รีเซต

IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์ 'การเติบโตเศรษฐกิจโลก' ปี 2024 เป็น 3.2%

IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์ 'การเติบโตเศรษฐกิจโลก' ปี 2024 เป็น 3.2%
Xinhua
19 เมษายน 2567 ( 16:51 )
30

  (แฟ้มภาพซินหัว : สำนักงานใหญ่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐฯ วันที่ 6 เม.ย. 2021) วอชิงตัน, 19 เม.ย. (ซินหัว) -- เมื่อวันอังคาร (16 เม.ย.) รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) ฉบับใหม่จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกในปี 2024 เป็นร้อยละ 3.2 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ในเดือนมกราคม 0.1 จุดปิแอร์-โอลิเวียร์ กูรินชาส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนฯ แถลงข่าวระหว่างการประชุมฤดูใบไม้ผลิประจำปี 2024 ของกองทุนฯ และธนาคารโลกว่าแม้จะมีการคาดการณ์ที่ไม่ดี แต่เศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวได้อย่างน่าทึ่ง โดยมีการเติบโตที่มั่นคง และอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงเร็วเกือบเท่ากับขาขึ้น ขณะที่ตัวชี้วัดส่วนใหญ่แสดงถึงการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (soft landing)กูรินชาสกล่าวว่าแม้จะมีแผลเป็นทางเศรษฐกิจ (economic scarring) น้อยลงจากวิกฤตต่างๆ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แต่กองทุนฯ คาดว่าอาจมีแผลเป็นเพิ่มขึ้นสำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงดิ้นรนเพื่อพลิกฟื้นจากโรคระบาดใหญ่และวิกฤตค่าครองชีพ และแม้ว่าจะมีการพัฒนาที่ดีเหล่านี้ แต่ยังคงมีความท้าทายจำนวนมากที่ต้องอาศัยการจัดการอย่างเด็ดขาดรายงานเผยว่าการคาดการณ์ล่าสุดสำหรับการเติบโตทั่วโลกในระยะ 5 ปีต่อจากนี้ อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบหลายทศวรรษ พร้อมระบุถึงความเสี่ยงเชิงลบหลายประการ ได้แก่ ราคาพุ่งขึ้นครั้งใหม่อันเนื่องมาจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ อาทิ ความเสี่ยงจากวิกฤตยูเครน และความขัดแย้งระหว่างกาซา-อิสราเอล กอปรกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในตลาดแรงงานที่ตึงตัว ซึ่งอาจเพิ่มการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยและลดราคาสินทรัพย์ได้กองทุนฯ คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั่วโลกจะลดลงจากค่าเฉลี่ยรายปีที่ร้อยละ 6.8 ในปี 2023 เหลือร้อยละ 5.9 ในปี 2024 และร้อยละ 4.5 ในปี 2025 โดยประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วกลับคืนสู่เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อได้เร็วกว่าตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนากูรินชาสกล่าวว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเมื่อไม่นานนี้เป็นผลมาจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และอัตราเงินเฟ้อภาคบริการยังคงอยู่ในระดับสูงรายงานระบุว่าอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเร็วหรือช้าต่างกันในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหญ่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของสกุลเงิน ซึ่งทำให้ภาคการเงินเผชิญกับแรงกดดัน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยสูงอาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ของสินเชื่อบ้านประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ และครัวเรือนต่างๆ ต้องต่อสู้กับภาระหนี้สินที่สูง จนทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเงิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง