รีเซต

จับตาภาครัฐ กรมศุลกากร-กรมปศุสัตว์ หิวแสงแย่งซีนปราบ “หมูเถื่อน”

จับตาภาครัฐ กรมศุลกากร-กรมปศุสัตว์ หิวแสงแย่งซีนปราบ “หมูเถื่อน”
TNN ช่อง16
11 ตุลาคม 2565 ( 19:21 )
83

อย่างที่เคยเขียนไว้ว่าช่วงนี้ขอทำตัวเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน ติดตามการทำงานของภาครัฐในการจับปราบ “หมูเถื่อน” จนกว่าจะทุเลา (หมายถึงตรวจไม่เจอที่ท่าเรือฯ หรือจับได้คาด่านทุกด่านก่อนมีการเคลื่อนย้าย) ก็หวังว่าหน่วยงานหลักอย่างกรมศุลกากร และกรมปศุสัตว์ จะเร่งรัดปราบปรามเด็ดขาด ฟันไม่เลี้ยง เพราะหลังกรมปศุสัตว์ นำร่อง “เด้งฟ้าผ่า” ข้าราชการระดับหัวหน้าด่านกักกันสัตว์ชลบุรี ต้นทางท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งคาดว่าเป็นประตูหลักที่เปิดให้หมูเถื่อนเข้ามาเดินเล่นในประเทศไทยพักใหญ่ๆภาครัฐด่านแรกที่ต้องรับผิดชอบตรวจสอบจับกุม คือ กรมศุลกากร และอย่าอ้างว่าสำแดงเท็จเป็นสินค้าอื่นซุกซ่อนมาในตู้คอนเทนเนอร์ตรวจไม่เจอ..เพราะได้งบประมาณติดตั้งเครื่อง Fixed X-Ray Scanning System ที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงให้เห็นภาพสินค้าในตู้ทั้งหมด ที่ท่าเรือแหลมฉบังหลายเครื่อง มีเจ้าหน้าที่นั่งจ้องหน้าจอตลอดการตรวจเช็ค มีหรือจะแยกไม่ออกว่ามีสินค้าแปลกปลอมแฝงมาในตู้ แต่ที่ผ่านมา “หมูเถื่อน” เล็ดลอดมาจับกันนอกด่านศุลกากรทุกครั้ง การจับได้ที่ท่าเรือเสียหายตรงไหน...วานผู้รู้ช่วยให้ความกระจ่าง สินค้าผิดกฎหมายถูกปล่อยผ่านออกมาได้อย่างไร...อยากให้โปรงใสเหมือนเครื่องเอ็กซเรย์ด้านกรมปศุสัตว์ ที่ต้องทำหน้าที่ร่วมกับกรมศุลกากรตรวจสอบสินค้า ล่าสุด เจ้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉลิมชัย ศรีอ่อน ประกาศกร้าวผ่าน Facebook ส่วนตัว “ใหญ่แค่ไหนก็ไม่เอาไว้ หากพบความผิดและการกำกับดูแลที่หละหลวม : สั่งย้ายทันทีพร้อมตั้งกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง” หลังข่าวสั่งการ “เด้งฟ้าผ่า” ข้าราชการนอกรีต หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ชลบุรี “เซ่น” หมูเถื่อน ณ ท่าเรือแหลมฉบัง เป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับการปราบปรามหมูเถื่อนให้เด็ดขาดและถึงจุดจบที่ประตูทางเข้าคือ “ท่าเรือแหลมฉบัง”ไทยเจอปัญหาหมูขาดและราคาสูงเป็นประวัติการณ์มาตั้งแต่ต้นปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยแวดล้อมหลายด้านหลักๆ คือ การแพร่ระบาดของโรค ASF ทำให้หมูแม่พันธุ์หายไปกว่า 50% เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูจากเดิมมากกว่า 200,000 ราย เหลือ 107,000 ราย ประกอบกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้นถึง 30% น้ำมันแพงเกิน 100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล ทำให้เกษตรกรต้องแบกภาระต้นทุนทั้งวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารสัตว์และปัจจัยป้องกันโรคเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ราคาเนื้อหมูในประเทศที่สูงเกินกว่า 200 บาทต่อกิโลกรัม กลายเป็นโอกาสของพวกที่ชอบ “ทำนาบนหลังคน” หาประโยชน์บนความเดือนร้อนของคนอื่น ลักลอบนำเข้าหมูผิดกฎหมาย หรือหมูเถื่อน จากหลายประเทศ เช่น เยอรมนี สเปน เนเธอร์แลนด์ บราซิล อาร์เจนตินา โดยนำเข้ามาทั้งชิ้นส่วนแช่แข็งและเครื่องใน ทำกำไรกันแบบเร่งด่วนความสำคัญต่อประเทศไทยที่ต้องเข้าตรวจสอบพิสูจน์ทราบซากสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้ ASF เข้าไทย สร้างหลักประกันให้ประเทศไทยและการยอมรับจากนานาชาติในฐานะผู้ผลิตอาหารปลอดภัย แต่หมูเถื่อนมีโอกาสสูงมากในการนำเข้ามาซึ่งเชื้อโรค ASF และการพบแม้แต่เล็กน้อย ต้องทำลายให้หมดทั้งล็อตเพื่อความปลอดภัยของประชากรหมูไทยและคนไทยทั้งประเทศ ที่มาล็อตเดียวกันแต่ไม่เจอโรคก็ต้องทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นชนวนติดโรคระบาดซ้ำสอง และที่ประกาศว่าตรวจไม่พบเชื้อโรค ASF ในประเทศมาแล้ว 50-60 วัน จะกลายเป็นแค่ราคาคุย อย่าผิดซ้ำแล้ว“ปิดข่าว” อีกทั้งหมูเถื่อนยังมีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อนแล้วกฎหมายที่กรมปศุสัตว์ ประกาศห้ามใช้สารอันตรายชนิดนี้ เอาไว้ป้องกันใคร?...ผู้บริโภคประเทศต้นทางนำเข้า คนไทยตาย..คนเขารอด


ที่ผ่านมา ทั้งกรมปศุสัตว์และกรมศุลกากร เว้นวรรคการจับกุมกันยาวๆ มิจฉาชีพเลยย่ามใจ หมูเถื่อนเลยเฉิดฉายไม่ยำเกรง เรียกลูกค้าขายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียทุกวัน รู้ทั้งรู้พบสินค้าผิดกฎหมายที่ห้องเย็น...คำถามคือ ทำไมกรมศุลกากรตรวจไม่พบที่ด่านฯ ทั้งสองหน่วยควรนำบัญชีรายชื่อห้องเย็นมาชำแหละดูว่ามีที่ไหนน่าสงสัย เพราะที่จับได้ในห้องเย็นที่ สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร และตามต่างจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่ไกลยิ่งง่าย เพราะห้องเย็นไม่มากเท่ากับ 3 จังหวัดที่กล่าวมาแล้ว น่าจะชี้เป้าได้เป็นอย่างดี   


อย่าให้ฝันของรัฐบาลสลาย จากที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มผลผลิตสุกรให้เพียงพอต่อการบริโภคประมาณ 20-22 ล้านตัว ภายในสิ้นปี 2565 แต่หากหมูเถื่อนยัง “ครองเมือง” แบบนี้ ผู้เลี้ยงหมูคงถอนตัวถอดใจไม่ไปต่อ เลี้ยงไปก็ขาดทุนเพราะต้นทุนสูงต่อเนื่อง โดนหมูเถื่อนทุบราคาต่ำแน่ ตกนรกโดยไม่ได้ทำบาป โอกาสเดินไปข้างหน้าริบหรี่ ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2565 กรมปศุสัตว์ ตรวจสอบห้องเย็นไปแล้ว 14 แห่ง ยึดและทำลายซากสัตว์กว่า 300,000 กก. มูลค่ากว่า 67 ล้านบาท แต่บอกเลยแค่นี้มันจิ๊บจ้อย เทียบไม่ได้กับความเสียหายของประเทศตั้งแต่เกษตรกร ผู้บริโภค และเศรษฐกิจไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง