รีเซต

มูลนิธิต่อต้านการทุจริตจับมือ กลุ่มทรู กระทรวงวัฒนธรรม และธนาคารออมสินในโครงการประกวด ‘การต่อต้านการทุจริต ผ่านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน’ ประจำปี 2563

มูลนิธิต่อต้านการทุจริตจับมือ กลุ่มทรู กระทรวงวัฒนธรรม และธนาคารออมสินในโครงการประกวด ‘การต่อต้านการทุจริต ผ่านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน’ ประจำปี 2563
TrueID
26 มิถุนายน 2563 ( 14:35 )
2.9K
2
มูลนิธิต่อต้านการทุจริตจับมือ กลุ่มทรู กระทรวงวัฒนธรรม และธนาคารออมสินในโครงการประกวด ‘การต่อต้านการทุจริต ผ่านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน’ ประจำปี 2563

 

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน เป็นปัญหาที่สำคัญของชาติที่สร้างความเสียหายต่อการพัฒนาประเทศมาตลอดระยะเวลาที่ยาวนาน และนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และมีกระบวนการที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้รัฐต้องสูญเสียโอกาสในหลาย ๆ ด้าน เศรษฐกิจถดถอยมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคม และความมั่นคง ของชาติ งบประมาณแผ่นดินและทรัพยากรชาติต้องสูญเปล่าไปเป็นจำนวนมหาศาล แม้รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย จะประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติก็ตาม แต่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ก็ยังไม่สามารถขจัด ให้ลดน้อยลงได้อย่างเป็นรูปธรรม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ได้กำหนดให้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังในทุกมิติ 

 

ซึ่งมูลนิธิต่อต้านการทุจริตได้จัดให้มีกิจกรรมในการปลูกจิตสำนึกให้คนไทยโดยเฉพาะเยาวชนของชาติให้เป็นคนดี ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อร่วมกันสร้างสังคมให้โปร่งใส ไร้การทุจริต และร่วมกันปลุกจิตสำนึกในการสร้างสังคมไทย

 

สำหรับในปีนี้ มูลนิธิต่อต้านการทุจริต ได้ผนึกกำลังกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มทรู และกระทรวงวัฒนธรรม โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก ธนาคารออมสิน จึงจัดโครงการประกวด “การต่อต้านการทุจริต ผ่านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน” ประจำปี 2563 เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และนักศึกษาอาชีวะศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั่วประเทศ ส่งผลงานคลิปวิดีโอ การรณรงค์ต่อต้านการทุจริตผ่านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน โดยเปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคมคม 2563 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเกียรติบัตร และเงินทุนการศึกษารวม 600,000 บาท

 

โดยผู้เข้าประกวดจะต้องส่งผลงานคลิปวิดีโอศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของภูมิภาคที่โรงเรียนตั้งอยู่เท่านั้น และมีความยาวไม่เกิน 7 นาที รวมถึงใช้ศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นเชื่อมโยงให้เห็นถึงการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตผ่านศิลปการแสดงพื้นบ้านของตัวเอง สำหรับตัวอย่างศิลปะการแสดงพื้นบ้านแยกเป็นแต่ละภาค ดังนี้

  • ภาคเหนือ อาทิ เพลงกล่อมเด็ก, เพลงร้องเล่น, เพลงจ๊อย, เพลงซอ, การแสดงของชนเผ่า หรือศิลปะการแสดงพื้นบ้านอื่น ๆ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ หมอลำ, กันตรึม, เพลงโคราช, ลำแคน, ฟ้อนภูไท หรือศิลปะการแสดงพื้นบ้านอื่น ๆ
  • ภาคกลาง อาทิ ลิเก, ลำตัด, เพลงฉ่อย, เพลงอีแซว, หุ่นกระบอก, เพลงขอทาน หรือศิลปะการแสดงพื้นบ้านอื่น ๆ
  • ภาคใต้ อาทิ เพลงเรือ, ลิเกฮูลู, ลิเกป่า, หนังตะลุง, มโนราห์ หรือศิลปะการแสดงพื้นบ้านอื่น ๆ

 

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าประกวด

  1. ผู้สมัครต้องศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษา, มัธยมศึกษา หรืออาชีวะศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  ทั่วประเทศ
  2. สมัครประกวดโรงเรียนละ ๑ ทีมเท่านั้น และจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้บริหารสถานศึกษารับรอง
  3. สมาชิกในคณะการแสดงต้องอยู่โรงเรียนเดียวกัน
  4. การแสดงมีจำนวนสมาชิกในทีมไม่เกิน ๑๕ คน

 

การสมัครประกวด และการส่งผลงาน

  1. ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.acf.or.th หรือ www.trueplookpanya.com หรือ คลิกที่นี่
  2. รูปแบบการจัดส่งผลงาน ผู้สมัครแต่ละทีมส่งใบสมัครพร้อมผลงานการแสดงผ่านคลิปวิดิโอ ความยาวไม่เกิน 7 นาที ประเภทไฟล์ mp4 (Full HD 1920 x 1080) และส่งบทร้องที่แสดงในคลิปวิดีโอ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้คณะกรรมการพิจารณา 
  3. ส่งมาที่ ฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม กลุ่มทรู "เลขที่ 18 อาคารทรู ทาวเวอร์ ชั้น 23 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310" ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 หรือส่งทาง E-mail : ppyactivities@trueplookpanya.com โดยการแนบลิงค์สำหรับให้เจ้าหน้าที่สามารถดาวน์โหลดได้ พร้อมกับแนบไฟล์ใบสมัครเป็น pdf. แบบชัดเจน 
  4. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-858-6471

 

 

สามารถอ่านรายละเอียดดาวน์โหลดเรื่องการลงสมัครเพิ่มเติมได้ที่ >> www.acf.or.th  / www.trueplookpanya.com <<

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง