รีเซต

GISTDA เปิดภาพถ่ายดาวเทียม “น้ำท่วม 2564” อ่างลำเชียงไกร โคราช ชัยภูมิ น้ำท่วมกว่า 2 แสนไร่

GISTDA เปิดภาพถ่ายดาวเทียม “น้ำท่วม 2564” อ่างลำเชียงไกร โคราช ชัยภูมิ น้ำท่วมกว่า 2 แสนไร่
Ingonn
28 กันยายน 2564 ( 09:21 )
766

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ “GISTDA” wfhวิเคราะห์และจัดทำแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปริมาณฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทาง http://flood.gistda.or.th โดยแต่ละพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก “พายุเตี้ยนหมู่” จนเกิด “น้ำท่วม 2564”  

 

 

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ระบุว่า ในช่วงวันที่ 23 - 27 ก.ย. 64 เกิดอุทกภัยใน 27 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม รวม 120 อำเภอ 417 ตำบล 1,933 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 58,977 ครัวเรือน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และบุรีรัมย์) แต่ยังคงมีสถานการณ์ 23 จังหวัด ปัจจุบันภาพรวมสถานการณ์ในพื้นที่ระดับน้ำทรงตัว ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชนต่อไป

 

 

ล่าสุดทางเพจ GISTDA ได้เปิดภาพถ่ายดาวเทียม “น้ำท่วม 2564” ในพื้นที่ อ่างลำเชียงไกร โคราช ชัยภูมิ ปราจีนบุรี สระแก้ว และจันทบุรี วันนี้ TrueID จึงได้รวบรวมภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่เสี่ยงมาไว้ที่นี่แล้ว

 

 

น้ำท่วมพื้นที่เกษตร 28,900 ไร่ 


พื้นที่น้ำขังบริเวณบางส่วนจังหวัดปราจีนบุรี สะแก้ว และจันทบุรี รวมประมาณ 28,900 ไร่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำ

 

 

 

 

 

 

ท้ายอ่างลำเชียงไกรอ่วม..!! ท่วมแล้วกว่า 7,600 ไร่


พื้นที่น้ำท่วม (สีฟ้า) ทางตอนล่างของอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา กว่า 7,600 ไร่ ส่งผลให้พื้นที่ที่อยู่ทางตอนท้ายของอ่างฯ ซึ่งประกอบด้วยลำน้ำสาขา พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ริมตลิ่ง มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

 

โคราชอ่วมเฉียด 2 แสนไร่ !! พบโนนไทยท่วมหนักสุด


จากสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเข้าท่วมในหลายอำเภอ GISTDA ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวโดยใช้ข้อมูลจากกลุ่มดาวเทียม COSMO-SKYMED โดยเปรียบเทียบข้อมูลที่ถ่ายระหว่างวันที่ 24 ก.ย.64 (สีฟ้า) และข้อมูลดาวเทียมวันที่ 27 ก.ย.64 (สีน้ำเงิน) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในหลายอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา “สูงถึง 188,380 ไร่” โดยพบมากสุดที่ อำเภอโนนไทย 44,682 ไร่ ตามด้วยอำเภอด่านขุนทด 27,678 ไร่ อำเภอพิมาย 22,415 ไร่ อำเภอโนนสูง 16,976 ไร่ ฯ

 

 

ทั้งนี้ มวลน้ำที่อำเภอโนนไทยนี้กำลังไหลไปทางทิศตะวันออกตามลักษณะภูมิประเทศ สู่พื้นที่ลุ่มต่ำ ในเขต อ.โนนสูง อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

 

ชัยภูมิท่วมแล้วกว่า 2 แสนไร่ !! น้ำท่วมหนักสุดในอำเภอเมือง


จากสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเข้าท่วมในหลายอำเภอ GISTDA ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวโดยใช้ข้อมูลจากกลุ่มดาวเทียม COSMO-SKYMED โดยเปรียบเทียบข้อมูลที่ถ่ายระหว่างวันที่ 24 ก.ย.64 (สีฟ้า) และข้อมูลดาวเทียมวันที่ 27 ก.ย.64 (สีน้ำเงิน) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในหลายอำเภอของจังหวัดชัยภูมิ “สูงถึง 228,840 ไร่” โดยพบมากสุดที่ อำเภอเมืองชัยภูมิ 68,324 ไร่ อำเภอจัตุรัส 38,063 ไร่ อำเภอบ้านเขว้า 27,418 ไร่  อำเภอบำเหน็จณรงค์ 22,206 ไร่ อำเภอคอนสวรรค์ 21,904 ไร่ อำเภอภูเขียว 18,814 ไร่ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 10,872 ไร่ อำเภอคอนสาร 7,421 ไร่ อำเภอหนองบัวระเหว 5,736 ไร่ อำเภอเนินสง่า 4,294 ไร่ อำเภอบ้านแท่น 3,779 ไร่ และอำเภอเทพสถิต 9 ไร่ 

 

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันมวลน้ำใน อ.เมืองชัยภูมิ กำลังไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแม่น้ำชี สู่เขต อ.แก้งสนามนาง จ.นครราชสีมา และ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ ก่อนจะเข้าสู่เขต จ.ขอนแก่น บริเวณ อ.แวงใหญ่ และ อ.โคกโพธิ์ไชย ต่อไป บริเวณพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำชีตลอดสาย ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและเตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งที่จะเกิดขึ้น

 

 

 

 

5 จังหวัด ท่วมหนักรวม 492,000 ไร่


พบพื้นที่น้ำขังบริเวณบางส่วนจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น เพชบูรณ์ นครราชสีมา และบุรีรัมย์ รวมประมาณ 492,000 ไร่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำ

 

 

 

 

 


ทาง GISTDA ได้มีการดำเนินการวางแผนและปรับแผนรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปริมาณฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง และสามารถตรวจสอบพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://flood.gistda.or.th

 

 

 

ข้อมูลจาก GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง