รีเซต

ศึกษาพบภาวะหยุดหายใจ-ออกซิเจนต่ำขณะหลับ อาจเชื่อมโยง 'โรคลมชักในผู้สูงวัย'

ศึกษาพบภาวะหยุดหายใจ-ออกซิเจนต่ำขณะหลับ อาจเชื่อมโยง 'โรคลมชักในผู้สูงวัย'
Xinhua
2 พฤษภาคม 2567 ( 16:22 )
25
ศึกษาพบภาวะหยุดหายใจ-ออกซิเจนต่ำขณะหลับ อาจเชื่อมโยง 'โรคลมชักในผู้สูงวัย'

(แฟ้มภาพซินหัว : ลูกค้าที่แกรนด์ เซนทรัล มาร์เก็ตในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ วันที่ 29 ก.ค. 2022)

ลอสแอนเจลิส, 2 พ.ค. (ซินหัว) -- การศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ ซึ่งเผยแพร่ในวารสารสลีพ (Sleep) พบว่าภาวะหยุดหายใจตอนหลับและการมีระดับออกซิเจนต่ำขณะนอนหลับ อาจสัมพันธ์กับโรคลมชักที่เริ่มเป็นหลังอายุ 60 ปี (late-onset epilepsy)สถาบันฯ เปิดเผยว่าความเชื่อมโยงดังกล่าวไม่เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ สำหรับโรคลมชักที่เริ่มเป็นหลังอายุ 60 ปี และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาทิ โรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองการศึกษาระบุว่าการค้นพบนี้อาจช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของการนอนหลับและโรคลมชักในผู้สูงวัยได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยในการระบุเป้าหมายที่เป็นไปได้สำหรับการรักษานักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ใช้ข้อมูลผู้ป่วยโรคลมชักดังกล่าวจากระบบประกันสุขภาพของสหรัฐฯ และวิเคราะห์ข้อมูลการนอนหลับจากผู้เข้าร่วมมากกว่า 1,300 คน พบว่าคนที่ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดลดลงต่ำกว่าร้อยละ 80 ตอนนอนหลับ ซึ่งเรียกว่าภาวะขาดออกซิเจนในเวลากลางคืน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคลมชักในผู้สูงวัยมากกว่าผู้ที่ไม่มีระดับออกซิเจนต่ำในลักษณะเดียวกันถึงสามเท่านอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมการศึกษาที่รายงานว่าตนเองมีอาการหยุดหายใจขณะหลับในช่วงอายุบั้นปลาย มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคลมชักในผู้สูงวัยมากเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีความผิดปกติของการนอนหลับรีเบกกา กอตเทสแมน หัวหน้าสาขาโรคหลอดเลือดสมองของสถาบันโรคทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมอง ระบุว่ามีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นที่ระบุว่าโรคลมชักในผู้สูงวัยอาจเป็นตัวบ่งชี้ของโรคหลอดเลือด หรือโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท พร้อมเสริมว่าผู้สูงอายุมีอุบัติการณ์ป่วยด้วยโรคลมชักเพิ่มมากสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง