รีเซต

เอสเอ็มอีอ่วม! เสี่ยงเจ๊งเซ่นโควิด-19 ชี้กว่า 3 ล้านรายเข้าไม่ถึงสินเชื่อ ขาดหลักประกันแบงก์ไม่ปล่อยกู้

เอสเอ็มอีอ่วม! เสี่ยงเจ๊งเซ่นโควิด-19 ชี้กว่า 3 ล้านรายเข้าไม่ถึงสินเชื่อ ขาดหลักประกันแบงก์ไม่ปล่อยกู้
ข่าวสด
26 พฤศจิกายน 2563 ( 16:42 )
75
เอสเอ็มอีอ่วม! เสี่ยงเจ๊งเซ่นโควิด-19 ชี้กว่า 3 ล้านรายเข้าไม่ถึงสินเชื่อ ขาดหลักประกันแบงก์ไม่ปล่อยกู้

เอสเอ็มอีอ่วมเสี่ยงเจ๊ง - นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจการประเมินสถานะธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) จากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ โควิด-19 ว่า ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กมีความเสี่ยงสูง หากสถานการณ์เศรษฐกิจยังคงเป็นอยู่แบบในปัจจุบัน ไม่มีการช่วยเหลือและยังไม่สามารถเข้าถึงสภาพคล่องได้ 72.81% มีโอกาสที่จะปิดกิจการลง ซึ่งเอสเอ็มอีในปัจจุบันกว่า 3 ล้านราย ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อค่อนข้างต่ำ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีการออกมาตรการช่วยเหลือ เป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการกู้เงิน ทำให้สถาบันการเงิน ไม่ปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากเกรงจะทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบมากขึ้น ส่งผลกับการจ้างแรงงาน

 

ผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการในการฟื้นฟู กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มกำลังซื้อและช่วยเหลือแรงงานให้ยังคงอยู่ได้ โดยในส่วนของภาคเอกชนเองพร้อมที่จะสนับสนุนการทำงานในเรื่องของการจ้างงานอย่างเต็มที่

 

โดยมีการประเมินว่าผู้ประกอบการจะใช้เวลาเฉลี่ย 3.8 ปี จึงจะสามารถฟื้นตัวและกลับมาประกอบธุรกิจได้เหมือนกับในช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19

 

ด้านนายสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการรับวิถีนิวนอร์มัลนั้น ต้องยอมรับว่าจากวิกฤตโควิด-19 เศรษฐกิจมหภาคได้รับผลกระทบ ทำให้ต้องมีการลดการใช้จ่ายรวมถึงรายได้จากภาคการท่องเที่ยวลดลง กำลังซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลงตามไปด้วย ส่งผลทำให้การผลิตของผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดปริมาณการผลิตลง

 

และหากต้องการให้ธุรกิจยังสามารถอยู่ได้ จะต้องเร่งปรับตัวโดยเร็ว ดูแลไม่ให้ขาดสภาพคล่องและเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานให้มากขึ้น ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กต้องยอมรับว่าเวลานี้ไม่สามารถปรับตัวเพื่อรับกับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ เพราะไม่เท่าทันเทคโนโลยีที่มีการปรับเข้าสู่ดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ

 

ด้านนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจบริการขยายสาขาได้รับผลกระทบต่อธุรกิจประกันภัยเป็นหนึ่งในธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบในเชิงบวกช่วงไตรมาส 2 ซึ่งมีการล็อกดาวน์งดออกนอกบ้านทำให้อุบัติเหตุน้อยลงและสำหรับการประกันภัยโควิค-19 นั้น จากเบี้ยประกันภัยจำนวน 4,000 ล้านบาท มีการจ่ายสินไหมเพียง 100 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางปีหน้าเชื่อว่าเศรษฐกิจจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ หากรัฐบาลยังอัดฉีดเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจที่ยังคงอยู่ในระบบสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่หลังจากมีการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ใช้อย่างกว้างขวางแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง