รีเซต

ธุรกิจเจียนอยู่เจียนไป ควรทำอะไร เพื่อรักษากิจการ รอโควิดหมด?

ธุรกิจเจียนอยู่เจียนไป ควรทำอะไร เพื่อรักษากิจการ รอโควิดหมด?
เส้นทางเศรษฐี
19 สิงหาคม 2564 ( 09:24 )
47
ธุรกิจเจียนอยู่เจียนไป ควรทำอะไร เพื่อรักษากิจการ รอโควิดหมด?

เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มักนำเสนอเรื่องราวและข้อคิดในการทำธุรกิจ จาก คุณนพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร หนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCM ผู้ดำเนินธุรกิจแบบ MLM หรือ ธุรกิจจำหน่ายสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภค ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในลักษณะเครือข่ายขายตรง เบอร์ต้นๆ ของประเทศไทย เอาไว้มากมาย

 

วันนี้ได้กลับมาพูดคุยกันอีกครั้ง ถึงการระบาดของโควิดที่เจ้าของกิจการต่างๆ ก็ฮึดสู้กันมาขนาดนี้ ปรับทุกอย่าง รักษากระแสเงินสดจนจะไม่ไหว แทบจะล้มแหล่มิล้มแหล่ ควรทำอะไรต่อเพื่อรักษากิจการให้รอวันหมดโควิดดี คุณนพ ได้แสดงความเห็นว่า

 

1. ประเมินหาความจริง ว่าธุรกิจของเราไปต่อได้หรือไม่ เพราะบางธุรกิจถูก disrupt ไปแล้ว บางธุรกิจปรับจูนแล้วยังไปต่อได้ บางธุรกิจเป็นโอกาส อะไรที่เกี่ยวกับ ออนไลน์ ดิจิทัล โลจิสติกส์ ควรศึกษาไว้ ธุรกิจที่ถือว่าท้าทายสุดๆ ในยุคโควิด เช่น ธุรกิจห้องพักที่รับนักท่องเที่ยว หรือบริการที่อาศัยนักท่องเที่ยว ธุรกิจที่ซื้อขายออฟไลน์อย่างเดียว ไม่ปรับตัวตามออนไลน์ ถือว่าไปต่อได้ยาก ส่วนสปา หรือสถานที่ท่องเที่ยว อยู่ที่ว่ายืนระยะได้นานเท่าไหร่ ซึ่งเราต้องประเมินจากในแต่ละเดือนว่า มีรายได้ติดลบหรือไม่ และเรายังมีเงินให้ติดลบอีกนานเท่าไหร่

 

2. ประเมินเหตุการณ์ล่วงหน้าและเพื่อนบ้านรอบข้าง โดยประเมินในส่วนของภาครัฐว่าจะสามารถจัดการโควิดและทำให้เปิดธุรกิจได้เมื่อใด และทำการลดค่าใช้จ่ายเท่าที่ทำได้ ขั้นตอนอาจจะมีได้ตั้งแต่ลดพนักงาน แต่ถ้ายังติดลบอีก อาจต้องปิดกิจการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาที่ยังมีวิกฤตอยู่

 

3. หาพาร์ตเนอร์ร่วมสู้ ถ้าธุรกิจติดขัดเฉพาะช่วงวิกฤต ยิ่งยากลำบากยิ่งต้องเปิดตัวเองออกไปโลกภายนอก เพื่อ หาพาร์ตเนอร์ ที่เขามองเห็นอนาคต และมีเงินพอ ให้มาเป็นหุ้นส่วนกับเรา แต่ที่สำคัญ แบรนด์ธุรกิจเราต้องแข็งและมีความน่าเชื่อถือ เพราะพาร์ตเนอร์ส่วนใหญ่ต้องเห็นอนาคต ถึงจะยอมร่วมธุรกิจกับเรา รวมถึง Supplier สถาบันทางการเงิน เพื่อให้เงินมาต่อยอดได้

 

4. ต้องหาทางพัฒนาช่องทางออนไลน์ให้แข็งแรง ต้องมองว่าทางรอดธุรกิจอยู่ตรงไหน เราต้องมองว่าช่องทางของเราเป็น offline หรือ online มีโอกาสในการปั้นช่องทาง online ไหม

 

5. ศึกษาธุรกิจใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น เพิ่มเติมธุรกิจการรถไฟ หมายความว่า ไม่ได้มองเส้นทางธุรกิจไปในทิศทางเดียว คือต้องคิดว่าตัวเองอยู่ในคมนาคม ขนส่ง จึงจะสามารถแข่งขันสู้รถทัวร์หรือสายการบินได้ บางประเทศสามารถมองได้ใหญ่กว่านั้น ปรับธุรกิจให้เป็นรถไฟ รถทัวร์ แท็กซี่ จนกระทั่งติดลม อย่ามองว่าเป็นแค่ธุรกิจเฉพาะสินค้านี้เท่านั้น

 

“ผมในฐานะผู้ประกอบการ ผมขอให้กำลังใจทุกท่าน ที่เจอปัญหาในธุรกิจ เข้าใจว่าทุกอุปสรรคเป็นแค่ปัญหาชั่วคราว เราจะได้มองเห็นปัญหา มองหาทางออกได้หลายๆ ทางให้ปัญหาของเราเบาบางลง จนกระทั่งเรากลับมาสู่การทำธุรกิจที่สามารถมีผลประกอบการที่ดีได้ อยากให้ทุกท่านฟื้นฟูพลังให้พร้อม จงอย่าท้อแท้เด็ดขาด ทุกอย่างมีทางแก้ และเมื่อเราเจอทางที่ใช่ มันจะไม่กลับมาอีก” คุณนพ ทิ้งท้าย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง