รีเซต

ประกาศ เฝ้าระวังน้ำหลากในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ช่วง 28 ก.พ.-2 มี.ค.นี้

ประกาศ เฝ้าระวังน้ำหลากในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ช่วง 28 ก.พ.-2 มี.ค.นี้
TNN ช่อง16
25 กุมภาพันธ์ 2566 ( 20:32 )
46
ประกาศ เฝ้าระวังน้ำหลากในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ช่วง 28 ก.พ.-2 มี.ค.นี้

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยในช่วงวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 บริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนักบางแห่ง กอนช. ได้ติดตามสถานการณ์และประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำจากปริมาณฝนตกหนักและฝนตกสะสม ในช่วงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2566 ดังนี้

1. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก บริเวณ จังหวัดสงขลา (อำเภอกระแสสินธุ์ ควนเนียง จะนะ เทพา บางกล่ำ เมืองสงขลา ระโนด รัตภูมิ และหาดใหญ่) 

จังหวัดปัตตานี (อำเภอกะพ้อ โคกโพธิ์ ทุ่งยางแดง ปะนาเระ มายอ เมืองปัตตานี ไม้แก่น ยะรัง ยะหริ่ง สายบุรี และหนองจิก) 

จังหวัดยะลา (อำเภอรามัน) 

จังหวัดนราธิวาส (อำเภอจะแนะ เจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ เมืองนราธิวาส ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ แว้ง สุคิริน สุไหงโก-ลก 

และสุไหงปาดี)


2. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา และแม่น้ำโก-ลก


3. เฝ้าระวังคลื่นซัดฝั่งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชน และผู้ประกอบกิจการบริเวณ

แนวชายฝั่งทะเลตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช จนถึง จังหวัดนราธิวาส


ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา ๒๔ ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ

2. ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยการเร่งระบายและพร่องน้ำรองรับสถานการณ์ฝนที่คาดว่าจะตกหนัก

3. เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อให้ความช่วยเหลือได้ทันที

4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์






ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง