รีเซต

ดาวหางนีโอไวส์ จะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบเกือบ 7 พันปี

ดาวหางนีโอไวส์ จะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบเกือบ 7 พันปี
ข่าวสด
18 กรกฎาคม 2563 ( 02:44 )
380
1
ดาวหางนีโอไวส์ จะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบเกือบ 7 พันปี

 

เหล่านักดาราศาสตร์และนักดูดาวทั่วโลกต่างกำลังรอชมปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น "ครั้งเดียวในชั่วชีวิต" ที่ดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE) หรือ C/2020 F3 เคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 6,800 ปี

 

ดาวหางนีโอไวส์ เป็นหนึ่งในดาวหางเพียงไม่กี่ดวงในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในขณะที่มันกำลังเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และในวันที่ 23 ก.ค.นี้ จะเคลื่อนเข้าใกล้โลกที่สุด โดยอยู่ห่างออกไปราว 103 ล้านกิโลเมตร

Getty Images
ดาวหางนีโอไวส์ จะเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 23 ก.ค. (ภาพนี้ถ่ายได้จากเมืองมอลเฟตตา ทางภาคใต้ของอิตาลี)

 

 

ดาวหางนีโอไวส์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดยดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) เมื่อปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา โดยภาพถ่ายชุดนี้ถ่ายได้จากประเทศในแถบซีกโลกเหนือ คือ ประเทศในยุโรป สหรัฐฯ และแคนาดา ในช่วงเวลาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและหลังดวงอาทิตย์ตกดิน

 

Comet Neowise is visible in the night sky above Saltburn pier on July 13, 2020 in Saltburn by the Sea, England. / Getty Images

ภาพดาวหางนีโอไวส์ เหนือท้องฟ้าเมืองชายทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เมื่อ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา

ดาวหางดวงนี้เห็นได้จากทั่วทุกมุมโลก สำหรับประเทศไทยก็สามารถสังเกตได้เช่นกัน โดยเฉพาะในเดือน ก.ค.นี้

 

Comet Neowise is seen in the night sky over the Epiphany Church of the Transfiguration Monastery. at the Ryazan Monastery in Russia / Getty Images

บางคนสามารถมองเห็นดาวหางนีโอไวส์ได้ด้วยตาเปล่า (ภาพนี้ถ่ายได้ที่ประเทศรัสเซีย)

 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้แนะนำช่วงเวลาในการชมดาวหางมีดังนี้

วันที่ 1-16 ก.ค. สามารถสังเกตเห็นดาวหางนีโอไวส์ ได้ในช่วงเช้ามืด ใกล้เส้นขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น

 

วันที่ 18 ก.ค. เป็นต้นไป จะสามารถสังเกตดาวหางนีโอไวส์ได้ในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ

 

วันที่ 20-23 ก.ค. เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอประมาณ แม้เป็นช่วงแสงสนธยาก็มีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า

 

วันที่ 23 ก.ค. เป็นวันที่ดาวหางนีโอไวส์ เข้าใกล้โลกที่สุด หลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้

 

Getty Images
ภาพนี้ถ่ายได้จากเมืองลากวีลา ทางภาคกลางของอิตาลี เมื่อ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา

สมาคมดาราศาสตร์ไทย แนะนำการสังเกตดาวหางนีโอไวส์ ในวันที่ 23 ก.ค. ว่า หากสามารถมองเห็นดาวสว่างในกลุ่มดาวหมีใหญ่ได้อย่างชัดเจนก็มีโอกาสจะเห็นดาวหางได้ ให้มองหาดาวหางโดยการดูตำแหน่งดาวหางเทียบกับดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เคียง สังเกตได้ว่าดาวหางมีลักษณะแตกต่างจากดาวฤกษ์ ตรงที่หัวดาวหางฝ้ามัว และอาจมองเห็นหางฝุ่นที่สะท้อนแสงอาทิตย์ ส่วนหางแก๊สที่มีสีน้ำเงินจางกว่าหางฝุ่นมาก โดยทั่วไปจะเห็นได้ในภาพถ่ายที่เปิดหน้ากล้องรับแสงเป็นเวลานานเท่านั้น

Getty Images
ดาวหางนีโอไวส์รอดมาได้หลังจากดาวหางผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (ภาพนี้ถ่ายได้จากท้องฟ้าประเทศตุรกีเมื่อ 12 ก.ค.)

 

รู้จักดาวหางนีโอไวส์

ดาวหางนีโอไวส์ เป็นดาวหางคาบยาว ที่มีหางที่เห็นได้ชัดถึง 2 แฉก โดยจะมีหาง 2 ส่วน หางส่วนบน เรียกว่า "หางไอออน" มีความยาวมากกว่าหางส่วนล่าง แต่จะสว่างน้อยกว่า เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มแก๊สที่อยู่รอบดาวหางแล้วแตกตัวออกเป็นไอออน เนื่องจากได้รับพลังงานจากลมสุริยะ ส่งผลให้เกิดการเรืองแสงเป็นแนวยาวออกมา

 

หางส่วนล่างจะมีความฟุ้ง สะท้อนรับกับแสงของดวงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี เรียกว่า "หางฝุ่น" ซึ่งเกิดจากอนุภาคฝุ่นที่ฟุ้งกระจายจากนิวเคลียสขณะที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้ปรากฏเป็นแถบโค้งสว่างไปในทิศทางเดียวกับการโคจร

 

Getty Images
ดาวหางนีโอไวส์ เหนือเทือกเขามอนต์เซอร์รัต ในสเปน เมื่อ 9 ก.ค.

Getty Images
ดาวหางนีโอไวส์ เป็นดาวหางคาบยาว ใช้เวลา 6,800 ปี ในการโคจรครบรอบ (ภาพนี้ถ่ายได้จากเมืองฮาร์บิน ของจีน เมื่อ 9 ก.ค.)

NASA
ภาพดาวหางนีโอไวส์ ถ่ายโดยนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เมื่อ 5 ก.ค.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง