รีเซต

ไปงาน  Motor Show 2023 แล้วอยากมี รถคันแรก ต้องทำไง?

ไปงาน  Motor Show 2023 แล้วอยากมี รถคันแรก ต้องทำไง?
Ingonn
1 กุมภาพันธ์ 2566 ( 11:46 )
732
ไปงาน  Motor Show 2023 แล้วอยากมี รถคันแรก ต้องทำไง?

เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงได้มีโอกาสไปเดินเล่นภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 44 (Bangkok International Motor Show ครั้งที่ 44 ) ณ อาคารชาเลนเจอร์ ฮอลล์ เมืองทองธานีกันมาบ้างแล้ว ซึ่งภายในงานมีรถสวยและส่วนลดมากมาย จนอยากได้รถสักคันมาเป็นของตัวเอง

 

Motor Show 2023 

 

วันนี้ True ID จึงขอพาทุกคนมาเช็คลิสต์ตัวเองให้ดีก่อนซื้อรถคันแรก และเตรียมวางแผนให้พร้อมสำหรับมือใหม่หัดขับ มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

 

วางแผนก่อนซื้อให้ครบ จบทุกปัญหา


1. ความจำเป็นในการซื้อรถ

  • ถ้าเรารู้ความจำเป็นในการซื้อรถแล้ว เราก็สามารถเลือกรถได้ตรงตามความต้องการ เพื่อให้การใช้งานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ 

 

2. สถานะทางการเงิน

  • มีเงินพร้อมที่จะดาวน์รถเท่าไหร่? มีเงินเดือนมากพอสำหรับผ่อนรถและใช้จ่ายในส่วนต่างๆหรือยัง? และสถานะของตัวเองเหมาะกับรถยนต์ราคาเท่าไหร่? เป็นต้น


3. ค่าใช้จ่ายต่างๆหลังการซื้อรถ

  • นอกจากภาระค่าผ่อนรถแล้ว ยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับรถยนต์ซึ่งจะตามมาทันทีหลังตัดสินใจซื้อ


4. ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์

  • มูลค่าของรถยนต์จะลดลงตามอายุการใช้งาน ยิ่งมีอายุมากเท่าไหร่  ราคาขายในอนาคตก็ลดลงมากขึ้น 

 

5. วิธีการซื้อรถยนต์

  • จะซื้อรถด้วยวิธีไหน ผ่อนแบบไหน  เช่น

 

ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อรถคิดด้วยวิธี Flat Rate โดยคิดจากมูลค่าของเงินกู้ก้อนแรกเสมอ

สมมุติ ซื้อรถ 750,000 บาท วางดาวน์ไปแแล้ว 250,000 บาท ต้องกู้เพิ่ม 500,000 บาท ธนาคารคิดดอกเบี้ย 5% ต่อปี ระยะเวลา 5 ปี (5 งวด)

 

เท่ากับว่าต้องเสียดอกเบี้ย 500,000 x 5% = 25,000 บาทต่อปี ดอกเบี้ยของ 5 ปี ก็ 125,000 บาท เท่ากับว่าเป็นหนี้ธนาคาร 625,000 บาท คิดเป็นรายปี ก็ต้องจ่ายหนี้ปีละ 125,000 บาท เดือนละ 10,000 กว่าบาท

 

ซื้อรถแล้วยังไม่จบต้องจ่ายต่อ


นอกจากค่าผ่อนรถยนต์แล้วยังมีอีก7 ค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับการซื้อรถคันแรก ดังนี้

 

1. เงินดาวน์และค่างวดผ่อนรถ

  • อัตราดอกเบี้ยรายปีและระยะเวลาการผ่อนนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละที่ แต่ยิ่งจ่ายเงินดาวน์มากเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยและค่างวดที่ต้องผ่อนก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น 

 

2. ค่าเชื้อเพลิง

  • ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรือแก๊ส เป็นอีกค่าใช้จ่ายที่คนมีรถจะต้องจ่ายมากและบ่อยที่สุด 

 

3. ค่าบำรุงรักษา

  • รถยนต์จำเป็นที่จะต้องมีการเช็กสภาพการใช้งานอยู่เป็นระยะ โดยจะมีการตรวจสอบทุกๆ 10,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 6-12 เดือน

 

4. ค่าภาษี

  • ภาษีของรถแต่ละรุ่นมีราคาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด กำลังของเครื่องยนต์ และอายุการใช้งานของตัวรถ และการใช้รถที่ไม่ได้จ่ายภาษีมีความผิดทางกฏหมาย มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท ซึ่งถือว่าแพงกว่าค่าภาษีมาก ถ้าไม่ได้ชำระติดต่อกันเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับการใช้งาน

 

5. ค่า พ.ร.บ. รายปี

  • เป็นประกันภัยภาคบังคับโดยกฏหมายที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะกับผู้ขับขี่พ.ร.บ. ซึ่งคุ้มครองเพียงค่ารักษาจากอาการบาดเจ็บเท่านั้น 

 

6. ประกันภัยรถยนต์

  • ประกันภัยรถยนต์มีราคาและการให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป โดยประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองสูงสุด ครอบคลุมความเสียหายทั้งหมด ไม่ว่าจะเกิดจากคู่กรณีหรือผู้ขับขี่เอง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งออกรถมามากๆ แต่เบี้ยประกันรายปีมีราคาค่อนข้างสูง


7. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

  • อาจเป็นค่าใช้ฉุกเฉินเพิ่มเติมต่างๆ เช่น ค่าล้างรถ อุปกรณ์ตกแต่ง กล้องติดรถยนต์ ค่าทางด่วน ฯลฯ

 

 

เช็คให้ครบ ก่อนรับรถใหม่


ทางศูนย์บริการก็จะมีใบเช็คลิสต์เอาไว้ให้อยู่แล้ว แต่การตรวจสอบรถใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ควรทำด้วยตัวเองซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นผลประโยชน์ และเป็นสิ่งที่คุณควรทำอย่างยิ่งก่อนที่คุณจะเซ็นต์รับรถ 

 

1.ตรวจสอบตัวถังรอบคัน


            ▪ ลองเปิด/ปิดประตูทุก กระโปรงหน้ารถ และเช็คระบบล็อครถในทุกๆ จุด
            ▪ ตรวจสอบรอยสนิม ดูขอบยางประตูว่าติดแน่นดี หรือไม่


2.เช็คกระจกทุกจุด


            ▪ เปิด/ปิดกระจกทุกๆ บาน ให้ขึ้นสุดลงสุด และต้องไม่มีรอยร้าวบนกระจก
            ▪ ลวดละลายฝ้ากระจกหลังจะต้องไม่มีรอยขาด และสามารถใช้งานได้ดี
            ▪ ตรวจสอบยางปัดน้ำฝนยังอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่ ระบบฉีดล้างกระจกสามารถใช้ได้หรือไม่
            ▪ กระจกมองข้างปรับได้ตามปกติหรือไม่ พับเก็บได้หรือไม่


3.ยาง และล้อสภาพดี


            ▪ ตรวจดูว่ายางยังนิ่มอยู่ไหม ล้อไม่มีรอยบิ่นหรือมีรอยขูดขีดใดๆ
            ▪ อุปกรณ์ฉุกเฉินต้องมีครบ


4.ระบบเครื่องยนต์


            ▪ เครื่องยนต์เดินเรียบดี ระบบระบายความร้อนใช้ได้ดี
            ▪ เกียร์ใช้ได้ครบ ไม่หลวม ไม่เสียงดัง
            ▪ พวงมาลัยเลี้ยวแล้วไม่ดัง ปล่อยมือแล้วรถไม่เอียง
            ▪ ของเหลวในเครื่องอยู่ในระดับที่ถูกต้อง ไม่มีรอยรั่ว


5.ภายใน


            ▪ แอร์เย็นฉ่ำ เบาะไม่ขาด และสามารถปรับได้ตามที่กำหนด
            ▪ เข็มขัดนิรภัยใช้งานได้ดี
            ▪ เครื่องเสียงสามารถใช้ได้ และลำโพงดังทุกจุด


6.ระบบไฟ


            ▪ ไฟหน้า ไฟสูง ไฟหรี่ สามารถใช้ได้
            ▪ ไฟเลี้ยว ไฟเบรค ไฟถอย สามาถใช้งานได้ดี


7.เอกสาร


            ▪ สมุดทะเบียน
            ▪ ใบโอนรถ
            ▪ เอกสารประกันภัย / พรบ.
            ▪ ใบเสร็จค่ามัดจำป้ายแดง 3000 บาท
            ▪ ป้ายแดงมีตรา ขส.
            ▪ คู่มือรถ
            ▪ เอกสารการรับประกันอุปกรณ์รถ
            ▪ เอกสารการรับประกันเช็คระยะฟรี
            ▪ เอกสารการรับประกันอุปกรณ์ตกแต่ง

 

รถ 1 คันมีค่าใช้จ่ายมากกว่าที่เราคิด เพราะฉะนั้นก่อนจะซื้อรถสักคนอย่าลืมวางแผนทางการเงินให้พร้อมและหมั่นตรวจสอบคุณภาพรถอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รถมีอายุการใช้งานที่สมบูรณ์และยาวนาน

 

 

ข้อมูลจาก ธนาคารกรุงศรี, เงินติดล้อ, Money Guru

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง