รีเซต

การศึกษาชี้ รอยเท้ามนุษย์ในนิวเม็กซิโก อาจเป็นร่องรอยเก่าสุดของมนุษย์ในทวีปอเมริกา

การศึกษาชี้ รอยเท้ามนุษย์ในนิวเม็กซิโก อาจเป็นร่องรอยเก่าสุดของมนุษย์ในทวีปอเมริกา
Xinhua
6 ตุลาคม 2566 ( 18:18 )
76

ฮิวสตัน, 6 ต.ค. (ซินหัว) -- ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารไซแอนซ์ (Science) เมื่อวันพฤหัสบดี (5 ต.ค.) เปิดเผยว่าฟอสซิลรอยเท้ามนุษย์ซึ่งถูกค้นพบในรัฐนิวเม็กซิโกของสหรัฐฯ อาจเป็นหลักฐานทางตรงเก่าแก่ที่สุดอันแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของมนุษย์ในทวีปอเมริกา

การศึกษาระบุว่ารอยเท้าดังกล่าวซึ่งถูกพบริมก้นทะเลสาบโบราณในอุทยานแห่งชาติไวท์ แซนด์สของรัฐนิวเม็กซิโก คาดว่ามีอายุย้อนกลับไปช่วง 21,000-23,000 ปีก่อน ในยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย (Last Ice Age) โดยช่วงเวลาที่ได้รับการยอมรับวงกว้างในฐานะยุคสมัยแรกสุดที่มนุษย์เริ่มปรากฏในทวีปอเมริกาคือเมื่อประมาณ 16,000 ปีก่อนการตรวจหาอายุด้วยคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon dating) ซึ่งอาศัยเมล็ดจากพืชหญ้าใต้น้ำที่มีชื่อว่ารูปเปีย ซีร์โรซา (Ruppia cirrhosa) มาทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายประจำช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ได้ถูกรายงานครั้งแรกในวารสารไซแอนซ์เมื่อปี 2021 และถูกตั้งคำถามในแวดวงวิชาการ โดยคณะนักวิทยาศาสตร์หลายคนเตือนว่าต้นแม่พันธุ์อาจดูดซับคาร์บอน-14 (carbon-14) แต่โบราณจากทะเลสาบดังกล่าว และให้ผลลัพธ์ที่บิดเบือนความเก่าแก่มากเกินไป

การศึกษาล่าสุดนี้แสดงให้เห็นว่านอกเหนือจากวิธีการตรวจหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีแล้ว วิธีการแบบใหม่พร้อมเทคนิคการหาอายุเพิ่มเติมอีกสองเทคนิคสามารถช่วยยืนยันความเก่าแก่ของรอยเท้ามนุษย์เหล่านี้ได้ด้านเจฟฟรีย์ พิกาตี นักธรณีวิทยาจากสำนักสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมการศึกษาฯ ชี้ว่าอายุที่ได้จากวิธีการเหล่านี้ไม่แตกต่างจากอายุเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมของเราในเชิงสถิติอย่างไรก็ดี กลุ่มคนที่มีข้อสงสัยบางส่วนกล่าวว่าพวกเขายังต้องการหลักฐานเพิ่มเติมประกอบคำกล่าวอ้างที่ดูจะเกินธรรมดานี้หากการค้นพบครั้งใหม่นี้ได้รับการยืนยันแล้ว คณะนักโบราณคดีจะต้องพิจารณาเส้นทางที่มนุษย์อาจใช้เข้าสู่ทวีปอเมริกาใหม่อีกครั้ง รวมถึงสถานที่สำหรับมองหาร่องรอยของผู้อยู่อาศัยที่เก่าแก่ที่สุด

(ภาพจากกรมอุทยานแห่งชาติสหรัฐฯ : อุทยานแห่งชาติไวท์ แซนด์ส ในรัฐนิวเม็กซิโกของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นแหล่งรวมฟอสซิลรอยเท้ามนุษย์ขนาดใหญ่ที่สุด)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง