รีเซต

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรชี้ วิกฤตสู้รบ‘รัสเซีย-ยูเครน’ ดันค่าระวางเรือพุ่งกระฉูด 5 เท่า ทำราคาปุ๋ยเพิ่ม

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรชี้ วิกฤตสู้รบ‘รัสเซีย-ยูเครน’ ดันค่าระวางเรือพุ่งกระฉูด 5 เท่า ทำราคาปุ๋ยเพิ่ม
ข่าวสด
16 มีนาคม 2565 ( 18:31 )
22
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรชี้ วิกฤตสู้รบ‘รัสเซีย-ยูเครน’ ดันค่าระวางเรือพุ่งกระฉูด 5 เท่า ทำราคาปุ๋ยเพิ่ม

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายประเทศ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย เริ่มตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) จึงมีนโยบายลดการส่งออกปุ๋ย และเพิ่มการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศของตนเอง ประกอบกับการสู้รบรัสเซียกับยูเครน โดยรัสเซียประกาศงดการส่งออกปุ๋ยเคมี อาจทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบปุ๋ยในตลาดโลกและราคาวัตถุดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น

 

โดยเฉพาะปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 0-0-60 (MOP) ซึ่งรัสเซีย ส่งออกไปยังตลาดยุโรปประมาณปีละ 20 ล้านตัน และปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต 18-46-0 ที่ส่งออกไปยังตลาดโลกประมาณ 20% ของการส่งออกทั้งหมด

 

นอกจากนี้ สถานการณ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติ และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นด้วย ทำให้ต้นทุนปุ๋ยแอมโมเนีย โปแตช และยูเรียเพิ่มขึ้น โดยราคาแอมโมเนียและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไนโตรเจนได้ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุจากปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ค่าขนส่ง และค่าระวางเรือได้ปรับตัวสูงขึ้น 3-5 เท่าจากปีที่ผ่านมา

 

สถานการณ์ในไทย โดยไทยนำเข้าปุ๋ยประมาณ 95% เพื่อผลิตและจำหน่ายให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีปริมาณเฉลี่ย 5 ล้านตันต่อปีคิดเป็นมูลค่าประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีจากรัสเซียและจีน ได้แก่ ปุ๋ยสูตรสำเร็จรูป NPK, ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมคลอไรด์ รวมกันมากกว่า 60% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด

 

ส่วนปุ๋ยยูเรีย และปุ๋ยไนโตรเจนสูตรอื่นๆ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศแถบตะวันออกกลางและมาเลเซีย สำหรับแอมโมเนียมซัลเฟตในประเทศไทยมี Supply 40% อีก 50% นำเข้าจากจีน และ 10% นำเข้าจากแหล่งอื่นๆ จากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ไทยได้สั่งซื้อปุ๋ยเคมีจากรัสเซีย โดยเฉพาะปุ๋ยสูตร 15-15-15 แบบสำเร็จรูป/กึ่งสำเร็จรูป (Compound) (N+P+K) ชนิดเม็ดประมาณปีละ 300,000-500,000 ตัน ส่งผลให้ได้รับผลกระทบจากการสั่งซื้อ การชำระเงินและต้นทุนการขนส่งไปยังท่าเรือ (ค่าระวางเรือ ค่าประกันภัยและค่าธรรมเนียมต่างๆ) เพิ่มขึ้น และยังส่งผลต่อราคาปุ๋ยเคมีสูตรอื่นๆ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นด้วย

 

การนำเข้าปุ๋ยเคมีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2562-2564) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 4.85% ต่อปี โดยการนำเข้าปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) มีแนวโน้มลดลง 5.31% ต่อปี ขณะที่การนำเข้าปุ๋ย 18-46-0 (DAP) เพิ่มขึ้น 2.60% ต่อปี และ 0-0-60 (MOP) เพิ่มขึ้น 19.57% ต่อปี

 

โดยปี 2564 ไทยนำเข้าแม่ปุ๋ยเคมี (ซึ่งใช้ผลิตปุ๋ยสูตรอื่นๆ) 61.62% ของปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีทั้งหมด แบ่งเป็น นำเข้าปุ๋ยยูเรียมากที่สุดคิดเป็น 35.63% รองลงมาเป็นปุ๋ย 0-0-60 ประมาณ 16.37% และปุ๋ย 18-46-0 ประมาณ 9.62% ส่วนที่เหลือ 38.38% เป็นปุ๋ยเคมีสูตรอื่นๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง