รีเซต

รู้หรือไม่? 'เช็ค' ใช้แทนเงินสดได้ สรุปในม้วนเดียวมาให้แล้ว

รู้หรือไม่? 'เช็ค' ใช้แทนเงินสดได้ สรุปในม้วนเดียวมาให้แล้ว
TeaC
1 กันยายน 2564 ( 00:25 )
920
รู้หรือไม่? 'เช็ค' ใช้แทนเงินสดได้ สรุปในม้วนเดียวมาให้แล้ว

รู้หรือไม่? 'เช็ค' ใช้แทนเงินสดได้ อีกหนึ่งดราม่าร้อนแรง ระหว่างนายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ และไฮโซลูกนัท หรือนายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย ที่เผยว่าถูกแก๊สน้ำตาจนตาบอด 1 ข้าง แต่นายสิระไม่เชื่อ พร้อมท้าดวลวางเงินเดิมพัน 1 ล้านบาท ต่อ เงิน 10 ล้านบาท จากประเด็นท้าตาบอดไม่บอดสู่ปมดราม่าซ้อนดราม่า เมื่อนายสิระขนเงินสด แต่ไฮโซลูกนัดวางเช็คเงินสด 10 ล้านบาท เพื่อรับคำท้า แต่ผลปรากฎว่า ส.ส.ดังเกิดการฉุนกลางวง พร้อมระบุ "ไม่ใช่เพื่อนเล่น ไม่ขอรับเช็คแบบนี้" แถมเกทับว่า "มีราคาแค่ 10 บาท" พร้อมหนีออจากวงสร้างความงุนงง และเกิดเสียงวิพากวิจารณ์ดราม่าร้อนดังกล่าวอย่างกว้างขวาง

 

วันนี้ TrueID ขอหยิบเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับเช็คมาให้ศึกษากัน เพราะจริง ๆ แล้วด้วยเทคโนโลยีที่ใช้งานได้ง่ายขึ้นจะช้อปปิ้ง โอนไว ก็รวดเร็วแค่ปลายนิ้ว แถมใช้เวลาไม่กี่นาที รวมทั้งไม่ต้องพกเงินสดให้ต้องกังวลว่าใครขะมาขโมย หรือทำตกลง แต่ "เช็คเงินสด" หลายคนอาจไม่คุ้นเคย และยังไม่ค่อยชิน เพราะอาจเป็นไปได้ที่ไม่ได้ใช้บ่อย หรือบางคนไม่เคยใช้เลยด้วยซ้ำ อาจยังขาดความเข้าใจและเกิดคำถามว่า

 

  • เช็คคืออะไร?
  • เช็คมีกี่ประเภท?
  • เช็คมีประโยชน์ยังไง?
  • เช็คใช้ยังไง?
  • ฯลฯ

 

ดังนั้น มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเช็คเงินสดให้มากขึ้น เพราะเมื่อมีโอกาสได้ใช้จะได้ใช้ให้ถูกต้อง เรื่องไหนต้องระมัดระวัง มาม่ะ ตามมาศึกษาให้เข้าใจกันเลยดีกว่า

 

เช็ค คืออะไร?

 

เป็นการตั้งคำถามสุดคลาสิกทุกครั้งเมื่อเราต้องการคำตอบ หลังจากพิมพ์ถาม Google ว่า "เช็ค คืออะไร?" ซึ่งจะมีหลากหลายข้อมูลจากเว็บไซต์ชั้นนำเสิร์ฟความรู้มาให้เราได้อัปเดต ซึ่งค้นพบว่า เช็คเงินสด คือ เช็ค (Cheque) คือ เอกสารในรูปแบบของตราสาร ซึ่ง "ผู้สั่งจ่าย" สั่ง "ธนาคาร" ให้ใช้เงินจำนวหนึ่งเมื่อทวงถามหรือให้ใช้ตามคำสั่งของ "ผู้รับเงิน" โดยที่ไม่ต้องพกเงินสดครั้งละมาก ๆ มีความคุ้มครองตามกฎหมาย หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ สิ่งที่เราสามารถใช้จ่ายเงินหรือชำระหนี้ให้ผู้อื่นได้แทนการยื่นเป็นเงินสดเป็นก้อนให้เจ้าหนี้ และอาจจะกำหนดในระยะเวลาในการมารับเงินของเจ้าหนี้ได้ด้วย ส่วนเจ้าหนี้จะต้องเป็นผู้นำเช็คไปขึ้นเงินด้วยตนเองที่ธนาคารเดียวกันกับบนเช็คนั่นเอง 

 

เช็ค มีกี่ประเภท? 

 

และจากข้อมูล ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ระบุว่า ในปัจจุบันเช็คนั้นมี 7 ประเภทตามกฎหมายก็คือ เช็ค​บุคคลธรรมดา เช็คนิติบุคคล แคชเชียร์เช็ค เช็คของขวัญ ดราฟต์ เช็คขีดคร่อม และ​​​เช็คขี​ดคร่อมเฉพาะ โดยขยายความให้เข้าใจของเช็คแต่ละประเภทได้ดังนี้

 

 

  1. เช็ค​บุคคลธรรมดา คือ เช็คที่บุคคลธรรมดาเป็นผู้สั่งจ่ายเงินตามเช็ค
  2. เช็คนิติบุคคล คือ เช็คที่องค์กร/บริษัทเป็นผู้สั่งจ่ายเงินตามเช็ค
  3. แคชเชียร์เช็ค คือ เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายเงินตามเช็ค และระบุชื่อผู้รับเงินอย่างชัดเจน ลูกค้าจะเสียค่าธรรมเนียมการซื้อแคชเชียร์เช็คฉบับละ 20 บาท ส่วนใหญ่ผู้รับเงินนิยมนำไปขึ้นเงินภายในจังหวัดเดียวกัน เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บ แต่หากนำไปขึ้นเงินในจังหวัดอื่นที่ไม่ใช่จังหวัดเดียวกับสาขาธนาคารที่ออกเช็คอาจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเช็ค เช่น หมื่นละ 10 บาทของจำนวนเงินตามเช็ค
  4. เช็คของขวัญ จะมีลักษณะเช่นเดียวกับแคชเชียร์เช็ค ส่วนใหญ่นิยมมอบให้แก่ผู้รับในโอกาสพิเศษ
  5. ดราฟต์ จะมีข้อแตกต่างจากแคชเชียร์เช็คและเช็คของขวัญ กล่าวคือ ผู้ซื้อดราฟต์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการซื้อตามราคาบนหน้าดราฟต์ เช่น หมื่นแรก 10 บาท หมื่นต่อไป
    หมื่นละ 5 บาท (ขั้นต่ำ 10 - 20 บาท สูงสุด 1,000 บาท) แต่ผู้รับเงินไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเมื่อนำไปขึ้นเงินในจังหวัดที่ไม่ใช่จังหวัดเดียวกับสาขาที่ออกดราฟต์

 

 

6. เช็คขีดคร่อม คือ เช็คที่ผู้รับเงินต้องนำฝากเช็คเข้าบัญชีก่อนที่จะเบิกเป็นเงินสดเท่านั้น โดยเช็คขีดคร่อมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เช็คขีดคร่อมทั่วไป กับเช็คขีดคร่อมเฉพาะ​

    • เช็คขีดคร่อมทั่วไป ผู้รับเงินต้องนำเช็คฝากเข้าบัญชีเท่านั้น โดยสามารถนำฝากเข้าบัญชีของธนาคารใดก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ​​
       ​
      • ​​​​หากเป็​นเช็คระบุ “หรือผู้ถือ” ผู้ทรงเช็คหรือผู้รับเงินสามารถนำฝากเช็คนั้นเข้าบัญชีที่ธนาคารใดก็ได้
      • หากเป็นเช็คระบุ “หรือตามคำสั่ง” ต้องนำฝากเช็คเข้าบัญชีผู้รับเงินที่ระบุในเช็ค หรือ หากนำเข้าบัญชีผู้อื่นต้องมีการเซ็นโอนสลักหลังเช็คนั้นด้วย

 

    • เป็นเช็คที่ต้องนำฝากเข้าบัญชีตามชื่อที่ระบุหน้าเช็คเท่านั้น และไม่สามารถโอนได้

 

7. ​​​เช็คขี​ดคร่อมเฉพาะ เป็นเช็คที่ระบุชื่อธนาคารไว้ภายในเส้นขนาน และผู้รับเงินจะต้องนำเช็คฝากเข้าบัญชีธนาคารตามที่ระบุไว้เท่านั้น

 

 

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเช็คมีใครบ้าง?

 

 

สำหรับผู้เกี่ยวข้องกับเช็ค จะประกอบไปด้วย 4 ส่วนด้วยกัน คือ

 

1. ผู้สั่งจ่าย คือ ผู้ที่เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร และเซ็นสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระเงินแก่ผู้รับ

 

2. ผู้รับเงิน (หรือผู้ทรงเช็ค) คือ ผู้ที่ได้รับเช็คจากผู้สั่งจ่าย และนำเช็คที่ได้ไปฝากเรียกเก็บเงินที่ธนาคาร เพื่อเบิกเป็นเงินสด หรือนำเข้าบัญชีธนาคารตนเอง

 

3. ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บ (Sending Bank) เป็นธนาคารที่ผู้รับเงินได้เปิดบัญชีไว้ เมื่อผู้รับเงินนำเช็คไปฝากเรียกเก็บเงิน หากเป็นเช็คของธนาคารอื่น ธนาคารก็จะส่งข้อมูลและภาพเช็คไปเรียกเก็บกับธนาคารผู้จ่าย และเมื่อทราบผลเรียกเก็บเงินแล้ว จึงจะนำเงินเข้าบัญชีของผู้รับเงิน

 

4. ธนาคารผู้จ่าย (Paying Bank) เป็นธนาคารที่ผู้สั่งจ่ายเช็คได้เปิดบัญชีไว้ และธนาคารจะทำหน้าที่ตรวจสอบลายเซ็น เงื่อนไขการสั่งจ่ายตามที่ผู้สั่งจ่ายได้ทำข้อตำลงไว้ และหักเงินจากบัญชชีของผู้สั่งจ่ายเงินให้แก่ธนาคารของผู้รับเงิน (หรือธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บ)

 

เอาล่ะเมื่อรู้แล้วว่าเช็คคืออะไร ใครเกี่ยวข้องกับเช็คบ้าง ลองมาดูข้อดีและข้อเสียที่ต้องระวังกันหน่อยหากใช้เช็คกัน

 

ข้อดีของการใช้เช็ค​​​

 

  • มีกำหนดเวลาในการบริหารเงินสด  เพื่อให้กิจการมีสภาพคล่องในการหมุนเวียน สามารถจัดสรรเงินสดที่มีอยู่ เพื่อนำไปใช้ในส่วนที่จำเป็นก่อน
  • มีความปลอดภัยมากกว่าการนำเงินสดไปจ่ายชำระ
  • สามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังได้ง่ายกว่าการทำรายการเงินสด  เพราะมีหลักฐานการทำธุรกรรมกับทางธนาคาร

 

ข้อควรระวังในการใช้เช็ค

 

  • เช็คมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่สั่งจ่ายบนหน้าเช็ค
  • ต้องมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายบนหน้าเช็ค
  • จำนวนเงินตัวหนังสือและตัวเลขถูก​ต้องตรงกัน

 

ค่าธรรมเนียมเช็คเท่าไหร่?


สำหรับใครที่จะใช้เช็ค อย่าลืมตรวจสอบอัตราค่าธรรมเนียมเช็คแบบต่าง ๆ ได้ที่ เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือติดต่อสอบถามกับธนาคารได้โดยตรง 

 

แล้วถ้าเช็คเด้งขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้น?

 

เชื่อว่าหลายคนได้ยินกันบ่อย ๆ ได้ยินกันผ่าน ๆ ทั้งโลกความเป็นจริงกับโลกในละครเมื่อเกิดเหตุการณ์ตัวลพะครนำเช็คเงินสดไปขึ้นที่ธนาคาร แต่เช็คนั้นไม่สามารถขึ้นเงินได้ หรือที่เรียกว่า "เช็คเด้ง" ซึ่งอธิบายง่าย ๆ คือ เงินในบัญชีกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายเช็คไม่พอกับเงินที่ระบุไว้ในเช็คนั่นเอง 

 

วิธีแก้ไขคือ ให้ผู้รับเงินติดต่อไปที่ผู้สั่งจ่ายเช็ค และนำเช็คไปติดต่อกับธนาคารใหม่ ผู้สั่งจ่ายเช็คจะต้องฝากเงินให้พอกับจำนวนเงินที่เขียนในเช็ค และต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (ค่าปรับ) ให้ธนาคารด้วย 

 

เมื่อเป็นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เชื่อว่าไม่เข้าใครออกใคร ไม่มีสัจจะในหมู่คน ดังนั้น ทางที่ดีไม่ควรประมาท ควรศึกษาการใช้เช็คอย่างถูกวิธี และเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะเช็คไม่ได้เป็นแค่กระดาษบาง ๆ เท่านั้นอย่างที่ใครบางคนเมินหนี แต่เช็คถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดการพกเงินสดเยอะ ๆ ที่วันหนึ่งอาจคาดไม่ถึงถูกขโมยเงินสด ๆ จำนวนมากได้ 

 

แต่ก็ไม่ควรมองข้ามถึงการศึกษาถึงการใช้เช็ค เพราะแม้จะมีข้อดี แต่ข้อเสียที่เราก็ต้องระวังในการใช้ด้วยเช่นกัน อย่าปล่อยเรื่องเงินทองเป็นเรื่องไกลตัวที่รู้จักแค่วิธีการออมเงิน แต่เรื่อเงินทองเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา และทำความเข้าใจ ใช้ให้ถูกต้องด้วยนะ

 

อย่าคิดแค่ว่า การพกเงินสดดีที่สุด ยิ่งในยุคโควิดแบบนี้ด้วยแล้วยิ่งต้องระวัง การรู้เท่าทันการทำธุรกรรม อัปเดตเทคโนโลยีที่นับวันพัฒนามากขึ้น และรู้ไว้เช็คใช้แทนเงินสดได้นะ ต่อไปจะได้ไม่ต้องพกเงินสดเยอะ ๆ ล่อตตาล่อใจเหล่ามิจฉาชีพทั้งหลายที่นับวันงอกเป็นดอกเห็ด

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง