รีเซต

การบินไทย ได้ไปต่อ

การบินไทย ได้ไปต่อ
TNN Wealth
19 พฤษภาคม 2564 ( 19:26 )
89

 

ข่าววันนี้ การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ประชุมได้มีมติโหวตยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย และแผนที่เจ้าหนี้เสนอแก้ไข 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 4 ผู้ทำแผน (การบินไทย), ฉบับที่ 13 ธนาคารกรุงเทพ, และฉบับที่ 15 ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย (ชสอ.) โดยยอมรับรวมทั้งหมด 28 กลุ่ม จากเจ้าหนี้ทั้งหมด 36 กลุ่ม จำนวนหนี้รวมทั้งสิ้น 1.16 แสนล้านบาท คิดเป็น 91.56% เป็นจำนวนหนี้ที่ไม่น้อยกว่า 50% ของหนี้ ได้ออกเสียงลงคะแนน จึงเป็นประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนและแผนที่แก้ไข

 



ทั้งนี้ สำหรับแผนฉบับที่ 4 เป็นคำร้องยื่นของแก้ไขแผนฟื้นฟูของการบินไทย หรือในฐานะ “ลูกหนี้” ซึ่งระบุถึงเหตุผลการขอแก้ไขว่า หลังจากผู้ทำแผนได้หารือกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลัก ทั้งเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูและเจ้าหนี้ที่มีโอกาสให้การสนับสนุนทางการเงิน เห็นพ้องต้องกันว่า เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้เจ้าหนี้มีความเชื่อมั่นในแผนฟื้นฟู จนเพียงพอที่เจ้าหนี้จะให้การสนับสนุนแผนฟื้นฟูตลอดจนเม็ดเงินได้คือ การที่การบินไทยจะยังคงได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและได้รับสิทธิประโยชน์ในการประกอบธุรกิจการบินและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ตลอดจนสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ไม่ด้อยกว่าก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

 

 


ดังนั้น ผู้ทำแผนจึงได้ขอแก้ไขแผนฟื้นฟูในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการชำระหนี้ ลำดับการจัดสรรกระแสเงินสด การจัดหาประโยชน์ทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดหาแหล่งเงินทุน โดยการกู้ยืมเงินใหม่เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

 

 


ส่วนฉบับที่ 13 ธนาคารกรุงเทพ (เจ้าหนี้รายที่ 6414) ยื่นคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูในส่วน “ผู้บริหารแผน” โดยได้เสนอรายชื่อผู้บริหารแผนเพิ่ม 2 ราย คือ นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายไกรสร บารมีอวยชัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการประนอมหนี้และกฎหมาย ธนาคารกรุงเทพ และเป็นอดีตอธิบดีกรมบังคับคดี เข้าเป็นผู้บริหารแผน

 


และฉบับที่ 15 ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย (ชสอ.) ได้ยื่นคำร้องเสนอแก้ไขแผนใหม่ ลงฉบับวันที่ 14 พ.ค.64 ขอแก้ไขแผนใน 5 ประเด็น ได้แก่ 

 


1. การแปลงหนี้เป็นทุน การให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนได้ หลังปีที่ 7 หุ้นละ 2.5452 บาท ครอบคลุมเจ้าหนี้หุ้นกู้ ตั้งแต่กลุ่ม 18-31 ขณะที่เจ้าหนี้กลุ่ม 4-6 จะสามารถใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนได้ เพราะมีหนี้คงเหลือหลังปี 7

2. ปรับโครงสร้างทุน ลดทุน เพิ่มทุน มีทางเลือกในการแปลงหนี้เป็นทุน

3.จัดการหาประโยชน์ทรัพย์สินทรัพย์ตามการเรียกร้องลูกหนี้ ครอบคลุมและมีความเหมาะสม

4. แต่งตั้งผู้ทำแผน โดยได้เสนอผู้ทำแผน 3 ราย คือ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายพรชัย ฐีระเวช และนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร

5. ให้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเจ้าหนี้ ขอให้ผู้บริหารแผนชี้แจงการดำเนินการ ความคืบหน้า การขายทรัพย์สินในแผน เป็นต้น

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง