รีเซต

ประมวลภาพปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน" ดาวพฤหัสบดีเคียงดวงจันทร์

ประมวลภาพปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน" ดาวพฤหัสบดีเคียงดวงจันทร์
TNN ช่อง16
20 พฤศจิกายน 2563 ( 08:05 )
367

วันนี้ (20 พ.ย.63) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. ประมวลภาพปรากฏการณ์ “ดาวเคียงเดือน” ดาวพฤหัสบดีปรากฏเคียงดวงจันทร์ ห่างกัน 3 องศา เวลาประมาณ 18.40 น. เมื่อวานนี้ (19 พ.ย.) นอกจากนี้ ดาวเสาร์ปรากฏเคียงดวงจันทร์เช่นกัน ห่าง 4.2 องศา และในขณะเดียวกันดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ปรากฏบนท้องฟ้าห่างกัน 3.2 องศา เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ดาวเคราะห์ชุมนุม” 

 

ดาวเคราะห์ชุมนุม หมายถึง ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุม 1-5 องศา (การวัดระยะเชิงมุมบนท้องฟ้า ชูนิ้วก้อยเหยียดแขนให้สุดขึ้นบนท้องฟ้า ระยะ 1 องศา จะห่างกันประมาณ 1 นิ้วก้อย) 

 


 

ปรากฏการณ์ “ดาวเคียงเดือน” และ “ดาวเคราะห์ชุมนุม” ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์หนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากดวงจันทร์และดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟ้าไปเรื่อย ๆ ตามแนวสุริยะวิถี 

 

ดังนั้น การที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันจึงถือเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

 


 

หลังจากนี้ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ จะยังคงปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้า จนกระทั่งช่วงวันที่ 20-23 ธันวาคม 2563 ดาวเคราะห์ทั้งสองจะปรากฏใกล้กันมากที่สุดในรอบ 397 ปี ห่างเพียง 0.1 องศา หากดูด้วยตาเปล่าจะมองเห็นเสมือนเป็นดาวดวงเดียวกัน เรียกว่า ปรากฏการณ์ “The Great Conjunction”  และถ้ามองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 100 เท่า จะเห็นดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์อยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน

 



ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

เกาะติดข่าวที่นี่

 

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง