ศูนย์จีโนมฯคาดปลายปีโควิด ‘BA.2.75-BA.3.5.1’ เป็นสายพันธุ์หลัก
วันนี้ ( 16 ก.ค. 65 )ศ.เกียรติคุณ วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล บอกถึงสายพันธุ์โควิดที่กำลังแพร่ระบาดในไทยปัจจุบันว่า เป็นโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย คือ BA.4 กับ BA.5 คิดเป็น 3 ใน 4 ส่วน และอีก 1 ส่วนคือ BA.2
ส่วนความรุนแรงของโรคในผู้ป่วย พบว่า แม้จะติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่อาการไม่รุนแรง ปอดบวมไม่มาก อัตราการเสียชีวิตน้อย แตกต่างจากในหลอดทดลอง ที่เชื้อ มีการแพร่กระจายในเซลล์ปอดรวดเร็วจนทำให้ปอดบวม ซึ่งที่เป็นเช่นนั้น เพราะเซลล์ปอดในหลอดทดลองจะไม่มีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อโรค เหมือนเซลล์ปอดที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ จึงทำให้เมื่อคนติดเชื้อ อาการจึงไม่รุนแรง เหมือนสายพันธุ์เดลต้า
เช่นเดียวกับสายพันธุ์ย่อยที่พบใหม่ อย่าง BA.2.75 และ BA.3.5.1 แม้จะยังไม่เข้าไทย แต่ยังพบจากทั่วโลกติดเชื้อไม่ถึง 100 คน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มีอัตราการกลายพันร้อยกว่าตำแหน่ง ส่งผลให้แพร่เชื้อเร็ว แต่ยังคงต้องรอศึกษาความรุนแรง ซึ่งคาดว่า อาจไม่เทียบเท่าเดลตา และเชื่อว่า ปลายปี 2565 สายพันธุ์ BA.2.75 และ BA.3.5.1 จะเข้ามาเป็นสายพันธุ์ของไทย ตามการปรับตัวของไวรัสให้เข้ากับคนหรือสภาพแวดล้อม
ดังนั้น การทำงานของ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลปัจจุบัน จึงต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสเ้วย จากเมื่อก่อน เชื้อเข้ามาในไทยแล้วจึงทราบว่าเกิดกระจายไปเท่าไหร่ หรือมีเชื้อนี้หรือไม่ แต่ปัจจุบัน ได้ทำการใส่รหัสในชุดตรวจ เพื่อตรวจหาสายพันธุ์ใหม่ๆที่ยีงไม่เข้าไทยได้แล้ว ซึ่งการทำงาน จะมีเจ้าหน้าที่ สลับเปลี่ยนกันเข้าเวร มาถอดรหัสพันธุกรรมสายพันธุ์ทุกวัน
ข้อมูลจาก : ศูนย์จีโนมทางการแพทย์
ภาพจาก : AFP