ASPS มุมมอง "กลุ่มแบงก์" หลัง ธปท.-ก.ล.ต. ออกกฎเกี่ยวกับ Digital Asset
#SCB #ทันหุ้น-บล.เอเซีย พลัส หรือ ASPS ระบุ วานนี้ ก.ล.ต. ห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท (เช่น Exchange ภายใต้ ก.ล.ต. อย่าง Bitkub, Satang Pro, Zipmex เป็นต้น) ส่งเสริมหรือเปิดให้บริการการชําระสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล มีผลตั้งแต่ 1 เม.ย. 65 หากเริ่มทําแล้วให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามที่หลักเกณฑ์กําหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ โดยรวมฝ่ายวิจัยมองกระทบเชิง Sentiment กับหุ้นที่เคยประกาศว่าจะรับชําระสินค้าด้วยสินทรัพย์ Digital แต่ในเชิงพื้นฐานของบริษัทเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลง เนื่องจากมองว่าการเปิดตัวรับชําระสินค้าด้วยสินทรัพย์ Digital น่าจะเป็นการทําการตลาดในกลุ่มลูกค้า Gen Y มากกว่า ซึ่งไม่น่ามีนัยฯ ต่อยอดขายบริษัทเหล่านั้น อีกทั้งหากนักลงทุนที่ถือ Digital Asset (DA) ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ ย่อมสามารถแปลง DA เป็นสกุลเงินทั่วไป (Fiat currency) เพื่อชําระสินค้าได้อยู่แล้ว โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน (กรณีที่ระบบ Exchange ไม่ล่ม)
ขณะที่ช่วงเย็นวานนี้ ธปท. เตรียมออกร่างแนวทางการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัล (เปิดร่างหลักเกณฑ์เพื่อรับฟังความเห็นบน BOT website และออกประกาศภายใน 1H65) สาระสําคัญดังนี้
1. ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจ FinTech (ไม่รวมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ DA)จากเดิมที่เคยกําหนดไว้ที่ 3% ของเงินกองทุน ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยมองบวกต่อประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเปิดโอกาสให้กลุ่ม ธ.พ. สามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนได้มากขึ้น อย่างไรก็ดีหากกลุ่มฯ มีการลงทุนขนาดใหญ่ ราคาซื้อขายควรอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ Peers ราคาหุ้นจึงจะได้รับการตอบสนองเชิงบวกจากตลาด โดย SCB ถือเป็นธนาคารที่มีประสบการณ์การลงทุนใน Fintech (7% ของเงินกองทุน) น่าจะได้รับประโยชน์จากประเด็นนี้ รวมถึง KBANK ที่มีการกระจายการลงทุนใน Fintech ช่วงที่ผ่านมา
2. ให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน สามารถลงทุนในกิจการที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ DA (ห้ามธนาคาร ประกอบธุรกิจ DA โดยตรง) ภายใต้เพดานที่ 3% ของเงินกองทุน ส่วนที่เกินให้นํามาหักออกจากเงินกองทุน เพื่อให้การขยายตัวเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากในอนาคตธุรกิจ DA มีมาตรฐานเหมาะสมตามที่ ธปท. กําหนด (เช่น CG, Market conduct, AML/CFT) สามารถพิจารณาปรับเพิ่มหรือยกเลิก Limit ได้ นอกจากนี้หากกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการถือครอง DA ต้องมีเงินกองทุนเพิ่มขึ้น (ยังไม่มีรายละเอียดส่วนนี้, ปัจจุบัน ธ.พ. ไม่มีการถือครอง DA)
ความเห็นฝ่ายวิจัย ธ.พ. ส่วนใหญ่ในกลุ่มฯ ไม่ได้มีการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Digital Asset ขนาดใหญ่มากนัก ยกเว้น SCB ที่อยู่ระหว่างการเข้าซื้อหุ้น 51% ใน Bitkub online กับ SCBS (SCB ถือ 100%) มูลค่าธุรกรรม 1.8 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับเงินกองทุน ณ สิ้นปี 2564 ของ SCB ที่ราว 4.2 แสนล้านบาท จึงสามารถลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Digital Asset ได้ไม่เกิน 1.3 หมื่นล้านบาท (วิธีการคํานวณที่ชัดเจนต้องรอประกาศ ธปท. อย่างเป็นทางการ) ทําให้ดีลนี้เป็นเรื่องต้องติดตามต่อว่า SCB จะเดินไปในทิศทางใด ในกรณีที่เดินหน้าต่อต้องดูว่าจะสามารถขอผ่อนผันเกณฑ์ Limit ได้หรือไม่หรือต้องต่อรองราคาซื้อขายให้ต่ําลง หรือลดสัดส่วนการเข้าซื้อหุ้นใน BItkub online ให้สอดรับกับ Limit ข้างต้น อย่างไรก็ดีกว่าประกาศฉบับนี้จะประกาศอย่างเป็นทางการภายใน 1H65 มีความเป็นไปได้ที่ธุรกรรมนี้จะถูกเลื่อนออกไปเกิน 1H65
คงน้ำหนัก เท่าตลาด เลือก KBANK(FV@B174) และ TISCO(FV@B106) เพราะ ROE ทําได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ส่วน SCB(FV@B140) ราคาหุ้นปรับฐานจนมาซื้อขายต่ำกว่าราคาช่วง 2 วันก่อนประกาศดีลที่บริเวณ 125-130 บาท ตอบรับประเด็นลบแล้ว แนะนํา ซื้อ (ณ 22 มี.ค. 65 มีผู้ตอบรับคํา tender offer แล้ว 49.6% ทําให้สภาพคล่องการซื้อขายเริ่มลดลง อาจเป็นเหตุให้ราคาผันผวนมากขึ้น)