมการปกครอง มุ่งมั่นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมขององค์การ มุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีผลการปฏิบัติงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง บริหารความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์การ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (Better Governance, Happier Citizens) นำไปสู่การเป็นองค์การที่น่าเชื่อถือไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง (Credible and Trusted Government)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง