ขอนแก่น เร่งจ้างแรงงานเกษตรกรกว่า 7,000 ราย ลดผลกระทบโควิด-19
ขอนแก่น – สำนักงานชลประทานที่ 6 เร่งจ้างแรงงานเกษตรกรใน 5 จังหวัด ช่วยบรรเทาผลกระทบภัยแล้งและโควิด-19 ยังต้องการอีกราว 2,700 ตำแหน่ง
นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 กล่าวว่า กรมชลประทานมีความห่วงใยเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งและการระบาดของโรคไวรัส COVID-19 จึงมีมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนรายได้ของพี่น้องเกษตรกร ด้วยโครงการจ้างแรงงานเกษตรกรในปีงบประมาณ 2563 สำหรับปฏิบัติงานซ่อมแซม บำรุงรักษา ขุดลอก ปรับปรุงงานชลประทาน ก่อสร้างแหล่งน้ำ ระบบส่งน้ำเพื่อชุมชน แก้มลิง การจัดการคุณภาพน้ำและโครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 6 ทั้ง 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และ จ.ร้อยเอ็ด
โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับจ้างแรงงานเกษตรกรประมาณ 280 ล้านบาท สามารถจ้างแรงงานเกษตรกรได้ไม่น้อยกว่า 7,000 ราย ปัจจุบันทั้ง 5 จังหวัดได้จ้างแรงงานไปแล้วกว่า 4,300 ราย คิดเป็นร้อยละ 58 ของจำนวนแรงงานเกษตรกรที่จ้าง จังหวัดที่มีการจ้างแรงงานเกษตรกรมากที่สุดในขณะนี้คือ จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งจ้างแรงงานเกษตรกรไปแล้วมากกว่าร้อยละ 95 ส่วนจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ เริ่มทยอยจ้างไปแล้วกว่าร้อยละ 50
ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 กล่าวต่อว่า เกษตรกรที่สมัครเข้าทำงานจะได้รับค่าจ้างวันละ 377.85 บาท หรือประมาณเดือนละ 8,000 บาท ระยะเวลาการจ้างงาน 3-7 เดือน รายได้ตลอดระยะเวลาการจ้างแรงงานอยู่ระหว่าง 24,000-56,000 บาท/คน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและระยะเวลาที่ทำ โดยได้เริ่มดำเนินการจ้างแรงงานเกษตรกรมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 63 ที่ผ่านมา ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาการจ้างแรงงานคือต้องเป็นเกษตรกรในพื้นที่ เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ ผู้ใช้แรงงานทั่วไป และหากแรงงานในพื้นที่เป้าหมายมีไม่เพียงพอให้พิจารณาจ้างแรงงานในพื้นที่ใกล้เคียงจากหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และลุ่มน้ำ ตามลำดับ
- กระบี่-ชาวเกาะพีพี พลิกวิกฤต เป็นโอกาส ช่วงโควิด ลงแรงดำน้ำเก็บขยะ
- วัดเขาดินสันติธรรม เปลี่ยนหอระฆังเป็นหอจ่ายน้ำแก้ภัยแล้งอำเภอหนองมะโมง
- ขอนแก่น รณรงค์ใช้ถาดรับ-ส่งอาหาร สร้างมาตรฐานสุขอนามัย ลดการแพร่เชื้อ
- ‘ขอนแก่น สต็อปโควิด-19 พร้อมรีสตาร์ต?’
ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของไวรัส COVIC-19 ในระหว่างการทำงาน จึงได้กำชับให้ทุกโครงการปฏิบัติตามมาตรการ SOBOP ของกรมชลประทาน โดยการตรวจคัดกรองอุณหภูมิร่างกายก่อนทำงาน สวมหน้ากากอนามัย พร้อมจัดเจลล้างมือไว้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังได้กำชับให้ทำความสะอาดฆ่าเชื้อที่เครื่องจักร เครื่องมือ รวมถึงควบคุมให้เว้นระยะห่างในระหว่างปฏิบัติงานตามความเหมาะสมของลักษณะงานแบบ Social Distancing อีกด้วย