รีเซต

เปิดคลังแสง "ทัพอากาศจีน"

เปิดคลังแสง "ทัพอากาศจีน"
TrueID
17 มิถุนายน 2564 ( 12:26 )
626

จากประเด็นข่าวที่สำนักข่าว รอยเตอร์ส รายงานว่า เมื่อวันอังคารที่ 15 มิ.ย. 2564 รัฐบาลไต้หวันออกมาเปิดเผยว่า เครื่องบินของกองทัพอากาศจีนถึง 28 ลำ ซึ่งรวมถึงเครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีขีดความสามารถติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ บินเข้าสู่เขตสำแดงตนป้องกันภัยทางอากาศ (air defence identification zone : ADIZ) ของไต้หวัน และนี่ถือเป็นการบุกรุกครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา วันนี้ trueID จะเปิดคลังแสงของทัพอากาศจีนให้ทุกท่านได้รู้กัน

 

คลังแสง "ทัพอากาศจีน" มีอะไรบ้าง

 

เฉิงตู เจ-10 (Chengdu J-10)

 

 

CC BY 2.0

 

เป็นเครื่องบินขับไล่หลากหลายบทบาทขนาดเบาและเป็นกำลังหลักของกองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชนในปัจจุบัน เป็นเครื่องบินรบรุ่นที่ 4.5 สร้างโดยโรงงานสร้างอากาศยานเฉิงตูแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เจ-10 ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ความคล่องตัวสูงจากการใช้แผนแบบปีกสามเหลี่ยม และคานาร์ด สามารถติดตั้งอาวุธได้หลายหลายทั้งอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้น

 

รุ่นแรกๆของ J-10 นั้น ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบแฟนของรัสเซีย ไลยูก้า แซตเทิร์น AL-31FN ในอนาคตนั้น ทางประเทศจีนมีโครงการติดตั้งเครื่องยนต์ในประเทศ WS-10A (WoShan-10A) Taihang ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้แกนโมดูลของเครื่องยนต์พลเรือน CFM-56 เป็นต้นแบบ แต่จนปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) อยู่ในขั้นตอนการผลิตขั้นเริ่มต้น โปรเจกต์ล่าช้ากว่าแผนงานร่วมสิบปี ทำให้ยังต้องพึ่งพาเครื่องยนต์จากรัสเซียอยู่ต่อไป

 

สมรรถนะของเครื่องบินรบแบบ J-10 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์รัสเซียนั้น ใกล้เคียงกับ F-16C/D บล็อกแรกๆ วิเคราะห์โดยนักวิเคราะห์ทางทหารตะวันตก แต่ราคาถูกกว่า ในปี 2014 ทางการจีนได้ขออนุญาตทางการรัสเซียเพื่อให้ส่งออกเครื่องยนต์รุ่นล่าสุด AL-31FN Series 3 สำหรับการพัฒนาสมรรถนะของ J-10 ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังได้บรรจุเรดาร์ AESA แบบใหม่ที่ทางการจีนพัฒนาขึ้นเองเข้าไปด้วยบปี และในปี 2015 จากการประเมินสมรรถนะของเครื่องบินรบแบบ J-10 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์รัสเซียนั้น ทางอาร์เจนตินามีความสนใจในเครื่องบินรุ่นนี้ เนื่องจากว่า นอกจากจะมีประสิทธิภาพเท่าเทียมเครื่องจากตะวันตกในพิกัดเดียวกัน แต่มีราคาถูกกว่า

 

 

เฉิงตู เจ-20 (Chengdu J-20)

 

CC BY 4.0

 

หรือ J-20 เป็นเครื่องบินรบรุ่นใหม่ล่าสุดและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุดของกองทัพจีน  ได้ชื่อว่าเป็น อากาศยานล่องหน (stealth aircraft) ยุคที่ 5 เนื่องจากมีพื้นผิวที่สามารถหลบหลีกการตรวจจับของเรดาร์ภาคพื้นดินและเป็นเครื่องบินรบเหนือเสียง  พัฒนาโดย บริษัทเฉิงตู แอร์คราฟต์ อินดัสทรีส์ กรุ๊ป และมีศักยภาพเทียบเท่ากับเครื่องบินขับไล่ที่มีความทันสมัยสูงสุดในปัจจุบันอย่างเครื่องบินเอฟ-22 แรปเตอร์และเอฟ-35 ไลท์นิง ทู ของบริษัทล็อคฮีด มาร์ติน ของสหรัฐฯ และเครื่องบินรบแบบล่าสุด Sukhoi PAK FA ของกองทัพอากาศรัสเซีย 

 

 

ชาร์ป สอร์ด โดรน (Sharp Sword Drone) 

 

Cr. globalsecurity.org

 

เป็นอากาศยานไร้คนขับเพื่อการจู่โจมและการสอดแนม ซึ่งจัดอยู่ในหมวดโดรน UCAV หรือ Unmanned Combat Air Vehicle ที่สามารถเล็ดรอดการตรวจจับของเรดาร์ และสามารถควบคุมการบินจากระยะไกล เป็นโดรนจู่โจมที่สะท้อนความทันสมัยของทัพฟ้าจีนได้เป็นอย่างดี

 

 

เครื่องบินทิ้งระเบิด เอช-6เอ็น (H-6N) 

 

CC BY 4.0

 

เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่สามารถบินระยะไกล 12,000 กิโลเมตรโดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ  ผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหมเปิดเผยว่า เครื่องบินรุ่นนี้ได้รับการออกแบบให้สามารถติดขีปนาวุธเพื่อการโจมตีเรือรบ ถือเป็น ‘มังกรฟ้า’ อีกรุ่นที่สะท้อนให้เห็นแสนยานุภาพการโจมตีที่กว้างไกลขึ้นของทัพอากาศจีน

 

 

ฮาร์บิน แซด-20 (Harbin Z-20) 

 

Harbin -19 / CC BY-SA 3.0

 

เริ่มบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดกลาง มีน้ำหนักเครื่องขึ้นสูงสุดในช่วง 10 ตัน (22,000 ปอนด์) Z-20 สามารถทำงานได้จากตำแหน่งที่สูงกว่า 4,000 ม. (13,000 ฟุต) เช่นเดียวกับจากเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง ถือได้ว่าสามารถเทียบเคียงได้กับเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky UH-60 Black Hawk ที่ผลิตในสหรัฐฯซึ่งSikorsky S-70C-2รุ่นพลเรือนถูกใช้โดยกองทัพปลดแอกประชาชนมาตั้งแต่ปี 1984 กล่าวกันว่าการออกแบบมีพื้นฐานมาจากเฮลิคอปเตอร์ UH-60 แบล๊คฮอร์ก ของกองทัพสหรัฐฯ

 

 

เครื่องบินรบล่องหน FC-31 ไจเออร์ฟอลคอน

 

CC BY-SA 4.0

 

เครื่องบินยังคงใช้เครื่องยนต์ทวินเเทอร์โบแฟน WS-13 ของ FC-31 รุ่นเก่า ซึ่งเครื่องยนต์นี้มีพื้นฐานการออกแบบมาตั้งแต่สมัยสหภาพโซเวียต ยุคทศวรรษ 1970 และถูกมองว่ามีข้อจำกัดทั้งในแง่การปฏิบัติภารกิจของเครื่องบินขับไล่และศักยภาพในการล่องหน ผลิตโดย เอเวียชั่น อินดัสตรี คอร์ปอเรเชั่น ออฟ ไชน่า (AVIC) รัฐวิสาหกิจของจีน

 

เป็นเครื่องบินล่องหนตัวที่ 2 ที่จีนพัฒนาขึ้นเอง ต่อจาก J-20 โดยมันขึ้นบินในเที่ยวบินปฐมฤกษ์เมื่อปี 2555 และเคยไปปรากฏตัวอยู่ตามงานแสดงอากาศยานหลายงาน ในความหวังดึงดูดผู้ซื้อต่างชาติ โดยทางเอเวียชั่น อินดัสตรี คอร์ปอเรเชั่น ออฟ ไชน่า หวังว่ามันจะเป็นผู้ท้าชิงของ F-35 ของล็อกฮีด มาร์ติน บริษัทสัญชาติสหรัฐ

 

นักวิเคราะห์ ชี้ว่าผู้พัฒนาได้ปรับเปลี่ยนโฟกัสหันไปมุ่งเน้นเครื่องบินขับไล่ล่องหน เพื่อใช้ปฏิบัติการทางทะเล เครื่องบินขับไล่ล่องหนใหม่ FC-31 ไจเออร์ฟอลคอน อาจเหมาะกับเรือบรรทุกเครื่องบินยุคใหม่ของกองทัพเรือจีน โดยคาดหมายกันว่าเรือบรรทุกเครื่องบินยุคถัดไปของจีนจะมีระบบดีดส่งอากาศยานและจำเป็นต้องมีเครื่องบินล่องหนที่มีความล้ำสมัยมากกว่า J-15 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นเดียวที่ประจำการอยู่บนเรือบรรทุกเครื่องบินในเวลานี้

 

สำหรับ FC-31 ไจเออร์ฟอลคอน มีน้ำหนักเทคออฟสูงสุด 25 ตัน มีพิสัยประจัญบาน 1,200 กิโลเมตร และทำความเร็วสูงสุดได้ 1.8 มัค หรือ 2,205กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนทาง F-35 ของค่ายล็อกฮีด มาร์ติน บริษัทสัญชาติสหรัฐฯ มีน้ำหนักเทคออฟสูงสุด 27 ถึง 32 ตัน มีพิสัยประจัญบานสูงสุด 2,200 กิโลเมตร และความเร็วสูงสุด 1.6 มัค ทั้งนี้ FC-31 สามารถบรรทุกอาวุธได้ 8 ตัน ส่วน F-35 ของสหรัฐฯ บรรทุกได้ 6.8 ตัน

 

 

Z-19E เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธ

 

Cr.xinhua

 

Z-19E ได้รับการออกแบบและผลิตขึ้นโดยกลุ่มบริษัท AVIC Harbin Aircraft Industry ซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลเฮยหลงเจียง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน

เป็นเครื่องบินที่มีน้ำหนักเบา โดยมีน้ำหนักขณะวิ่งขึ้นสูงสุดเพียง 4.25 ตัน จึงมีข้อได้เปรียบในเรื่องของอัตราบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ ความเร็วในการบิน เพดานบิน และระยะบิน ลำตัวเครื่องแคบ
 
ที่นั่งเรียงกันนั้นเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่เน้นเพื่อการส่งออกแบบแรกของจีน โดยรูปแบบห้องนักบินสามารถให้นักบินประจำเครื่องทั้งสองนายมีวิสัยทัศน์มุมมองที่ดี
 
ถูกพัฒนามาเพื่อการโจมตียานเกราะและเป้าหมายภาคพื้นดินอื่นๆ เห็นได้จากการบินทดสอบที่มีการติดตั้งอาวุธทั้ง กระเปาะปืนกลอากาศ, กระเปาะจรวด และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถัง
 
ด้วยขนาดที่เล็ก ความคล่องตัวเป็นเลิศ และประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีของเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ จะช่วยให้สามารถใช้ปฏิบัติภารกิจได้หลากหลาย
 
 

 

 

ข้อมูล : wikipedia , xinhua

ภาพโดย WikiImages จาก Pixabay 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง