รีเซต

ราคาทอง ส่อร่วง? หลังธ.กลางทั่วโลกเทขายทองคำสำรองติดลบรอบ 10 ปี

ราคาทอง ส่อร่วง? หลังธ.กลางทั่วโลกเทขายทองคำสำรองติดลบรอบ 10 ปี
TNN ช่อง16
13 พฤศจิกายน 2563 ( 07:28 )
83
ราคาทอง ส่อร่วง? หลังธ.กลางทั่วโลกเทขายทองคำสำรองติดลบรอบ 10 ปี

ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา เกิดปรากฎการณ์ ราคาทอง พุ่งจนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือทะลุระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เมื่อเดือนสิงหาคม โดยเหตุการณ์นี้ได้ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกพากันเทขายทองคำสำรองมากกว่าจำนวนที่ซื้อ เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี

 

ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า การเทขายทองคำครั้งนี้ น่าจะเป็นความพยายามในการใช้ประโยชน์จากทองคำสำรอง ท่ามกลางภาวะที่่ราคาทอง สูงขึ้นหรือเป็นการ "เก็งกำไร" เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับประเทศ

 

เรามาดูกันว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่ธนาคารกลางทั่วโลก จะเทขายทองคำสำรองเพิ่มหรือไม่ และการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะส่งผลต่อ ราคาทอง ในอนาคตหรือไม่

 

 

ตามข้อมูลของหน่วยงานสถิติการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Statistics) หรือ IFS ระบุว่า จนถึงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา (ปี 2020) ธนาคารกลางและองค์การระหว่างประเทศทั่วโลกถือครอง "ทองคำ" รวมกันมากกว่า 3 หมื่น 5 พันตัน โดยมี "สหรัฐอเมริกา" เป็นผู้ที่ถือครองทองคำมากที่สุด มากกว่า 8,000 ตัน คิดเป็น 79 เปอร์เซนต์ของทุนสำรองทั้งหมด รองลงมาคือ "เยอรมนี" และ "IMF" อยู่ที่ประมาณ 3,300 ตัน และ 2,800 ตันตามลำดับ

 

 

โดยจะเห็นได้ว่า การเข้ามามีบทบาทอย่างมากของธนาคารกลางแต่ละประเทศนั้น ได้ทำให้นโยบายของธนาคารกลางที่มีต่อทองคำเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อทิศทางของราคาทอง โดยมีตัวอย่างสำคัญ คือ เมื่อช่วงปี 1980-1960 ที่ธนาคารกลางอังกฤษได้ตัดสินใจเทขายทองคำที่ถือครองกว่า "ครึ่งหนึ่ง" จากระดับประมาณ 650 ตันเหลือเพียง 310 ตัน จนถึงปัจจุบัน เพื่อนำเงินไปลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศแทน จนทำให้ราคาทองคำ ร่วงลงจากระดับประมาณ 400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เหลือประมาณ 250 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์เท่านั้น

 

 

เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว แต่ละประเทศจึงเจรจาทำข้อตกลงที่เรียกว่า "Washington Agreement on Gold" หรือ "ความตกลงวอชิงตันว่าด้วยทองคำ" ที่ลงนามเมื่อวันที่ 26 กันยายนปี 1999 เพื่อจำกัดการขายทองคำแต่ละประเทศในแต่ละปีว่า จะต้องไม่เกิน 400 ตันต่อปี รวมไปถึงเพดานการซื้อทองคำเพิ่มเช่นกัน ว่าต้องไม่เกิน 2,000 ตันต่อปีด้วย

 

โดยหลังจากข้อตกลงดังกล่าวบรรลุ ก็ทำให้ราคาทองพุ่งกลับไปอยู่ที่ประมาณ 330ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากระดับ 260 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ภายใน 2 สัปดาห์

 

อย่างไรก็ดี  "Washington Agreement" เพิ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนกันยายน ปีที่แล้ว (2019) หรือไม่นานก่อนเกิดเหตุการณ์ COVID-19 เท่านั้น

 

 

โดยล่าสุด สภาทองคำระหว่างประเทศ (WGC) ได้เปิดเผยรายงานสรุปสถานการณ์ทองคำในไตรมาสที่ 3 หรือ "Gold Demand Trends : Q3 2020" โดยประเด็นที่หลายคนจับตามองในรายงานฉบับนี้ คือ ยอดซื้อขายทองคำสุทธิ (ซึ่งเป็นยอดขายทองคำสำรอง "ลบด้วย" ยอดซื้อทองคำสำรอง ของธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก) ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ อยู่ที่ติดลบ 12 ตัน (หรือหมายความว่า ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกได้เทขายทองคำ มากกว่าซื้อถึง 12 ตัน ในไตรมาสที่ 3) นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี หรือตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2010 ที่ธนาคารกลางทั่วโลกได้พลิกสถานะจาก "ผู้ซื้อ" ไปเป็น "ผู้ขาย" แทน

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

 

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง