รีเซต

ข่าวปลอม อย่าแชร์! น้ำมะนาว ใช้ล้างไตได้

ข่าวปลอม อย่าแชร์! น้ำมะนาว ใช้ล้างไตได้
TNN ช่อง16
19 กรกฎาคม 2563 ( 19:31 )
371
ข่าวปลอม อย่าแชร์! น้ำมะนาว ใช้ล้างไตได้

วันนี้( 19 ก.ค.63) ตามที่มีการเผยแพร่คำแนะนำเรื่อง น้ำมะนาวใช้ล้างไตได้ ทาง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีคำแนะนำวิธีล้างไตแบบง่ายๆ ด้วยการกินน้ำมะนาวสด โดยไม่ผ่านกระบวนการใดๆ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ไม่มีงานวิจัยใดยืนยันได้ว่าน้ำมะนาวมีสรรพคุณช่วยล้างไตได้ เพราะจากข้อมูลสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐานของมะนาว คือ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แก้อาการไอ ระคายคอจากเสมหะ และการล้างไตจะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยการบำบัดทดแทนไต หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “การล้างไต” คือการขจัดของเสียในเลือดออกจากร่างกายโดยใช้วิธีการต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่แทนไต ในผู้ป่วยไตวายที่ไตสูญเสียหน้าที่จนไม่สามารถขับน้ำ และของเสียออกจากร่างกายได้ ซึ่งการบำบัดทดแทนไต ได้แก่

1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) คือ การขจัดของเสีย และน้ำออกจากเลือด โดยการฟอกเลือดแต่ละครั้งต้องใช้ เวลาประมาณ 4 ชม. และต้องทำการฟอกเลือดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

2. การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis) คือ การขจัดของเสีย และน้ำ ผ่านทางผนังช่องท้องโดยการใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง ผ่านทางสายที่มีลักษณะเฉพาะ

3. การปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation) คือการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยใช้ไตจากผู้อื่น ซึ่งผ่านการตรวจมาแล้วว่าไตสามารถเข้ากันได้

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทร. 1556

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่มีงานวิจัยใดที่ยืนยันได้ว่าน้ำมะนาวมีสรรพคุณช่วยล้างไตได้ และการล้างไตจะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวปลอม อย่าแชร์! กัญชาสามารถป้องกัน-รักษาโควิดได้

เตือน! SMS ลิงก์ให้โหลดแอปฯ ไทยชนะ ภาครัฐฯไม่ได้เป็นผู้ส่ง

อย่าหลงเชื่อ! ลือเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ 100 บ.ให้ไปรายงานตัวที่เขต

ข่าวปลอม! เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2 พันบาทไม่จริง



เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง