รีเซต

รำลึก 'โครงการตามแนวพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9

รำลึก 'โครงการตามแนวพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9
TeaC
13 ตุลาคม 2565 ( 08:48 )
278
ข่าววันนี้ 13 ตุลาคม 2565 ร่วมน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ "ในหลวงรัชกาลที่ 9" วันนี้จะพาไปรู้จักโครงการตามแนวพระราชดำริ องค์ความรู้ที่ให้เราทุกคน ชุมชน หน่วยงาน หรือองค์กร สามารถนำไปพัฒนาเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน และพึ่งพาตัวเองได้ จะมีองค์ความรู้อะไรบ้าง มาทำความรู้จักกันเลย
 
 

รำลึก 'โครงการตามแนวพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9

 

1. โครงการกังหันชัยพัฒนา

ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ปัญหาสิ่งแวดล้อม" เป็นปัญหาที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะปัญหาน้ำเน่าเสียที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ดังนั้น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 อย่าง "โครงการกังหันชัยพัฒนา" ถือเป็นองค์ความรูที่เราทุกคนสามารถนำสิ่งนี้มาพัฒนาในเรื่องของการช่วยบำบัดน้ำเน่าเสียในพื้นที่ให้กลายเป็นน้ำดีขึ้นได้ โดยคุณสมัติของกันหันเมื่อติดตั้งในพื้นที่ กังหันจะช่วยวิดน้ำ และตัดขึ้นไปบนผิวน้ำแล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม เพื่อให้น้ำได้มีออกซิเจนที่คนในชุมชนสามารถใช้น้ำดีในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเกษตรกรรม รดน้ำพืืชผล และยังเป็นการช่วยรักาาระบบนิเวศให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ร่วมกันได้อีกด้วย

 

2. โครงการปลูกหญ้าแฝก

เมื่อเอ่ยถึง "ดิน" อีกหนึ่งทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ในแง่การทำเกษตรกรรม พืชผลหลากชนิด เกษตรกรในชุมชน ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับดิน แม้ว่าดินมีประโยชน์มากมาย แต่ดินก็เสื่อมคุณภาพได้ด้วยเช่นกัน จากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งจากภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการชะล้างพังทลายหน้าดิน รวมถึงฝีมือมนุษย์ที่ทำการเกาตรกรรมที่ไม่ถูกวิธี และลักลอบตัดต้นไม้ทำลายป้า

 

ดังนั้น หากชุมชนอยากรักษาหน้าดิน นอกจากปรับวิธีการทำลายป่า ยังสามารถนำทฤษฎีเป็นต้นแบบจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 อย่าง "โครงการปลูกหญ้าแฝก" เพียงปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ของชุมชน ด้วยคุณสมบัติของหย้าแฝกเป็นพืชที่ระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดิน ข้อดีช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี ซึ่งทำให้เกิดดินดีเหมาะแก่การปลูกพืช หรือทำเกษตรกรรมได้

 

3. โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

ทุกวันนี้ยังคงมีเกษตรกรบางคนที่ประสบปัญหาคือ เนื้อที่ถือครองน้อย ปลูกข้าวได้เพียงปีละครั้ง บ่อน้ำที่ขุดไว้บางปีไม่เพียงพอ ซึ่งหากเกตรกรหรือคนในชุมชนที่มีพื้นที่การเกษตรอยากเลี้ยงตนเองได้พอเพียง มีหนึ่งกรอบแนวคิดจาก "โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่" ของในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่ทุกคนนำปฏิบัติได้ด้วยการแบ่งที่ดินที่มีแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่

 

1) นาข้าว ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อให้เพียงพอกับการบริโภคในครอบครัว
2) พืชผสมผสาน ไม้ยืนต้น ผักผลไม้ เพื่อใช้ประกอบอาหารประจำวัน 
3) แหล่งน้ำ ขุดสระกักเก็บน้ำในฤดูฝนเพื่อให้ใช้พอกับการเพาะปลูกตลอดปี
4) ที่อยู่ และอื่นๆ เช่น ลานตาก โรงเรือน ถนน กองปุ๋ยหมัก เป็นต้น

 

และนี่คือกรอบแนวคิดที่ทำเมื่อนำองค์ความรู้มาปรับใช้ทั้งชุมชน ก็จะเข้มแข็ง และยังเป็นการทำให้รู้จักการ “พึ่งพาตัวเองได้” ให้ใช้ชีวิตด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

 

4. โครงการแก้มลิง

"โครงการแก้มลิง" อีกหนึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ ๙ เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม ช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในชุมชนหลายพื้นที่ได้มีน้ำกินน้ำใช้ ปลูกพืช สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว

 

โดยเพียงแค่ผู้นำในชุมชนนำองค์ความรู้ไปปรับใช้เพื่อจัดการบริหารน้ำในแต่ละพื้นที่ที่รับผิดชอบ รวมทั้ง ตัวเราเองสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจในการใช้น้ำอย่างพ่อเพียง พร้อมนำความรู้มาปรับพฤติกรรมในการใช้น้ำ ซึ่งน้ำคือทรัพยากรที่เราต้องตระหนักในการรู้จักใช้ รู้จักรักษา โครงการดังกล่าวจะช่วยจุดประกายให้รัก(ษ์) น้ำมากยิ่งขึ้น

5. โครงการห่มดิน

อีกหนึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่เป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ดิน “โครงการห่มดิน” ที่มีประโยชน์ให้เราทุกคนที่มีพื้นที่เกษตรกรรมได้รู้จักการรักษาหน้าดิน ซึ่งมีขั้นตอนที่เราทุกคน หรือชุมชนสามารถนำมาปฏิบัติ ลงมือทำ หรือสาธิตบอกต่อคึนในชุมชนได้เลย โดยใช้ฟาง และเศษใบไม้มาห่มดิน เพื่อทำให้ดินมีความชุ่มชื้นจุลินทรีย์ทำงานได้ดี ส่งผลให้ดินบริเวณนั้นทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ และนี่คือองค์ความรู้ที่ทำได้จริง ๆ 

 

6. โครงการช่างหัวมัน

เชื่อว่าเกษตรกรบางชุมชนหลายพื้นที่มักจะประสบปัญหาความแห้งแล้ง ซึ่งการทำเกษตรกรรม หรือการปลูกพืชผัก ในการเลี้ยงตัวเองและครอบครัวนั้นย่อมเป็นไปได้ยากมาก อีกหนึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ ๙ อย่าง “โครงการชั่งหัวมัน” ถือเป็นองค์ความรู้ที่ให้เราทุกคนสามารถเข้ามาศึกษา เรียนรู้ ภายในโครงการชั่งหัวมัน จ.เพชรบุรี เพื่อนำประโยชน์ของการทำเกษตรกกรรม ทั้งการปลูกพืช กลับไปปรับใช้ในพื้นที่การเกษตรของตัวเอง แถมยังสามารถแชร์ความรู้ในการทำเกษตรกรรมที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับคนในชุมชนปรับใช้ได้อีกด้วยเช่นกัน

 

7. โครงการไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ 

ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชดำริให้นำพืชผลการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทยพึ่งตัวเองได้ในด้านพลังงาน และยังรองรับปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกชุมชนหลายพื้นที่ได้ และนี่คือจุดเริ่มต้น "โครงการไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์" องค์ความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องพลังงานทดแทนที่เราทุกคนสามารถเข้ามาศึกษา เรียนรู้ เพื่อนำความรู้กลับไปปรับใช้ หรือให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างไรให้ยั่งยืน แถมได้ช่วยสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และยังเพิ่มรายได้อีกด้วย

 

13 ตุลาคม วันนี้ วันสำคัญ

วันที่ 13 ตุลาคม 2564 เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ต.ค. 2559 เวลา 15.52 น. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมพรรษา 88 ปี 313 วัน ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี 4 เดือน 4 วัน

 

โดยคณะรัฐมนตรีมีมติประกาศให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตและวันหยุดราชการเพื่อให้ประชาชนน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

 

 ข้อมูล : วิกิพีเดีย, สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง