รีเซต

คิดเห็นแชร์ : ตัวอย่างการพัฒนาไฟฟ้า ในเกาะและพื้นที่ห่างไกลในอินโดนีเซีย

คิดเห็นแชร์ : ตัวอย่างการพัฒนาไฟฟ้า ในเกาะและพื้นที่ห่างไกลในอินโดนีเซีย
มติชน
10 ตุลาคม 2563 ( 12:05 )
98
คิดเห็นแชร์ : ตัวอย่างการพัฒนาไฟฟ้า ในเกาะและพื้นที่ห่างไกลในอินโดนีเซีย

คิดเห็นแชร์ : ตัวอย่างการพัฒนาไฟฟ้า ในเกาะและพื้นที่ห่างไกลในอินโดนีเซีย

 

ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศใหญ่อันดับ 14 ของโลกในเชิงของขนาดพื้นที่แต่เป็นลำดับที่ 4 ในเชิงประชากรที่มีมากกว่า 267 ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 ของอาเซียน แต่เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะต่างๆ รวมกันถึง 10,000 กว่าเกาะ ส่วนใหญ่เป็นเกาะที่มีสภาพเป็นภูเขาหรือภูเขาไฟเสียส่วนใหญ่

 

ในเรื่องของพลังงาน ทางอินโดนีเซียก็ถือเป็นที่หนึ่งในอาเซียนเพราะมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ส่วนพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่อย่างมากมาย ได้แก่ ไฟฟ้าพลังน้ำ ไฟฟ้าจากความร้อนใต้พิภพ และการผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของอินโดนีเซียมีสูงถึงเกือบ 45,000 MW และมีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ที่ 69,600 MW แต่ส่วนใหญ่กำลังการผลิตไฟฟ้านี้จะอยู่ในเกาะใหญ่ๆ เช่น เกาะชวา, สุมาตรา, บอเนียว และบาหลี ส่วนเกาะอื่นๆ เช่น เกาะสุราเวสี, ปาปัว และหมู่เกาะเล็กๆ ในทะเลชวาตะวันออก ยังมีการพัฒนาระบบไฟฟ้าที่ไม่เต็มรูปแบบนัก การจำหน่ายไฟฟ้ายังไม่ทั่วถึงชุมชนในเกาะเล็กๆ น้อยๆ ยังต้องจำทนใช้การปั่นไฟ จากน้ำมันดีเซลเสียเป็นส่วนใหญ่

 

แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียได้ตื่นตัว และเร่งรัดนโยบายการกระจายระบบไฟฟ้าไปยังพื้นที่ห่างไกลอย่างเร่งด่วน ทำให้ร้อยละของประชากรที่มีไฟฟ้าใช้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากประมาณเพียง 67% ในปี 2010 มาเป็น 98.90% ในปี 2019 (ของไทยอยู่ที่ 99.79%) ซึ่งถือได้ว่าอินโดนีเซียประสบความสำเร็จมากทีเดียวในประเด็นนโยบายนี้ โดยนโยบายดังกล่าวใช้ชื่อว่า “EnDev Indonesia” หรือ Energizing Development Indonesia ที่มุ่งพัฒนาระบบ และพัฒนาคนเพื่อการดูแลรักษาระบบ “Mini Grid” ทั่วประเทศโดยอินโดนีเซียมีระบบ Mini Grid ประมาณ 1,036 แห่ง (605 ใช้ระบบ Solar PV และ 429 แห่งใช้ไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋ว) โดยทำให้ผู้คนร่วมล้านชีวิตมีระบบไฟฟ้าใช้ที่มั่นคง ในต้นทุนที่ต่ำลง

 

นโยบาย EnDev ใช้กลไก 3 เรื่อง ประกอบกันอย่างสมดุล
– Government Financed (รัฐ ลงทุนบางส่วน (ส่วนใหญ่))
– Community Managed (ชุมชนบริหารจัดการ)
– Private Sector Constructed (เอกชนร่วมทุน)

โดยในแต่ละภาคส่วนมีสัดส่วนการร่วมลงทุนที่ยืดหยุ่น แต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน แต่โดยประมาณจะลงทุนกันในสัดส่วน 60 : 20 : 20 (รัฐ : ชุนชน : เอกชน) และมีกลไกคืนต้นทุนให้เอกชนผ่านการจัดเก็บค่าไฟที่ไม่แพงเกินไป โดยให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการกันเองได้และที่สำคัญมีกฎหมายรองรับ…

ผมว่าเราน่าจะไปดูอย่างที่อินโดนีเซียกันบ้างนะครับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง