ปภ.เผย นราธิวาส-ปัตตานี ยังท่วมหนัก กระทบเกือบหมื่นครัวเรือน เร่งคลี่คลายสถานการณ์
เมื่อเวลา 09.50 น. วันที่ 3 มีนาคม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานจากอิทธิผลหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ ในห้วงวันที่ 25 ก.พ. – 3 มี.ค. 65 ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ยะลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี สงขลา และตรัง รวม 44 อำเภอ 227 ตำบล 1,122 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 59,563 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 ราย
ปัจจุบันยังมีสถานการณ์ในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส และปัตตานี รวม 10 อำเภอ 55 ตำบล 264 หมู่บ้าน 9,419 ครัวเรือน สถานการณ์ในภาพรวมจังหวัดนราธิวาสระดับน้ำลดลง ขณะที่จังหวัดปัตตานีระดับน้ำทรงตัว ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลัง พร้อมเร่งสูบระบายน้ำท่วมขังออกจากพื้นที่ รวมถึงสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิผลหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ ในห้วงวันที่ 25 ก.พ. – 3 มี.ค. 65 ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ยะลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี สงขลา และตรัง รวม 44 อำเภอ 227 ตำบล 1,122 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 59,563 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ปัจจุบันยังมีสถานการณ์ในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส และปัตตานี รวม 10 อำเภอ 55 ตำบล 264 หมู่บ้าน 9,419 ครัวเรือน ดังนี้
1. นราธิวาส เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงปาดี อำเภอเมืองนราธิวาส รวม 14 ตำบล 102 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,712 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2. ปัตตานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอหนองจิก อำเภอยะรัง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอำเภอยะหริ่ง รวม 41 ตำบล 162 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,707 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหารในพื้นที่ อปท. อปพร.อาสาสมัคร มูลนิธิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลัง พร้อมนำเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย อาทิ เรือ รถไฟฟ้าส่องสว่าง เครื่องสูบน้ำ เร่งระบายน้ำท่วมขังในทุกพื้นที่ รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่สำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง