รีเซต

ติดโอไมครอน ทำอย่างไร? เช็ก "อาการโอไมครอน" แยกจากหวัดยาก ต้อง "ตรวจ ATK" ซ้ำแค่ไหน

ติดโอไมครอน ทำอย่างไร? เช็ก "อาการโอไมครอน" แยกจากหวัดยาก ต้อง "ตรวจ ATK" ซ้ำแค่ไหน
Ingonn
6 มกราคม 2565 ( 14:38 )
32.2K

สถานการณ์โควิด-19 โอไมครอน หรือ โอมิครอน แพร่ระบาดอย่างมาก ทำให้มีผู้ติดเชื้อโอไมครอนในไทย เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยอาการโอไมครอน ที่มีความใกล้เคียงคล้ายไข้หวัด และเครื่องวัดอุณหภูมิ วัดไข้ ตามห้างสรรพสินค้า ไม่สามารถคัดกรอง โอไมครอนได้อีกแล้ว ทำให้อาการโควิด19 ที่เกิดขึ้น กลายเป็นเรื่องที่เราต้องสังเกตตัวเองมากขึ้น

 

 

วันนี้ TrueID จะมาแนะนำวิธีการเช็กตัวเองในกรณีที่เรามีความเสี่ยง หรือสงสัยว่า "ติดโอไมครอน" มีอาการอย่างไร ต้องทำอย่างไรต่อไป เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันโควิด-19 และรักษาตัวกัน

 

"โอไมครอน" ส่งผลอย่างไรกับไทย


ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ระบุว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่การระบาดระลอกที่ 5 (เวฟ 5) แล้ว หากการระบาดเป็นไปตามฉากทัศน์ที่กรมควบคุมโรค สธ.ประเมินว่าอาจมีผู้ติดเชื้อสูงสุดถึงวันละ 30,000 ราย แต่กรมการแพทย์จะมีเตียงเพียงพอในการรักษา

 

โอมิครอน จะเริ่มส่งผลให้จำนวนการติดเชื้อในภาพรวมของประเทศมากขึ้น  แต่ยังไม่ส่งผลต่อจำนวนการเสียชีวิต การติดเชื้อโควิดวันนี้ 70-80% ยังเป็นเดลตา ซึ่งยังมีผลทำให้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม 608 คนสูงอายุ คนมีโรคประจำตัว

 

รอบนี้จะเกิดการระบาดในเด็กมาก เพราะยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็มแล้ว ก่อนวันที่ 1 พ.ย. 64 ให้รีบไปฉีดวัคซีนบูสเตอร์หรือเข็ม 3 ได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน ส่วนบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ด่านหน้า ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่ฉีดเข็ม 3 แล้วเกิน 3 เดือน ให้เข้ารับเข็ม 4 ได้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโควิดสายพันธุ์โอมิครอน แต่ย้ำว่าอาการไม่รุนแรง หากไม่มีโรคประจำตัว 

 

การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโควิด-19 สายพันธุ์ เดลต้า และ โอไมครอน ทั่วโลกเปรียบเสมือน “สึนามิ” องค์กรอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า หากสามารถฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรทั่วโลกได้ร้อยละ 70 จะสามารถช่วยให้การหยุดยั้งการแพร่ระบาดเร็วขึ้น และอาจสิ้นสุดในปลายปี 2565 แต่เชื้อโควิด-19 จะยังคงอยู่ต่อไป

 

อาการโควิด 19 "โอไมครอน"

กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ระบุว่า อาการโอไมครอนของผู้ป่วย ไม่รุนแรงมาก เบื้องต้นอาการไม่แตกต่างจากโควิด คือ ส่วนใหญ่มีอาการการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ เจ็บคอ ไอแห้งๆ ไข้ ระยะแพร่เชื้ออยู่ที่ 2-3 วันก่อนมีอาการ และ 3-5 วันหลังมีอาการ บางรายมีอาการปอดอักเสบ แต่ไม่มาก ซึ่งการรักษาด้วยยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ หลังมีอาการภายใน 3 วัน ช่วยได้ทำให้ผู้ป่วยอาการหายเป็นปกติ

 

โดยในจำนวน 41 ราย เราพบมีอาการไข้ 29% อาการไอ 54% เจ็บคอ 37% ส่วนเรื่องกลิ่น หรือรับรสก็ไม่ใช่อาการมาก แตกต่างจากโควิดที่ผ่านมา ซึ่งอาการจะแยกจากหวัดทั่วไปยาก 


เช็ก 8 อาการโอไมครอน ล่าสุด

  1. อาการไอ 54%
  2. เจ็บคอ 37%
  3. มีไข้ 29%
  4. ปวดกล้ามเนื้อ 15%
  5. มีน้ำมูก 12%
  6. ปวดศีรษะ 10%
  7. หายใจลำบาก 5%
  8. ได้กลิ่นลดลง 2%

 

 

รู้ได้ไงว่าติดโควิด "โอไมครอน"

วิธีเช็กว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ ไม่ว่าจะสายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์อื่นๆ หากมีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้ต่ำ ๆ ไอ, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, จมูกไม่ได้กลิ่น, ลิ้นไม่รับรส, หายใจเร็ว, หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก หรือมีตาแดง, ผื่นขึ้น, ถ่ายเหลว หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ ให้สงสัยและรีบตรวจ ATK ก่อนและหลีกเลี่ยงเข้าแหล่งชุมชน ที่สาธารณะ

 

หากมีผลเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) ควรทดสอบด้วยชุดตรวจ ATK อีกครั้งใน 3-5 วัน ระหว่างนี้ให้แยกกักตัว หากมีอาการรุนแรง ควรไปสถานพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR เพื่อยืนยันผลอีกครั้ง แต่หากมีความเสี่ยงสูงตั้งแต่ต้น หรือ ผลตรวจ ATK เป็นบวก (ติดเชื้อ) ควรตรวจยืนยันด้วย RT-PCR เพื่อยืนยันตามขั้นตอน ควรกักตัว งดการออกจากบ้านโดยเด็ดขาด
แจ้งคนใกล้ชิดให้ทราบ เว้นระยะห่างสวมหน้ากากตลอดเวลา แยกห้องน้ำ แยกของใช้ส่วนตัวต่าง ๆ รวมทั้งถุงใส่ขยะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยงในบ้าน ล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อย ๆ และรีบเข้าสู่กระบวนการรักษาทันที

 

วิธีใช้ ATK ตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง

ชุดตรวจ Antigen Test Kit หรือ ATK 1 ชุด ประกอบด้วย แผ่นทดสอบ หลอดดูด น้ำยา ก้าน swap และหลอดตัวอย่าง

  1. เทน้ำยาลงในหลอดตัวอย่างให้ถึงจุดที่กำหนด
  2. นำก้าน swap แหย่จมูก หมุน 3-4 ครั้ง ค้างไว้ 3 วินาที
  3. นำก้าน swap ใส่หลอด หมุนวนในน้ำยาประมาณ 5 ครั้ง
  4. นำหลอดดูน้ำยา หยดลงช่องประมาณ 2-3 หยด
  5. อ่านค่าแสดงผลโควิด-19
    • ผลลบ (Negative) : แถบสีปรากฏเฉพาะตำแหน่ง C
    • ผลบวก (Positive) : แถบสีปรากฏทั้งตำแหน่ง C และ T เป็น 2 ขีด
    • กรณีไม่มีแถบ C ขึ้น แสดงว่าชุดตรวจอาจมีปัญหา ใช้งานไม่ได้ควรตรวจซ้ำใหม่อีกครั้ง หากผลตรวจเป็นบวก (ติดเชื้อ) ควรตรวจด้วย RT-PCR เพื่อยืนยันตามขั้นตอน หากมีผลเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) ควรทดสอบด้วยชุดตรวจ ATK อีกครั้งใน 3-5 วัน หากมีความเสี่ยงสูงควรตรวจยืนยันด้วย RT-PCR

 

ที่ตรวจ ATK ตรวจเจอโอไมครอนแน่ไหม

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า สำหรับชุดตรวจ ATK ที่ผ่าน อย. ไม่ว่าจะติดเชื้อสายพันธุ์ไหนก็ตรวจเจอ แม้ไม่ได้ระบุสายพันธุ์ ซึ่งผลก็ไม่ต่างกัน และมีการตรวจสอบ ทดลอง ทุกยี่ห้อที่นำเข้ามา ซึ่งชุดตรวจเอทีเคเป็นเพียงการคัดกรอง หรือตรวจหาการติดเชื้อเบื้องต้นเท่านั้น แต่ไม่สามารถบอกถึงสายพันธุ์ได้ว่าเป็นสายพันธุ์อะไร

 

โดยชุดตรวจ ATK ที่ทาง อย.  ประกาศอนุมัติ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 ที่ผ่านมานั้นมีทั้งหมด 354 รายการ โดยเป็น ชุดตรวจด้วยตนเอง 194 รายการ   (สามารถดูได้ที่ https://drive.google.com/.../1Nk-QNSgDzZE_vaIHwEuC.../view)  และ ชุดตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ 160 รายการ (https://drive.google.com/.../1qw.../view

 

ความพร้อมในการรับมือโควิดโอไมครอน

กรุงเทพมหานคร (กทม.) เตรียมความพร้อมบุคลากร เตียงพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงสถานที่รองรับผู้ป่วย โดยเฉพาะศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation) จำนวน 40 แห่ง ที่สามารถรับผู้ป่วยได้ถึง 5,066 เตียง

 

สำหรับศักยภาพเตียงใน รพ. ล่าสุด มีจำนวนทั้งสิ้น 25,345 เตียง แบ่งเป็น รพ. หลัก 2,922 เตียง/ รพ. สนาม 2,898 เตียง/ Hospitel 19,525 เตียง

 

ติดโควิด "โอไมครอน" ต้องทำอย่างไร

ลงทะเบียนรักษาโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation)

  1. โทร. สายด่วน สปสช. 1330 กด 14
  2. กรอกข้อมูลที่ https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI
  3. เข้าทางไลน์ สปสช.โดยเพิ่มเพื่อน @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
    • เลือกเมนูบริการเกี่ยวกับโควิด-19
    • เลือกลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation)

 

ขั้นตอนรักษาโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation)

  1. ลงทะเบียนรักษาโควิด-19 ที่บ้านผ่านช่องทางของ สปสช.
  2. เจ้าหน้าที่จะประสานและจับคู่กับสถานพยาบาล
  3. รักษาตามระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านต่อไป

 

คุณสมบัติผู้ที่รักษาโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation)

  1. เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย
  2. มีอายุน้อยกว่า 65 ปี
  3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  4. อาจมีโรคร่วมสามารถรักษาและควบคุมได้ตามดุลยพินิจของแพทย์
  5. ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

 

ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ (กลุ่มสีเขียว) ได้รับการดูแลอะไรบ้าง

  1. หน่วยบริการประเมินและติดตามอาการด้วยวิดีโอคอลวันละ 1 ครั้ง
  2. มอบเครื่องวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
  3. มอบยาฟ้าทะลายโจร และยาพื้นฐานอื่นๆ
  4. ส่งอาหารให้วันละ 3 มื้อ
  5. กรณีที่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการเปลี่ยนแปลง ให้แจ้งหน่วยบริการเพื่อขอรับยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์
  6. ประสานส่งต่อโรงพยาบาลหากมีอาการรุนแรงขึ้น

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso

 

 

 

 

ข้อมูลจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , รัชดา ธนาดิเรก - รองโฆษกรัฐบาลมติชน , อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ , กระทรวงสาธารณสุข 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง