รีเซต

ถก ศบค.11 ก.พ. สธ.แจงสถานการณ์โควิด-วัคซีน ยันไม่ผ่อนผับบาร์

ถก ศบค.11 ก.พ. สธ.แจงสถานการณ์โควิด-วัคซีน ยันไม่ผ่อนผับบาร์
มติชน
7 กุมภาพันธ์ 2565 ( 13:23 )
36
ถก ศบค.11 ก.พ. สธ.แจงสถานการณ์โควิด-วัคซีน ยันไม่ผ่อนผับบาร์

วันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2565) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ สธ. เปิดเผยการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์สถานการณ์โรคโควิด-19 (ศบค.) ที่มีกำหนดจะประชุมในวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ ว่า ในการประชุม ศบค. ครั้งล่าสุดนี้ เท่าที่ทราบยังไม่มีการพิจารณาผ่อนคลายมาตรการอะไรมาก

 

“แต่เห็นพาดหัวข่าวบางสื่อระบุว่า จะมีการผ่อนคลายแบบจัดเต็ม ซึ่งไม่ใช่แน่นอน เพราะวันนี้ยังมีการติดเชื้ออยู่ แต่เราอาจจะปรับปรุงรูปแบบการายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อ เพื่อให้ความวิตกกังวลของประชาชนลดน้อยลง ซึ่งการรายงานของ สธ.นั้นอิงตามหลักการสากล เป็นข้อเท็จจริงทุกประการ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ และใช้ชีวิตเป็นปกติมากที่สุด เราไม่สามารถบอกล็อกดาวน์หรืออะไรได้ ตอนนี้เหลือแต่ผับ บาร์ คาราโอเกะ เท่านั้นที่ยังไม่ได้เปิดให้บริการ ดังนั้น หากเราให้ความร่วมมือต่อไป อย่ารวมตัวกันมากเกินไป ระวังตัวเองตลอดเวลา ก็น่าจะควบคุมสถานการณ์ได้” นายนอนุทิน กล่าว

 

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้รอการนัดประชุม ศบค. อีกครั้งแต่หลักๆ จะมีการรายงานสถานการณ์ของโรค การฉีดวัคซีน การปรับพื้นที่ และรายงานคนเดินทางเข้าประเทศ แต่แนวโน้มเป็นอย่างไร ขอเวลาเพื่อหารือร่วมกับอีกหลายฝ่าย

 

“ส่วนสถานการณ์โควิด-19 ขณะนี้ ทั่วโลกก็ผ่อนคลายมากขึ้น หากเราจะเข้มขึ้นก็อาจดูแปลกๆ แต่ถ้าเราผ่อนมาก ก็อาจจะไม่สอดรับกับตัวเลขที่กำลังเพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อมีหลายประเด็น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาประเด็นใดมาอธิบาย เราต้องมูฟออนจากการติดกับดักโควิด-19 มาตั้งแต่ปี 2020 โควิด-19 วันนี้เชื้อไวรัสเปลี่ยน คนมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้มากขึ้น หากเรายังทำแบบเดิม ก็อาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ การที่เราจะปรับให้เป็นโรคประจำถิ่น ก็จะรายงานผู้เสียชีวิต ผู้ที่เข้าโรงพยาบาล (รพ.) อย่างไข้หวัดใหญ่ ที่ไม่ได้มีการรายงานทุกราย ซึ่งขณะนี้โควิด-19 ก็คล้ายไข้หวัดใหญ่เข้าไปทุกที ขณะนี้ผู้อาการหนักไม่ถึงร้อยละ 1 ที่เหลืออาการน้อยมาก ซึ่งคนติดเชื้อ รวมทั้ง รพ.และรักษาที่บ้าน ประมาณ 5 หมื่นราย มีปอดอักเสบ 500 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 100 ราย ไม่ถึงร้อยละ 1 จึงเหมือนไข้หวัดใหญ่เข้าไปทุกที นี่เป็นวิธีทำเป็นโรคปกติ เป็นโรคประจำถิ่น” นพ.โอภาส กล่าว

 

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ส่วนการปรับรายงานตัวเลขนั้น ก็มีความเห็นต่างกัน บางคนก็มองว่ารายงานตัวเลขติดเชื้อใหม่ ก็อาจไม่มีประโยชน์ ซึ่งบางคนก็อาจจะไม่เห็นด้วย ดังนั้น จึงต้องเอาแบบกลางๆ ปรับให้เข้ากับสถานการณ์ ฉะนั้น เวลาปรับระบบอะไรก็ต้องใช้เวลา

 

“ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนไปรับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ซึ่งไม่ว่าจะจะเป็นสูตรไหน ก็พบว่าประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน โดยประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อร้อยละ 60-70 ป้องกันการเสียชีวิตได้ร้อยละ 96-98 ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยสามารถควบคุมเชื้อโอมิครอนได้ดี เชื่อว่าเป็นเพราะฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเร็ว ส่วนกรณีเข็มที่ 4 ที่ประชาชนบางคนอยากฉีด บางคนไม่อยากฉีดนั้น ถ้าถามว่า ยังจำเป็นหรือไม่ ขณะนี้ สธ.ได้ออกนำแนะนำให้ฉีดในพื้นที่เสี่ยง พื้นที่สีฟ้า เป็นอันดับแรก ทั้งนี้ การพิจารณาดูจาก 4 อย่าง คือ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สถานการณ์การระบาด และความสามารถในการบริหารจัดการวัคซีน ทั้งนี้ สำหรับวัคซีนไฟเซอร์เด็ก 5-11 ปี นั้น สัปดาห์หน้าเป็นต้นไปจะทยอยเข้ามาสัปดาห์ละ 5 แสนโดส

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง