UCEP Plus เกณฑ์ใหม่ ติดโควิดหลัง 1 ต.ค.65 อาการวิกฤตรักษาฟรีทั้งรพ.รัฐ-เอกชน
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปรับเกณฑ์ใหม่ UCEP Plus เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ เฉพาะกรณีโรคติดเชื้อโควิด 19 กลุ่มวิกฤตสีแดง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ที่ปรับลดระดับโรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
ทั้งนี้ เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน และจัดลำดับการบริบาล กลุ่มอาการที่ 26 กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) แนบท้ายประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เรื่อง เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน และจัดลำดับการบริบาล กลุ่มอาการที่ 29 กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2565 มีดังนี้
ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง)
เกณฑ์การคัดแยก
วิกฤต 1 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการ ไม่รู้สึกตัว หรือไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร หรือมีอาการหายใจเฮือก หรือมีการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR+AED)
วิกฤต 2 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการ Airway obstruction เช่น มีเลือดหรือเสมหะปริมาณมากในปาก หายใจเสียงดังโครกคราก หรือจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น
วิกฤต 3 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการ Severe respiration distress เช่น ต้องลุกนั่ง/พิงผนังหรือยืนเพื่อหายใจได้ พูดได้เพียงประโยคสั้นๆ หายใจมีเสียงดัง ซีด เหงื่อท่วมตัว หายใจเร็ว แรง และลึก ใช้กล้ามเนื้อช่วยหายใจ หรือ จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น
วิกฤต 4 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการ Shock โดยมีอาการ อย่างน้อย 2 ข้อ : เหงื่อท่วมตัว , ซีด และผิวเย็นชืด, หมดสติชั่ววูบ/เกือบหมดสติชั่ววูบ เมื่อนั่ง/ยืน , มีการโหลดสารน้ำ ให้ยาเพิ่มความดัน ร่วมกับ
ㆍSBP
ㆍSBP
ㆍSBP
วิกฤต 5 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการ Coma/Semi-coma หรือ GCS s ต่ำกว่า 8 หรือกำลังชักเมื่อแรกรับที่จุดคัดแยก
วิกฤต 6 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการ ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเชียส หรือ Oxygen Saturation แรกรับ Room Air น้อยกว่า 94% หรือในเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำ หรือมีอาการปอดอักเสบ เหนื่อยหอบ หายใจเร็ว ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือมีโรคร่วม ดังนี้
(1) อายุมากกว่า 60 ปี
(2) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมปอดเรื้อรังอื่นๆ
(3) ไตเรื้อรัง
(4) โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด
(5) โรคหลอดเลือดสมอง
(6) มะเร็ง
(7) เบาหวานที่คุมไม่ได้
(8) ภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม
(9) ตับแข็ง
(10) ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ตามดุลยพินิจของแพทย์
สำหรับการรักษา "กลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง)" นั้น ใช้เกณฑ์ของ UCEP Plus เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ รักษาฟรีทุกโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน สามารถติดต่อประสานงานได้ที่ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต UCEP Coordination Center เบอร์โทรติดต่อ 02-872-1669
ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง)
เกณฑ์การคัดแยก
เร่งด่วน 1 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และอยู่ในช่วงอายุ :
ㆍอายุ >8 ปี : HR>100, RR>20
ㆍ อายุ 38 ปี : HR>140, RR>30
ㆍ อายุ 3 เดือน-3 ปี: HR >160, RR>40
ㆍ อายุ < 3เดือน: HR >180, RR>50 * Sp02
เร่งด่วน 2 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการ Alteration of consciousness โดยมีอาการซึมลง เมื่อเทียบกับระดับความรู้สึกตัวเดิม
เร่งด่วน 3 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการ ปวดมาก กระสับกระส่าย pain scale > 7
เร่งด่วน 4 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการ บาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันมากหรือเจ็บปวดรุนแรงอันจำเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างรีบด่วน มิฉะนั้นจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตหรือพิการในระยะต่อมาได้ หรือตามดุลยพินิจทางการแพทย์
ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว)
ไม่รุนแรง 9 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันไม่รุนแรง อาจรอรับปฏิบัติการแพทย์ได้ระยะเวลาหนึ่ง หรือเดินทางไปรับบริการสาธรณสุขด้วยตนเองได้ แต่จำป็นต้องใช้ทรัพยากร และหากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้วจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการของผู้ป่วยฉุกเฉินรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ หรือ ตามดุลยพินิจของผู้คัดแยก
ผู้ป่วยทั่วไป
ทั่วไป 9 : ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีอาการเจ็บป่วยแไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งอาจรอรับหรือเลือกสรรการบริการสาธารณสุขในเวลาทำการปกติ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นหรือภาวะแทรกซ้อน หรือตามดุลยพินิจของผู้คัดแยก
ผู้รับบริการสาธารณสุขอื่น
อื่นๆ 9 : ตรวจพบเชื้อไวร้สโคโรนา 2019 ในบุคคลที่มารับบริการสาธารณสุขหรือบริการอื่น โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากร หรือตามดุลยพินิจของผู้คัดแยก
ข้อมูลจาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP