นักวิทย์จีนสำรวจ 'ระบบนิเวศจิ๋ว' บริเวณต้นน้ำแยงซี

ซีหนิง, 4 ส.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์จีนเริ่มต้นการสำรวจภูมิภาคต้นน้ำของแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำหลานชาง ซึ่งตั้งอยู่ที่มณฑลชิงไห่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เมื่อวันอาทิตย์ (31 ก.ค.) เพื่อตรวจสอบทรัพยากรน้ำและสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของภูมิภาคดังกล่าว
ภูมิภาคต้นน้ำของแม่น้ำแยงซีบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต อุดมด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กรูปร่างแตกต่างกัน เช่น แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์หน้าดิน ซึ่งต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการสังเกตการณ์ โดยพวกมันมีบทบาทเป็นพลังงานแก่ระบบนิเวศทางน้ำ เช่น การเป็นอาหารของปลา รวมถึงเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาและคุณภาพน้ำทั้งนี้ ข้อมูลจากการสำรวจพบว่าปัจจุบันภูมิภาคต้นน้ำแยงซี มีแพลงก์ตอนพืชมากกว่า 40 สายพันธุ์ และสัตว์หน้าดินมากกว่า 30 สายพันธุ์ ซึ่งมีจำนวนสายพันธุ์และความหนาแน่นของการกระจายตัวต่ำกว่าสิ่งมีชีวิตบริเวณที่ราบ เนื่องจากผลกระทบจากสภาพอากาศบนที่ราบสูง