รีเซต

เที่ยวน้ำตกหน้าฝน! เช็กสัญญาณเตือน-วิธีสังเกต "น้ำป่าไหลหลาก"

เที่ยวน้ำตกหน้าฝน! เช็กสัญญาณเตือน-วิธีสังเกต "น้ำป่าไหลหลาก"
TNN ช่อง16
2 สิงหาคม 2566 ( 09:54 )
138

เที่ยวน้ำตกหน้าฝนต้องรู้! เช็กสัญญาณเตือน-วิธีสังเกต "น้ำป่าไหลหลาก" ต้องทำอย่างไรให้หนีน้ำป่าให้ทัน


หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 1 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยในช่วงวันที่ 1 – 3 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย 


ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ส.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 1 – 3 ส.ค. 66 นี้ไว้ด้ว 


ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เคยวิธีสังเกต "น้ำป่าไหลหลาก" มาให้ประชาชนได้อ่านกัน หลังจากช่วงฤดูฝน เป็นช่วงของการท่องเที่ยวน้ำตก อุทยานแห่งชาติหลายแห่งมีความงดงามของน้ำตกหลากหลายรูปแบบให้นักท่องเที่ยวได้ออกไปเที่ยวชม แต่อันตรายของภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรประมาท โดยเฉพาะ น้ำป่าไหลหลาก 


วิธีสังเกต "น้ำป่าไหลหลาก"


1.มีบรรยาการครึ้มฟ้า ครึ้มฝน คล้ายฝนจะตก
2.มีเสียงน้ำดังขึ้นกว่าเดิม หรือดังมากผิดปกติ
3.น้ำตกมีปริมาณหรือระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4.อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนไปจากปกติ
5.สังเกตพฤติกรรมของสัตว์ป่า หากจะเกิดอันตราย สัตว์ป่ามักจะแตกตื่น และหนีออกมาจากป่าจนผิดสังเกต
6.มีเศษดิน โคลนลงมาตามลาดเขา และมีเศษไม้ กิ่งไม้ เศษดิน กรวด ไหลมากับน้ำ
7.สีของน้ำเปลี่ยน กลายเป็นสีแดง หรือสีแดงขุ่นขึ้น



ภาพจาก Green Media สื่อสร้างสรรค์ เพื่อวันสีเขียว

 



ข้อควรระวังในการเที่ยวน้ำตก

1.เนื่องจากช่วงของการเดินทางเที่ยวน้ำตกนั้นมักอยู่ในฤดูฝน ควรจะตรวจตราระวังในเรื่องระดับน้ำ และน้ำป่า หากสังเกตว่าธารน้ำตกมีน้ำเต็มเปี่ยม ไหลแรง การเดินข้ามลำธารหรือลงเล่นน้ำควรต้องเพิ่มความระมัดระวัง หรือพยายามหลีกเลี่ยง
2.หากมีฝนตกหนักบริเวณนั้นหรือในผืนป่าต้นน้ำเป็นเวลานานๆ และน้ำมีการเปลี่ยนจากใสไปเป็นสีขุ่นมีตะกอน ควรขึ้นจากสายน้ำและขึ้นมาอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัย
3.การเดินป่า หรือเลาะริมธาร หากจำเป็นต้องตัดข้ามไปมาบ่อยครั้ง ก็ควรยอมเปียกด้วยการเดินลุยน้ำ เพราะการโดดข้ามไปตามก้อนหินอาจเสี่ยงต่อการลื่นล้มและได้รับบาดเจ็บ

คำแนะนำก่อนเที่ยวน้ำตก


-ตรวจสภาพอากาศก่อนท่องเที่ยวและติดตามสถานการณ์ ณ อุทยานแห่งชาตที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว
-สังเกตทางขึ้น ทางลงไว้เผื่อฉุกเฉิน
-หากพบสิ่งผิดสังเกตให้ขึ้นจากน้ำและขึ้นที่สูงทันที
-ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่อย่างเคร่งครัด





ที่มา กรมอุตุฯ / กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

แฟ้มภาพ ผู้สื่อข่าวบึงกาฬ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง