รีเซต

ค่ายลี้ภัย VS ผู้หนีภัยร้อนมาพึ่งเย็น! สถานการณ์ชายแดนไทย เมียนมา ที่น่าจับตา

ค่ายลี้ภัย VS ผู้หนีภัยร้อนมาพึ่งเย็น! สถานการณ์ชายแดนไทย เมียนมา ที่น่าจับตา
m085*******
30 มีนาคม 2564 ( 10:53 )
405
ค่ายลี้ภัย VS ผู้หนีภัยร้อนมาพึ่งเย็น! สถานการณ์ชายแดนไทย เมียนมา ที่น่าจับตา

สถานการณ์ในเมียนมา การใช้กำลัง ปราบปรามประชาชนของรัฐบาลทหารที่เข้ารัฐประหารยึดอำนาจที่นำโดย นายพล มิน อ่อง หล่าย กำลังสร้างผลกระทบเพิ่มมากขึ้น การขยายแนวรบในการปราบปรามที่เข้าสู้พื้นที่กองกำลังฐานที่มั่นของ KNU เริ่มส่งผลกระทบต่อชายแดนไทย ทำให้ชาวเมียนมาเชื้อสายกะเหรี่ยงจำนวนมากหลบหนีข้ามแดนจากฝั่งเมียนมาเข้ามาในฝั่งไทย เพราะกังวลเรื่องอันตายจากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกองทัพเมียนมากับกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) ช่วงวันที่ 27-18 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ตอนนี้กลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกจับตา

 

สถานการณ์การเกิดผู้ลี้ภัยสงครามวันนี้ รู้หรือไม่ ?ว่าจำนวนผู้ลี้ภัยทั่วโลกมีจำนวนเท่าไหร่  ภาพที่หลายคนนึกถึงผู้ลี้ภัยเป็นอย่างไร ? TrueID News จะพามาทำความรู้จัก ผู้ลี้ภัย อย่างเข้าใจและเรียนรู้ว่าทำไมนานาชาติ รวมทั้งประเทศไทยต้องช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จากเหตุการปะทะ การรัฐประหารเมียนมา ด้วยกัน

 

ผู้ลี้ภัย ไม่ใช่ภาระ แต่คือ ผู้หนีภัย

 

ทั้งนี้ ผู้ลี้ภัย คือ ผู้อพยพเนื่องจากประสบความยากลำบากในชีวิต ซึ่งในเมืองไทยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรกที่อยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่ง 4 จังหวัด บริเวณชายแดนไทย - พม่า ส่วนกลุ่มที่สองคือ ผู้ลี้ภัยในเขตเมือง หรือคนที่มาขอสถานภาพผู้หรือภัยกับ UNHCR ประเทศไทย 

 

จากข้อมูลเว็บไซต์  UNHCR ประเทศไทย ระบุตัวเลขที่ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวพม่ามากกว่า 90,000 คนในค่ายผู้ลี้ภัย (พื้นที่พักพิงชั่วคราว) จำนวน 9 แห่งตามเขตชายแดนไทย-พม่า มาหลายปีแล้ว อาทิ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านต้นยาง จ.กาญจนบุรี และค่ายที่พักพิงชั่วคราว บ้านแม่หละ จ.ตาก ฯลฯ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้พลเมืองต่างต้องยอมทิ้งดินแดนที่เรียกว่า "บ้านเกิด" เดินทางข้ามฝั่งไทย เพื่อรักษาชีวิตให้รอด นั่นเพราะการปะทะของกองทัพพม่าและกองกำลังชนชาติกะเหรี่ยงที่มีมาอย่างยาวนาน

 

 

ล่าสุด เกิดความวุ่นวายขึ้นในพม่าอีกครั้ง เมื่อผู้นำสำคัญอย่าง อองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของพม่า และวิน มินต์ ประธานาธิบดีพม่า และคณะถูกจับกุมตัวโดยยังไม่ทราบชะตากรรมว่าคนทั้งหมดเป็นอย่างไร โดยเหตุการนี้คือ การทำรัฐประหาร หลังพม่าเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งที่ 3 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมา 

 

 

ซึ่งผลการเลือกตั้งครั้งนี้ อองซาน ซูจี จากพรรคพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายอีกครั้ง และสามารถครองเสียงข้างมากกว่า 396 จาก 476 ที่นั่ง

 

 

นี่เองจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดรัฐประหารเมียนมา ยึดอำนาจโดย พล.อ.มิน อ่อง หล่าย อ้างหลักของสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ การโกงเลือกตั้ง 

 

และการรัฐประหารเมียนมาในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นการถูกตัดการสื่อสารทุกช่องทาง ธนาคารพม่าถูกปิด ตู้เอทีเอ็มไม่สามารถกดเงินได้ ประชาชน ผู้ประท้วงหลายร้อยถูกจับกุม ปราบปรามจนสร้างความสูญเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเหยื่อล่าสุดคือ เด็กหญิงวัย 7 ขวบ เธอถูกยิงขณะที่กำลังนั่งบนตักของพ่อภายในบ้านของตัวเอง 

 

 

เหตุการณ์ในครั้งนี้ สร้างความสะเทือนใจให้ชาวพม่าและนานาชาติต่างร่วมประณาม ประท้วงรัฐบาลทหารพม่าที่ทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของพม่าต้องหยุดชะงัก รวมทั้งถูกจับตามองว่า เหตุการณ์ครั้งนี้จะยืดเยื้อไปอีกนานเท่าไหร่ 

 

 

คำถามที่ตามมาคือ เมื่อประเทศพม่าถูกสั่นคลอนด้วยการปะทะ การปราบปราม สงครามระหว่างกองทัพพม่าและผู้ประท้วง ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิด "ผู้ลี้ภัย"  ผู้อพยพเนื่องจากประสบความยากลำบากในชีวิต เดินทางเพื่อขอความช่วยเหลือยังประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย มากขึ้น

 

 

ส่องตัวเลขทั่วโลกมี ผู้ลี้ภัย เท่าไหร่ ?

 

 

 

 

UNHC ประเทศไทย ระบุตัวเลขว่า ทั่วโลกมีผู้ที่ถูกบังคับให้หนีจากบ้านอย่างน้อย 79.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เกือบ 26 ล้านคนเป็นผู้ลี้ภัย และเกือบครึ่งคือเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

 

 

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติอีกหลายล้านคนที่ไม่ได้รับการพิจารณาสถานะโดยกฎหมายจากรัฐใดว่าเป็นคนชาติของรัฐนั้น บ่อยครั้งที่พวกเขาจะไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล การจ้างงาน หรือแม้กระทั่งเสรีภาพในการโยกย้าย ดังนั้น การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจึงต้องเป็นความร่วมมือจากทั่วโลก

 

 

UNHCH - องค์กรนานาชาติ - รัฐบาลไทย ต่างต้องร่วมมือช่วยเหลือ ผู้ลี้ภัย 

 

 

สำหรับประเทศไทยนั้น กองทัพภาค 3 ได้จัดเตรียมสถานที่รองรับ “ผู้หนีภัย” จากสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา ที่จังหวัดตาก ตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก ทั้งหมด 10 จุด พื้นที่พักรอ 23 แห่งใน 5 อำเภอ เพื่อรอการผลักดันกลับประเทศเมื่อสงบ

 

 

ขณะที่ การคัดแยกผู้ลี้ภัยเมียนมา จะจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 

 

1. กลุ่มที่หลบหนีเข้ามาเพื่อรักษาตัวเองจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปดูแลในส่วนนี้ 


2. กลุ่มที่ได้รับผลกระทบหลังเหตุการณ์ยึดอำนาจ ที่อาจจะมี นักการเมือง นักศึกษาที่ต่อต้านรัฐบาลหนีเข้ามา ขณะนี้อยู่ในช่วงการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเป็นอย่างไร

 

 

อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายลี้ภัยนั้น ทุกคนร่วมกันช่วยเหลือได้ โดยเฉพาะการมองผู้ลี้ภัยเหมือนคนทั่วไป และเข้าใจว่าพวกเขาจำเป็นต้องมาในประเทศไทย หรือประเทศอื่น ๆ เพื่อหนีภัยอันตราย เมื่อสถานการณ์บ้านเกิดสงบ ผู้ลี้ภัยที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น ต่างย่อมพร้อมใจเดินทางกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิด

 

ข้อมูล :  UNHCR ประเทศไทย, มติชน

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง